โทมิซากุ คาวาซากิ

โทมิซากุ คาวาซากิ (ญี่ปุ่น: 川崎 富作โรมาจิKawasaki Tomisaku) เป็นกุมารแพทย์ชาวญี่ปุ่น ผู้บรรยายโรคคาวาซากิเป็นครั้งแรกในทศวรรษ 1960s[1][2] โรคดังกล่าวและโรคหัวใจรูมาติกเป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในเด็กทั่วโลกที่ไม่ใช่โรคจากแรกเกิด[3]

โทมิซากุ คาวาซากิ
คาวาซากิเมื่อปี 2005
เกิด1 กุมภาพันธ์ 1925
โตเกียว ญี่ปุ่น
เสียชีวิต5 มิถุนายน ค.ศ. 2020(2020-06-05) (95 ปี)
โตเกียว ญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
การศึกษามหาวิทยาลัยชิบะ (MD)
อาชีพกุมารแพทย์
ปีปฏิบัติงาน1948–2019
มีชื่อเสียงจากบรรยายโรคคาวาซากิเป็นครั้งแรก
อาชีพการงานทางการแพทย์
สถาบันศูนย์การแพทย์กาชาดญี่ปุ่น
ย่านฮิโรโอะ เขตชิบูยะ โตเกียว
เฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา แก้

คาวาซากิเกิดเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 1925 ในย่านอาซากูซะ โตเกียว เป็นลูกคนสุดท้องจากเจ็ดคน ตอนเด็กเขา "สนใจในพืชและผลไม้เป็นอย่างมาก และตื่นเต้นที่ได้เรียนรู้ว่าจู่ ๆ แพร์จากศตวรรษที่ 20 ก็ปรากฏตัวขึ้นมา" อย่างไรก็ตามเขาได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะเรียนต่อในสาขาพฤกษศาสตร์เนื่องจากมารดาร้องขอให้เขาเรียนเป็นแพทย์ เขาได้เข้าเรียนแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิบะ จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตในปี 1948[4]

อาชีพการงาน แก้

คาวาซากิเป็นแพทย์อินเทิร์นในชิบะ และเลือกต่อเฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์เพราะชอบที่จะทำงานกับเด็ก[5] เขาเป็นแพทย์ประจำบ้านในสมัยที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามและไม่ได้รับเงินเดือน เป็นผลให้ครอบครัวมีปัญหาทางการเงินอย่างหนัก อาจารย์ของเขาแนะนำให้คาวาซากิเข้าทำงานรับเงินเดือนที่ศูนย์การแพทย์กาชาดญี่ปุ่น ในย่านฮิโรโอะ เขตชิบูยะ โตเกียว ที่ซึ่งต่อมาเขาได้เป็นกุมารแพทย์ประจำอยู่นาน 40 ปี[5]

หลัง 10 ปีของการวิจัยค้นคว้าเรื่องการแพ้นม และกรณีการติดเชื้อปรสิตแปลก ๆ เขาได้พบเด็กชายอายุสี่ขวบที่มาพบแพทย์ด้วยอาการทางคลินิกหลายอาการรวมกัน ที่ซึ่งต่อมาเขานิยามชื่อว่า "กลุ่มอาการไข้ฉับพลัน ต่อมน้ำเหลืองในเยื่อบุและผิวหนัง" (acute febrile mucocutaneous lymph node syndrome; MCLS) ในปี 1961[5][6] ในปี 1962 เขาพบผู้ป่วยรายที่สองด้วยอาการแสดงเดียวกัน หลังเขาเก็บรวบรวมกรณีผู้ป่วย 7 กรณี เขาได้นำเสนอกลุ่มอาการนี้ต่อที่ประชุมของสมาคมกุมารแพทย์ญี่ปุ่น ผู้ตรวจสอบของสมาคมปฏิเสธรายงานของคาวาซากิเนื่องจากไม่เชื่อว่านี่เป็นโรคใหม่[7] นอกจากนี้ยังมีการต่อต้านโดยนักวิชาการจำนวนมากต่อการค้นพบ "โรคใหม่" นี้เป็นเวลาหลายปี กระทั่งคาวาซากิรวบรวมกรณีผู้ป่วยได้ 50 ราย ผลการรายงานโรคใหม่นี้ในเอกสารขนาด 44 หน้า ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารอาการแพ้ ญี่ปุ่น (Japanese Journal of Allergy) ในปี 1967[3][8] ในเอกสารประกอบด้วยแผนภาพวาดม้อของผื่ในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น "หนึ่งในตัวอย่างของงานเขียนเชิงคลินิกเชิงพรรณาที่งดงามที่สุด" ("one of the most beautiful examples of descriptive clinical writing")[9] ไม่นานจากนั้นก็เริ่มมีกุมารแพทย์คนอื่น ๆ พบและรายงานโรคเดียวกันในทั่วประเทศ[10]

