โอมิกูจิ
โอมิกูจิ (御御籤, 御神籤 หรือ おみくじ)[1] เป็นกระดาษเขียนคำทำนายดวงชะตา มีให้เสี่ยงจับได้ที่ศาลเจ้าในศาสนาชินโต หรือวัดในศาสนาพุทธ ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า "โอมิกูจิ" นั้นแปลตรงตัวว่า "สลากศักดิ์สิทธิ์" เปรียบเทียบได้กับการเซียมซีตามความเชื่อของจีน
โชค
แก้การเสี่ยงโอมิกูจิมักทำโดยการเขย่ากล่องที่มีแท่งไม้เขียนหมายเลยบรรจุอยู่ จนแท่งไม้แท่งหนึ่งโผล่ออกมาจากรูที่ฝากล่อง หลังจากนั้นผู้เสี่ยงก็จะไปหยิบโอมิกูจิจากช่องที่มีหมายเลขตรงกับหมายเลขบนแท่งหมาย (คล้ายกับการเสี่ยงเซียมซี) อย่างไรก็ดี ศาลเจ้าและวัดหลายแห่งเปลี่ยนมาใช้วิธีให้ผู้เสี่ยงโชคหยิบโอมิกูจิที่พับแล้วจากกองโอมิกูจิเอง หรือไม่ก็ใช้เครื่องหยอดเหรียญ คำทำนายที่เขียนบนโอมิกูจิมีอยู่หลายแบบ ซึ่งเป็นทั้งโชคดีและโชคร้าย (เรียงตามขอบเขตของโชคลาภ):[2]
ลำดับ กันซังไดชิเฮียกูเซ็ง เป็นไปตามนี้:
- โชคดีมาก (ญี่ปุ่น: 大吉; โรมาจิ: dai-kichi; ทับศัพท์: ไดกิจิ)
- โชคดีปานกลาง (ญี่ปุ่น: 中吉; โรมาจิ: chū-kichi; ทับศัพท์: ชูกิจิ)
- โชคดีเล็กน้อย (ญี่ปุ่น: 小吉; โรมาจิ: shō-kichi; ทับศัพท์: โชกิจิ)
- โชคดี (ญี่ปุ่น: 吉; โรมาจิ: kichi; ทับศัพท์: คิจิ)
- กึ่งโชคดี (ญี่ปุ่น: 半吉; โรมาจิ: han-kichi; ทับศัพท์: ฮังกิจิ)
- โชคดีตามกรรม (ญี่ปุ่น: 末吉; โรมาจิ: sue-kichi; ทับศัพท์: ซูเอกิจิ)
- โชคดีเล็กน้อยในอนาคต (ญี่ปุ่น: 末小吉; โรมาจิ: sue-shō-kichi; ทับศัพท์: ซูเอโชกิจิ)
- โชคร้าย (ญี่ปุ่น: 凶; โรมาจิ: kyō; ทับศัพท์: เคียว)
ลำดับ กันซังไดชิเฮียกูเซ็ง จะเพิ่มบางโชค เช่น "โชคร้ายมาก" (ญี่ปุ่น: 大凶; โรมาจิ: dai-kyō; ทับศัพท์: ไดเกียว)
คำทำนายบนโอมิกูจิมักประกอบด้วยคำทำนายทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับชีวิตของบุคคล โดยมีความเป็นไปได้หลายแบบ:
- ญี่ปุ่น: 方角; โรมาจิ: hōgaku - แนวทางที่เป็นมงคล/ไม่มงคล (ดูฮวงจุ้ย)
- ญี่ปุ่น: 願事; โรมาจิ: negaigoto – ความต้องการ
- ญี่ปุ่น: 待人; โรมาจิ: machibito – คนที่กำลังรอ
- ญี่ปุ่น: 失せ物; โรมาจิ: usemono – ของหาย
- ญี่ปุ่น: 旅立ち; โรมาจิ: tabidachi – การเดินทาง
- ญี่ปุ่น: 商い; โรมาจิ: akinai – ดารทำธุรกิจ
- ญี่ปุ่น: 学問; โรมาจิ: gakumon – การเรียน
- ญี่ปุ่น: 相場; โรมาจิ: sōba – การคาดคะเนทางตลาด
- ญี่ปุ่น: 争事; โรมาจิ: arasoigoto – กำกม
- ญี่ปุ่น: 恋愛; โรมาจิ: ren'ai – ความรัก
- ญี่ปุ่น: 転居; โรมาจิ: tenkyo – ย้ายที่อยู่
- ญี่ปุ่น: 出産; โรมาจิ: shussan – วันเกิด, การส่งของ
- ญี่ปุ่น: 病気; โรมาจิ: byōki – ความป่วย
- ญี่ปุ่น: 縁談; โรมาจิ: endan – จัดวันแต่งงาน
มีธรรมเนียมว่าหากโอมิกูจิที่จับได้ทำนายว่าโชคไม่ดี คนที่จับได้ต้องนำไปผูกไว้ที่ต้นสนในศาลเจ้าหรือวัดเพื่อป้องกันไม่ให้คำทำนายกลายเป็นจริง เหตุที่ทำเช่นนี้คือการเล่นคำว่า "ต้นสน" (松 อ่านว่า มัตสึ) กับคำว่า "รอ" (待つ อ่านว่า "มัตสึ" เช่นกัน) โดยกล่าวกันว่าการผูกจะทำให้โชคร้ายรออยู่ที่ต้นสน ไม่ไปเกาะคน ส่วนโอมิกูจิที่ทำนายว่าโชคดีนั้น ผู้ที่จับได้ควรจะเก็บเอาไว้ แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีคนเชื่อโอมิกูจิเท่าไหร่ โอมิกูจิก็ยังมีให้จับได้ในศาลเจ้าและวัดเกือบทุกแห่งในญี่ปุ่น และยังเป็นของคู่กับศาลเจ้าและวัดญี่ปุ่นตราบจนทุกวันนี้
ความสัมพันธ์กับคุกกี้เสี่ยงทาย
แก้เซอิจิ คิโตะจากฟูเง็ตสึโดอ้างว่าโชคแบบสุ่มจากคุกกี้เสี่ยงทายมีที่มาจาก โอมิกูจิ[3] และสนับสนุนด้วยหลักฐานที่ว่าคุกกี้เสี่ยงทายอเมริกันมีที่มาจากขนมสึจิอูระเซ็มเบของเกียวโตในคริสต์ศตวรรษที่ 19[4]
ภาพ
แก้-
วัยรุ่นที่โอซากะดูโอมิกูจิในวันขึ้นปีใหม่
-
การผูกโอมิกูจิที่ศาลเจ้าคาซูงะในเมืองนาระ
-
เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ โอมิกูจิ ที่ศาลเจ้าสึรูงาโอกะฮาจิมัง
-
กระเป๋า โอมิกูจิ
-
กระเป๋าตกแต่ง โอมิกูจิ
-
พิธี โอมิกูจิ ที่ศาลเจ้าโอมูโระเซ็งเง็ง ฟูจิโยชิดะ จังหวัดยามานาชิ
อ้างอิง
แก้- ↑ Basic Terms of Shinto, Kokugakuin University, Institute for Japanese Culture and Classics, Tokyo 1984
- ↑ "神道Q&A". 鵠沼伏見稲荷神社 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
- ↑ A History of Fugetsu-Do, www.fugetsu-do.com
- ↑ Lee, Jennifer 8. (January 16, 2008). "Solving a Riddle Wrapped in a Mystery Inside a Cookie" "feb 24 2004 how to see your fortune the fortune cookie" The New York Times. Retrieved on January 16, 2008.