แฮริเอ็ต ทับแมน
แฮริเอ็ต ทับแมน (อังกฤษ: Harriet Tubman) หรือชื่อเมื่อเกิด แอระมินทา รอส (อังกฤษ: Araminta Ross) (ป. มีนาคม 1822[1] – 10 มีนาคม 1913) เป็นผู้เลิกทาสและนักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวอเมริกัน[2][3] ทับแมนเกิดในครอบครัวทาส ก่อนที่จะหลบหนีและทำภารกิจ 13 ครั้ง ซึ่งช่วยปล่อยทาสราว 70 คน รวมทั้งครอบครัวและมิตรสหายของเธอ[4] ผ่านเครือข่ายนักเคลื่อนไหวต่อต้านระบบทาสและเซฟเฮาส์จำนวนมากที่รู้จักกันในชื่ออันเดอร์กราวด์เรลโร้ด ในสมัยสงครามกลางเมืองสหรัฐ เธอเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยลาดตระเวนติดอาวุธและสายลับให้กับกองทัพสหภาพ ในช่วงท้ายของชีวิต เธอเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเรียกร้องสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของสตรีในสหรัฐ
แฮริเอ็ต ทับแมน | |
---|---|
ทับแมนเมื่อปี 1895 | |
เกิด | แอระมินทา รอส ราว มีนาคม 1822[1] มณฑลดอเชสเตอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐ |
เสียชีวิต | 10 มีนาคม 1913 (90-91 ปี) ออเบิร์น รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ |
สุสาน | สุสานฟอร์ตฮิลล์ ออเบิร์น รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ 42°55′29″N 76°34′30″W / 42.9246°N 76.5750°W |
สัญชาติ | อเมริกัน |
ชื่ออื่น | มินตี, มอเซส |
อาชีพ | หน่วยลาดตระเวนสมัยสงครามกลางเมืองสหรัฐ, สายลับ, พยาบาล, นักเคลื่อนไหวสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของสตรี, นักเคลื่อนไหวสิทธิพลเมือง |
มีชื่อเสียงจาก | การปลดปล่อยทาส |
คู่สมรส |
|
บุตร | เกอร์ที (บุญธรรม) |
บิดามารดา |
ทับแมนเกิดเป็นทาสโดยเชื้อสายในมณฑลดอเชสเตอร์ รัฐแมริแลนด์ เธอถูกนายทาสทำร้ายและใช้แส้ตีตั้งแต่เป็นเด็ก ครั้งหนึ่งนายทาสคนหนึ่งของเธอโยนตุ้มโลหะที่หนักใส่ทาสอีกคน แต่พลาดมาโดนทับแมนแทน ส่งผลให้เธอได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ การบาดเจ็บครั้งนั้นทำให้ทับแมนต้องทนทุกข์ด้วยโรคนอนหลับมากเกินไปตลอดชีวิต หลังการบาดเจ็บครั้งนั้น ทับแมนเริ่มมีประสบการณ์มองเห็นภาพแปลก ๆ และมีฝันที่สว่างจ้าในเวลาหลับ เธอสันนิษฐานว่านี่เป็นนิมิตหมายจากพระเป็นเจ้า ประสบการณ์เหล่านี้รวมกับลักษณะของครอบครัวที่เธอเติบโตมาอันเป็นคริสต์ชนลัทธิเมธอดิสต์ทำให้ทับแมนเป็นคริสต์ชนผู้มีศรัทธาต่อศาสนาสูงมาก
ในปี 1849 ทับแมนหลบหนีไปยังฟิลาเดลเฟีย แต่ไม่นานก็ได้กลับมายังแมริแลนด์เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเธอหลบหนีจากนายทาส นับจากนั้นมาก เธอค่อย ๆ พาญาติของเธอเดินทางออกจากรัฐไปกับเธอ ทีละกลุ่ม ๆ ซึ่งในที่สุดเป็นการนำทางให้กับอีกหลายสิบคนได้หลบหนีจากนายทาสและได้รับอิสรภาพ การเดินทางหลบหนีของทับแมนดำเนินไปในความมืดมิดของเวลากลางคืน และดำเนินไปโดยลับที่สุด ตลอดการพาทาสหลบหนี ทับแมน (หรือที่ผู้ที่ได้รับการข่วยเหลือจากเธอเรียกเธอว่า "มอเซส") "ไม่เคยทำผู้โดยสารตกหล่นสักคน" ("never lost a passenger")[5] หลังจากกฎหมายไล่ล่าทาสที่หลบหนีปี 1850 ถูกประกาศใช้ ทับแมนได้ช่วยนำทางให้แก่ทาสที่หลบหนีหนีขึ้นไปทางเหนือ เข้าไปยังอเมริกาเหนือของอังกฤษ (แคนาดาในปัจจุบัน) รวมถึงช่วยหางานให้แก่ทาสที่ได้รับการปลดปล่อยใหม่เหล่านี้ ทับแมนได้พบกับจอห์น บราวน์ ในปี 1858 และช่วยเขาวางแผนและระดมพลก่อการจู่โจมปี 1859 ที่เรือเฟอร์รีฮาร์เปอส์
