โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออส
โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออส (อาหรับ: كنيسة القديس برفيريوس, อักษรโรมัน: Kanīsat al-Qadīs Burfīryūs; Church of Saint Porphyrius) เป็นโบสถ์คริสต์กรีกออร์ทอดอกซ์ในนครกาซา ปาเลสไตน์ โบสถ์นี้สังกัดอัครบิดรแห่งเยรูซาเลม และเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในกาซาที่ยังเปิดประกอบศาสนกิจอยู่จนปัจจุบัน และว่ากันว่าเป็นโบสถ์ที่เก่าที่สุดเป็นอันดับสามของโลก[1] โบสถ์ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่าของกาซา และตั้งชื่อตามบิชอปแห่งกาซาในสมัยศตวรรษที่ 5 นักบุญโปร์ฟีริออส ผู้ซึ่งฝังร่างไว้อยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของโบสถ์[2]
โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออส | |
---|---|
كنيسة القديس برفيريوس | |
โบสถ์เมื่อปี 2022 | |
31°30′12″N 34°27′44″E / 31.5033062°N 34.4620836°E | |
ที่ตั้ง | นครกาซา |
ประเทศ | ปาเลสไตน์ |
นิกาย | อัครบิดรกรีกออร์ทอดอกซ์แห่งเยรูซาเลม |
ประวัติ | |
อุทิศแก่ | นักบุญโปร์ฟีริออส |
เสกเมื่อ | 1150 |
สถาปัตยกรรม | |
แล้วเสร็จ | 1150-1160 |
โครงสร้าง | |
อาคารยาว | 22.9 เมตร (75 ฟุต)* |
อาคารกว้าง | 8.9 เมตร (29 ฟุต)* |
การปกครอง | |
อัครมุขมณฑล | ทีเบอรีอุส |
นักบวช | |
อัครมุขนายก | อาเลกซีโอส โมสโชนัส (Alexios Moschonas) |
ประวัติศาสตร์
แก้ภูมิหลัง
แก้มีโบสถ์คริสต์สร้างขึ้นที่จุดนี้เก่าแก่ถึงปี 425[3] แต่อาคารโบสถ์หลังปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นโดยทัพครูเสดในทศวรรษ 1150s หรือ 1160s และอุทิศแด่นักบุญโปร์ฟีริออส มีหลักฐานจากศตวรรษที่ 15 ที่แสดงให้เห็นว่าโบสถ์นี้ยังอุทิศแด่พระนางพรหมจารีย์มารีอา[4]
มีการบูรณะโบสถ์ในปี 1856[2] ยังคงมีบางโครงสร้างของโบสถ์ที่มาจากสมัยครูเสด กระนั้นส่วนใหญ่เป็นการต่อเติมสร้างเพิ่มในภายหลัง[5]
สงครามระหว่างฮะมาสกับอิสราเอล
แก้ในระหว่างสงครามกาซาปี 2014 ชาวปาเลสไตน์ราว 2,000 คนได้หลบหนีการทิ้งระเบิดของอิสราเอลที่ทำให้มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปแล้ว 70 รายก่อนหน้า มาลี้ภัยอยู่ที่โบสถ์นี้ ระหว่างการทิ้งระเบิด ครอบครัวต่าง ๆ นอนหลับตามโถงทางเดินและห้องของโบสถ์รวมถึงอาคารที่ติดกัน รวมทั้งมีมื้ออาหารและบริการการแพทย์แก่ผู้ลี้ภัยภายในโบสถ์[6][7]
โบสถ์นี้เป็นพื้นที่ลี้ภัยการทิ้งระเบิดของอิสราเอลอีกครั้งในระหว่างสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566[8] กระทั่งวันที่ 19 ตุลาคม 2023 กองกำลังของอิสราเอลยิงระเบิดมิสไซล์รวมสี่ลูกที่ระเบิดในบริเวณโดยรอบซึ่งมีชาวปาเลสไตน์ลี้ภัยอยู่ราว 400-500 คน[9][10][11] ตัวแทนของโบสถ์ได้ยืนยันว่าในบรรดาระเบิดของอิสราเอลนี้ มีโถงของโบสถ์ที่ถูกระเบิดเสียหายสองโถงซึ่งเป็นที่พักพิงของพลเมืองปาเลสไตน์ที่ลี้ภัยอยู่ และเป็นผลให้สีอาคารถล่มหนึ่งหลังของโบสถ์[12][13] มีผู้เสียชีวิตชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่โบสถ์อย่างน้อย 16-18 ราย และอีกไม่ทราบจำนวนที่ติดภายใต้ซากอาคาร[14][15]
ทางการอิสราเอลออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการโจมตีทางอากาศนี้ซึ่งอ้างว่ามีเป้าหมายคือศูนย์บัญชาการของฮะมาสที่ตั้งอยู่ใกล้กัน รวมถึงระบุว่าเหตุการณ์นี้ที่โบสถ์ได้รับผลกระทบตลอดจนผู้ลี้ภัยเสียชีวิตยังอยู่ภายใต้การทบทวน[16][17][18]
สถาปัตยกรรม
แก้โบสถ์นักบุญโปร์ฟีริออสมีแปลนรูปสี่เหลี่ยม ปลายเป็นหลังคาครึ่งโดม[19] มีทางเท้าขนาด 1.8 เมตร (5.9 ฟุต)* ใต้ระดับพื้นทางใต้ของโบสถ์ และอีก 3 เมตร (9.8 ฟุต)* ใต้ระดับพื้นทางเหนือของโบสถ์ ทำให้มีข้อเสนอว่าโบสถ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นทับโบสถ์หลังเดิมที่มีอยู่มาก่อนหน้า[4] โบสถ์ประกอบด้วยทางเดินทางเดียว ขนาดภายในของโสถ์อยู่ที่ ยาว 22.9 เมตร (75 ฟุต)* กว้าง 8.9 เมตร (29 ฟุต)* ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างมีความคล้ายกันกับอาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัปติศมา (คือมัสยิดใหญ่กาซาในปัจจุบัน)[4]