กระทั่งปี 1970 กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการรัฐ จัดตั้งคณะกรรมการวิจัยโรค MCLS นำโดยคุณหมอฟูมิโอะ โคซากิ (Dr. Fumio Kosaki)[11] และได้ทำการศึกษาทั่วประเทศ ผลการศึกษายืนยันว่านี่เป็นโรคพบใหม่ที่มีเป้าอยู่ที่หลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย[11] ในปี 1973 แพทย์พยาธิวิทยาได้ค้นพบความสัมพันธ์กับโรคหัวใจในเด็กขณะชันสูตรศพ[7] คาวาซากิเป็นผู้นำคณะกรรมการวิจัยและได้ตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics ในปี 1974[12] เขาได้รับการเรียกขานเป็น "ครึ่ง เชอร์ล็อก โฮล์ม ครึ่ง ชาลส์ ดิกเกนส์ จากรูปแบบการบรรยายโรคที่ทั้งชวนฉงนและสวยงาม" (sense of mystery and his vivid descriptions)[10] การตีพิมพ์นี้เป็นการตีพิมพ์เกี่ยวกับโรคเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ นำไปสู่การสนใจในโรคนี้ในระดับนานาชาติในที่สุด[11]

ชีวิตส่วนตัวและการเสียชีวิต แก้

คาวาซากิสมรสกับกุมารแพทย์เรโกะ คาวาซากิ (Reiko Kawasaki, เสียชีวิตปี 2019) คาวาซากิเสียชีวิตด้วยสาเหตุธรรมชาติเมื่อ 5 มิถุนายน 2020 สิริอายุ 95 ปี[4] และมีการตีพิมพ์คำไว้อาลัยในวารสารแพทย์ทั่วโลก[13][14]

ผลงานคัดสรร แก้

  • Kawasaki T. (1967) Acute febrile mucocutaneous syndrome with lymphoid involvement with specific desquamation of the fingers and toes in children. Arerugi. 16 (3):178-222 (in Japanese).
  • Kawasaki, T.; Kosaki, F.; Okawa, S.; Shigematsu, I.; Yanagawa, H. (1974). "A new infantile acute febrile mucocutaneous lymph node syndrome (MLNS) prevailing in Japan". Pediatrics. 54 (3): 271–276. ISSN 0031-4005. PMID 4153258.
  • Kato, Shunichi; Kimura, Mikio; Tsuji, Kimiyoshi; Kusakawa, Sanji; Asai, Toshio; Juji, Takeo; Kawasaki, Tomisaku (1 February 1978). "HLA Antigens in Kawasaki Disease". Pediatrics (ภาษาอังกฤษ). 61 (2): 252–255. ISSN 0031-4005. PMID 634680.
  • Shigematsu, I; Shibata, S; Tamashiro, H; Kawasaki, T; Kusakawa, S (September 1979). "Kawasaki disease continues to increase in Japan". Pediatrics. 64 (3): 386. PMID 481984.
  • Yanagawa, Hiroshi; Kawasaki, Tomisaku; Shigematsu, Itsuzo (1 July 1987). "Nationwide Survey on Kawasaki Disease in Japan". Pediatrics (ภาษาอังกฤษ). 80 (1): 58–62. ISSN 0031-4005. PMID 3601519.
  • Fujita, Yasuyuki; Nakamura, Yosikazu; Sakata, Kiyomi; Hara, Norihisa; Kobayashi, Masayo; Nagai, Masaki; Yanagawa, Hiroshi; Kawasaki, Tomisaku (1 October 1989). "Kawasaki Disease in Families". Pediatrics (ภาษาอังกฤษ). 84 (4): 666–669. ISSN 0031-4005. PMID 2780128.
  • Burns, Jane C.; Shike, Hiroko; Gordon, John B.; Malhotra, Alka; Schoenwetter, Melissa; Kawasaki, Tomisaku (July 1996). "Sequelae of Kawasaki disease in adolescents and young adults". Journal of the American College of Cardiology. 28 (1): 253–257. doi:10.1016/0735-1097(96)00099-X. PMID 8752822.

