หินกวาง (อังกฤษ: Deer stones) หรือ หินเรนเดียร์ (อังกฤษ: reindeer stones) หรือที่บางครั้งอรียก กลุ่มหินกวาง-คีรีกซูร์ (Deer stone-khirigsuur complex; DSKC) ควบคู่กับหมู่หลุมศพคีรีกซูร์[2] เป็นหินเดี่ยวก้อนใหญ่แกะสลักด้วยสัญลักณ์ซึ่งพบได้ส่วนใหญ่ในไซบีเรียและมองโกเลีย ชื่อ "กวาง" ในที่นี้มาจากการแกะสลักรูปกวางบิน หินกวางมีความเกี่ยวพันกับสมัยยุคสัมฤทธิ์ตอนปลายในแง่ของวิถีชีวิตและเทคโนโลยี[3]

วัฒนธรรมหินกวาง
ภูมิภาคไซบีเรียใต้, มองโกเลีย
สมัยยุคสัมฤทธิ์, ยุคโลหะตอนต้น
ช่วงเวลา1200 — 700 BCE[1]
ก่อนหน้าอาฟานาซีเอโว, เชมูร์เชก, ซักไซ
ถัดไปอาร์จัน, ชันด์มัน, ปาซือรึก
วัฒนธรรมแผ่นป้ายศพ

หินกวางเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมทางจิตวิญญาณในการสร้างหลุมศพนูนด้วยหินที่พบในมองโกเลียและพื้นที่โดยรอบมาตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ (ca. 3000–700 BCE) วัฒนธรรมมากมายที่มีขอบเขตอยู่ในบริเวณนี้ และล้วนมีส่วนสร้างอนุสรณ์จากหินขนาดใหญ่ เช่น อาฟานาซีเอโว, เชมูร์เชก, มูนค์คาอีร์คาน และ อูลานซูค[4] วัฒนธรรมหินกวางมีอายุอยู่ระหว่าง 1200 ถึง 700 ปีก่อนคริสต์กาล และมีอยู่มาก่อนวัฒนธรรมแผ่นป้ายหลุมศพ[1]

ในมองโกเลีย หินกวางมักจะเกี่ยวเนื่องกันกับหลุมศพนูนคีรีกซูร์ และเป็นไปได้ว่ารวมกันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมพิธีศพในระห่วาง 1200-700 ปีก่อนคริสต์กาล[5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Fitzhugh 2009.
  2. Fitzhugh 2009a, p. 183.
  3. Fitzhugh 2009b, p. 73, Because deer stone art illustrates many features of the lives and technology of these late Bronze Age peoples....
  4. Taylor, William; Wilkin, Shevan; Wright, Joshua; Dee, Michael; Erdene, Myagmar; Clark, Julia; Tuvshinjargal, Tumurbaatar; Bayarsaikhan, Jamsranjav; Fitzhugh, William; Boivin, Nicole (6 November 2019). "Radiocarbon dating and cultural dynamics across Mongolia's early pastoral transition". PLoS ONE. 14 (11): e0224241. doi:10.1371/journal.pone.0224241. ISSN 1932-6203. One rare source of empirically dateable material useful for understanding eastern Eurasia’s pastoral tradition comes from the stone burial mounds and monumental constructions that began to appear across the landscape of Mongolia and adjacent regions during the Bronze Age (ca. 3000–700 BCE). Here, along with presenting 28 new radiocarbon dates from Mongolia’s earliest pastoral monumental burials, we synthesise, critically analyse, and model existing dates to present the first precision Bayesian radiocarbon model for the emergence and geographic spread of Bronze Age monument and burial forms. Model results demonstrate a cultural succession between ambiguously dated Afanasievo, Chemurchek, and Munkhkhairkhan traditions. Geographic patterning reveals the existence of important cultural frontiers during the second millennium BCE.
  5. Fitzhugh 2009a, p. 183, "Often accompanied by stone burial mounds with fenced perimeters and satellite mounds, deer stones and khirigsuurs are interlinked components of a single Late Bronze Age mortuary ceremonial system dating to ca. 1200-700 BC.".

บรรณานุกรม แก้