โบสถ์มีสามทางเข้า ทางแรกเป็นพอร์ทีโค ที่มีเสาหินอ่อนสามเสารองรับส่วนโค้งสองยอด[19] ฐานของเสาหินอ่อนมีอายุมาจากสมัยครูเสด[20] ส่วนอีกทางเชื่อมกับส่วนของอาคารที่ใหม่กว่า มีบันไดติดอยู่สำหรับเดินไประดับทางเท้า[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Makhoul, Talia Lakritz, Reem. "Photos show Gaza's Church of Saint Porphyrius, one of the oldest churches in the world, after the complex was damaged by Israeli airstrikes". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-10-26.
- ↑ 2.0 2.1 Dumper, 2007, p. 156.
- ↑ Cohen and Lewis, 1978, p. 119
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Pringle, 1993, p. 216
- ↑ 5.0 5.1 Gaza – (Gaza, al -'Azzah) เก็บถาวร 2011-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Studium Biblicum Franciscanum – Jerusalem. 2000-12-19.
- ↑ "Greek Orthodox church in Gaza shelters Muslims fleeing war". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2014-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
- ↑ "Israel-Gaza conflict: Greek Orthodox church of St Porphyrios becomes a". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
- ↑ "'War knows no religion': Gaza's oldest church shelters Muslims, Christians". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-16. สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
- ↑ "Orthodox church says it was hit by Israeli air strike in Gaza". Reuters. 2023-10-20.
- ↑ "'Dozens of Palestinian feared dead after Orthodox Church Complex in Gaza targeted'". Roya News. 2023-10-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-19. สืบค้นเมื่อ 2023-11-24.
- ↑ "'Blast Goes Off at Orthodox Church Campus in Gaza'". Wall Street Journal. 2023-10-19.
- ↑ "Historic church sheltering civilians struck in deadly Gaza City blast". The Washington Post. 2023-10-20.
- ↑ "Greek Orthodox church building collapses in Gaza due to 'Israeli airstrikes'". Roya News. 2023-10-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-24.
- ↑ "'Caritas Mourns Colleagues Death in Attack in Gaza". Caritas Internationalis. 2023-10-20.
- ↑ "Israel flattens Gaza district, hits Orthodox church as invasion looms". Reuters. 2023-10-20.
- ↑ "Israel bombs Greek Orthodox Gaza church sheltering displaced people". Al Jazeera. 2023-10-20.
- ↑ "Israel flattens Gaza district, hits Orthodox church as invasion looms". Reuters. 2023-10-20.
- ↑ "Israeli Airstrike Hits Greek Orthodox Church Compound in Gaza City". New York Times. 2023-10-20.,
- ↑ 19.0 19.1 Travel in Gaza เก็บถาวร 2013-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MidEastTravelling.
- ↑ Meyer, 1907, p.111
บรรณานุกรม
แก้- Clermont-Ganneau, C. S. (1896). [ARP] Archaeological Researches in Palestine 1873-1874, translated from the French by J. McFarlane. Vol. 2. London: Palestine Exploration Fund. (pp. 381-3
- Cohen, Amnon; Lewis, B. (1978). Population and Revenue in the Towns of Palestine in the Sixteenth Century. Princeton University Press. ISBN 0-691-09375-X.
- Dumper, Michael; Abu-Lughod, J. (2007). Cities of the Middle East and North Africa: A Historical Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-919-5.
- Meyer, Martin Abraham (1907). History of the city of Gaza: from the earliest times to the present day. Columbia University Press.
- Pringle, D. (1993). The Churches of the Crusader Kingdom of Jerusalem: A-K (excluding Acre and Jerusalem). Vol. I. Cambridge University Press. ISBN 0-521-39036-2.