อ้างอิง แก้

  1. doctor/3259 ใน Who Named It?
  2. "Puzzling Peril for the Young". TIME Magazine. U.S. Edition. Vol. 116 no. 8. August 25, 1980. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-01-24.
  3. 3.0 3.1 Singh, Surjit; Jindal, Ankur Kumar (2017). "Fifty Years of Kawasaki Disease - A Tribute to Dr Tomisaku Kawasaki". Indian Pediatrics. 54 (12): 1037–1039. doi:10.1007/s13312-017-1208-x. ISSN 0974-7559. PMID 29317559. S2CID 3741415. สืบค้นเมื่อ 20 June 2020.
  4. 4.0 4.1 Matt Schudel, Matt Schudel closeMatt Schudel (2020-06-14). "Obituary. Tomisaku Kawasaki, doctor who identified inflammatory disease in children, dies at 95". washington post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  5. 5.0 5.1 5.2 Kenrick, Vivienne (2007-05-26). "Profile: Tomisaku Kawasaki". Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  6. Clinicians' Battles, Doctors whose names are found in the disease, (2000), edit. Itakura E. Medical Sense, Tokyo, in Japanese, quote|It was in January 1961 that I encountered a child patient, aged 4 years and 3 months, who was to become the first known case of Kawasaki disease. Fifty years have elapsed since then. At the time, I had no choice but to discharge the patient as ”diagnosis unknown.” Fortunately, the child suffered no sequelae, and is currently enjoying a full and active life as an adult. Since then the incidence of Kawasaki disease has continued to grow. Why? Why can't we stop this disease? The reason, unfortunately, is that its cause is not known. At the time I first described the disease, I felt that we were on the threshold of discovering its cause, since its symptoms were extremely clear-cut. Despite the efforts of numerous researchers, however, we are still searching. It is my strong hope that young researchers will be able to identify the root cause of this disease."
  7. 7.0 7.1 Philip Seo (2019-06-17). "Thinking Big, Thinking Small". The Rheumatologist (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  8. Kawasaki T (March 1967). "[Acute febrile mucocutaneous syndrome with lymphoid involvement with specific desquamation of the fingers and toes in children]". Arerugi (ภาษาญี่ปุ่น). 16 (3): 178–222. PMID 6062087.
  9. "Doctor who discovered Kawasaki disease dead at 95". www.heart.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-20.
  10. 10.0 10.1 Genzlinger, Neil (2020-06-17). "Dr. Tomisaku Kawasaki, Who Pinpointed a Mysterious Disease, Dies at 95". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-06-19.
  11. 11.0 11.1 11.2 Kenrick, Vivienne (2007-05-26). "Profile: Tomisaku Kawasaki". Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  12. Kawasaki T, Kosaki F, Okawa S, Shigematsu I, Yanagawa H (September 1974). "A new infantile acute febrile mucocutaneous lymph node syndrome (MLNS) prevailing in Japan". Pediatrics. 54 (3): 271–6. PMID 4153258.
  13. Green, Andrew (July 2020). "Tomisaku Kawasaki". The Lancet (ภาษาอังกฤษ). 396 (10244): 90. doi:10.1016/S0140-6736(20)31492-6.
  14. Kato, Hirohisa (2020-07-22). "Tribute to Dr. Tomisaku Kawasaki ― Discoverer of Kawasaki Disease and a Great Pediatrician ―". Circulation Journal. 84 (8): 1209–1211. doi:10.1253/circj.cj-66-0180. ISSN 1346-9843. PMID 32611935.