Prunus × yedoensis (syn. Cerasus × yedoensis) เป็นซากูระที่เกิดจากการผสมระหว่าง Prunus speciosa (ซากูระโอชิมะ) และ Prunus itosakura (syn. Prunus pendula f. ascendens, Prunus subhirtella var. ascendens, เอโดะฮิงัง)[1][2] กำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในพันธุ์ปลูกของพืชนี้อย่าง โซเมอิโยชิโนะ (ญี่ปุ่น: 染井吉野โรมาจิsomei-yoshino) เป็นหนึ่งในซากูระที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และปลูกกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตอบอุ่นทั่วโลกในปัจจุบัน[3][4] โซเมอิโยชิโนะเป็นโคลนจากต้นไม้ต้นเดียว โดยถูกแพร่กระจายทั่วโลกด้วยการต่อกิ่ง[5][6][7] โดยโซเมอิโยชิโนะได้รับคุณลักษณะอย่างการบานก่อนที่ใบคลี่ออกของโอโดะฮิงัง และการโตไวและมีดอกสีขาวของซากูระโอชิมะ คุณลักษณะทางบวกเหล่านี้ส่งผลให้โซเมอิโยชิโนะเป็นหนึ่งในพันธุ์ปลูกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของซากูระ[8][9]

โซเมอิโยชิโนะ
ต้นโซเมอิโยชิโนะบานที่ทัมบะ-ซาซายามะ, จังหวัดเฮียวโงะ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: กุหลาบ
Rosales
วงศ์: กุหลาบ
Rosaceae
สกุล: สกุลพรุน
Prunus
สกุลย่อย: Prunus subg. Cerasus
Prunus subg. Cerasus
Matsum.
สปีชีส์: Prunus × yedoensis
ชื่อทวินาม
Prunus × yedoensis
Matsum.
ชื่อพ้อง
  • Prunus nudiflora (Koehne) Koidz.
  • Prunus paracerasus Koehne

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2019 สถาบันวิจัยดีเอ็นเอคาซึสะของมหาวิทยาลัยชิมาเนะและมหาวิทยาลัยเกียวโตฟุริตสึ ได้เปิดเผยสามารถอดรหัสข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของโซเมอิโยชิโนะเรียบร้อยแล้ว และพบว่าโซเมอิโยชิโนะสืบเชื้อสายมาจากซากูระเอโดะฮิงังและซากูระโอชิมะตามที่เชื่อกันทั่วไป นอกจากนี้ยังเปิดเผยอีกว่าบรรพบุรุษของทั้งสองสายพันธุ์พ่อแม่ถูกแยกออกจากกันเป็นคนละสปีชีส์เมื่อ 5.52 ล้านปีก่อน ส่วนโซเมอิโยชิโนะเกิดจากการผสมพันธุ์เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว[10][11]

ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ถูกเรียกว่าเป็นโซเมอิโยชิโนะในขณะที่ปลูก แต่บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่สามารถตรวจสอบได้ของการปลูกโซเมอิโยชิโนะคือในสวนพฤกษศาสตร์โคอิชิกาวะในปี 1775 นอกจากนี้ยังการปลูกโซเมอิโยชิโนะในสวนพฤกษศาสตร์โคอิชิกาวะในปี 1875 ในสวนสาธารณะไคเซซันในเมืองโคริยามะ จังหวัดฟูกูชิมะ ในปี 1878 และในปราสาทฮิโรซากิในปี 1882 ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่าเป็นโซเมอิโยชิโนะที่เก่าแก่ที่สุด[8][12] ในปี 2019 สมาคมวิจัยสุขภาพต้นไม้ประเทศญี่ปุ่น ได้ยอมรับว่าโซเมอิโยชิโนะที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ในญี่ปุ่นปลูกอยู่ในสวนสาธารณะไคเซซันในปี 1878 โดยอิงจากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีและการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ[13]

อ้างอิง

แก้
  1. Satoshi Ohta; Shinsuke Osumi; Toshio Katsuki; Ikuo Nakamura; Toshiya Yamamoto; Yo-Ichiro Sato (2006). "Genetic characterization of flowering cherries (Prunus subgenus Cerasus) using rpl16-rpl14 spacer sequences of chloroplast DNA". 園芸雑誌(J. Japan. Soc. Hort. Sci.). 75 (1): 72–78. doi:10.2503/jjshs.75.72. สืบค้นเมื่อ 2011-04-06.
  2. Online Resource 5. Inferences, from morphological classification and STRUCTURE analysis, on the origins of Japanese flowering cherry cultivars p.7 ‘Yedoensis’/染井吉野 (Cer194) 、STRUCTURE analysis (K = 11)、 Tree Genetics & Genomes Volume 10, Issue 3(2014), pp 477–487、30 Jan. 2014、Supplementary Material (5) 11295_2014_697_MOESM5_ESM.pdf (318KB)
  3. Huxley, A., ed. (1992). New RHS Dictionary of Gardening. Macmillan ISBN 0-333-47494-5.
  4. Rushforth, K. (1999). Trees of Britain and Europe. Collins ISBN 0-00-220013-9.
  5. H. Innan, R.Terauchi, NT Miyashita, K Tsunewaki (1995). "DNA fingerprinting study on the intraspecific variation and the origin of Prunus yedoensis (Someiyoshino)". Japanese Journal of Genetics. 70 (2): 185–196. doi:10.1266/jjg.70.185. PMID 7605671.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Iketani, H.; และคณะ (2007). "Analyses of clonal status in 'Somei-yoshino' and confirmation of genealogical record in other cultivars of Prunus ×yedoensis by microsatellite markers". Breeding Science. 57: 1–6. doi:10.1270/jsbbs.57.1.
  7. SAKURA TRUTH - Time and Tide | NHK WORLD-JAPAN On Demand (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-04-04
  8. 8.0 8.1 Toshio, Katsuki (2015). Sakura. Iwanami Shoten. p. 40-42. ISBN 978-4004315346.
  9. Toshio 2015, p. 178-182.
  10. ソメイヨシノのゲノム解読に成功、開花時期の予測が可能に (ภาษาญี่ปุ่น). University Journal Online. 1 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2021.
  11. Kenta Shirasawa, Tomoya Esumi, Hideki Hirakawa, Hideyuki Tanaka, Akihiro Itai, Andrea Ghelfi, Hideki Nagasaki, Sachiko Isobe (12 March 2019). "Phased genome sequence of an interspecific hybrid 2 flowering cherry, Somei-Yoshino (Cerasus × yedoensis)" (PDF). doi:10.1101/573451. S2CID 91512025. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 June 2021. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. "日本最古級のソメイヨシノを見に行こう!". Kōriyama City. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 4 April 2023.
  13. "日本最古の染井吉野". Agency for Cultural Affairs. 26 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2023. สืบค้นเมื่อ 8 April 2023.