ในสมัยสงครามกลางเมืองสหรัฐ ทับแมนทำงานให้กับฝั่งกองทัพยูเนียน เริ่มจากการเป็นคนครัวและพยาบาล ก่อนจะเริ่มเป็นหน่วยบาดตระเวนติดอาวุธและสายลับ เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้นำการทำสงครามที่ติดอาวุธในสงครามนี้ เธอเป็นผู้ดูแลการจู่โจมเรือเฟอร์รีคอมแบฮีซึ่งช่วยปลดปล่อยทาสจำนวนกว่า 700 คน หลังสงครามสิ้นสุด ทับแมนซื้อบ้านที่ออเบิร์น รัฐนิวยอร์ก ในปี 1859 ซึ่งเธอปรณิบัติดูแลพ่อแม่ของเธอที่ชราแล้ว เธอมีบทบาทต่อเนื่องในการเรียกร้องสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของสตรีจนกระทั่งเธอล้มป่วย เธอเสียชีวิตในปี 1913 และกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและอิสรภาพ
มรดก
แก้ทับแมนเป็นสัญลักษณ์สำคัญในบรรดาชาวอเมริกันทันทีเมื่อเธอเสียชีวิต[6]ผลการสำรวจในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พบว่าเธอเป็นหนึ่งในพลเมืองที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันยุคก่อนสงครามกลางเมืองเป็นลำดับที่สาม รองจากเบตซี รอส แลพ พอล รีเวียร์ เท่านั้น[7] เธอเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาจำนวนมากที่กำลังดิ้นรนเพื่อสิทธิพลเมือง นอกจากนี้ทับแมนยังได้รับการยกย่องเชิดชูโดยนักการเมืองจากทุกค่าย[8]
ธนบัตรยี่สิบดอลลาร์สหรัฐ
แก้ในวันที่ 20ตุาลคม 2016 ผู้อำนวยการการคลังสหรัฐ แจ็ก ลีว ประกาศแผนที่จะนำภาพของทับแมนขึ้นบนด้านหน้าของธนบัตรยี่สิบดอลลาร์ แล้วย้ายแอนดรูว์ แจ็กสัน ซึ่งเป็นนายทาส ไปไว้ด้านหลังของธนบัตรแทน[9] ลีวได้มอบหมายให้สำนักงานภาพพิมพ์และการพิมพ์จัดทำแนวทางตัวอย่างสำหรับการแก้ไขนี้[10] และตั้งใจว่าธนบัตรรุ่นใหม่นี้จะเข้าสู่ระบบสักเมื่อหลังปี 2020[11] อย่างไรก็ตาม ในปี 2017 ผู้อำนวยการคลังคนใหม่ สตีเวน มนิวชิน ระบุว่าเขาไม่เห็นด้วยกับการนำเอาทับแมนมาแทนที่แจ็กสันบนธนบัตร "บุคคลต่าง ๆ อยู่บนธนบัตรมาเป็นเวลานานแล้ว และเราต้องพิจารณาด้วยนะครับว่าตอนนี้เรามีปัญหาใหญ่อีกมากที่ต้องจัดการ"[12] ในปี 2021 รัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของโจ ไบเดิน ได้กลับมาเดินหน้าแผนการนี้ต่อ[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Larson 2004, p. 16.
- ↑ Armstrong 2022, p. 56.
- ↑ Humez 2003, p. 156.
- ↑ Larson 2004, p. xvii.
- ↑ Clinton 2004, p. 192.
- ↑ Hobson 2014, pp. 50–77.
- ↑ Larson 2004, p. xv.
- ↑ Larson 2004, p. xx.
- ↑ Swanson, Ana; Ohlheiser, Abby (April 20, 2016). "U.S. to Keep Hamilton on Front of $10 Bill, Put Portrait of Harriet Tubman on $20 Bill". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ April 20, 2016.
- ↑ Liptak, Kevin; Sanfuentes, Antoine; Wattles, Jackie (April 21, 2016). "Harriet Tubman Will Be Face of the $20". CNN. สืบค้นเมื่อ April 21, 2016.
- ↑ Calmes, Jackie (April 20, 2016). "Harriet Tubman Ousts Andrew Jackson in Change for a $20". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 22, 2016.
- ↑ Temple-West, Patrick (August 31, 2017). "Mnuchin Dismisses Question about Putting Harriet Tubman on $20 Bill". Politico. สืบค้นเมื่อ September 6, 2017.
- ↑ Rappeport, Alan (January 25, 2021). "Biden's Treasury Will Seek to Put Harriet Tubman on the $20 Bill, an Effort the Trump Administration Halted". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 26, 2021.
บรรณานุกรม
แก้- Bradford, Sarah Hopkins (1869). Scenes in the Life of Harriet Tubman. Auburn, New York: W.J.Moses. p. 1. OCLC 15578204.
- Bradford, Sarah Hopkins (2012) [1886]. Harriet Tubman: The Moses of Her People (Reprint ed.). Mineola, New York: Dover Publications. p. 3. ISBN 0-486-43858-9.
- Clinton, Catherine (2004). Harriet Tubman: The Road to Freedom. New York: Little, Brown and Company. ISBN 0-316-14492-4.
- Conrad, Earl (1943). Harriet Tubman. Washington DC: Associated Publishers. OCLC 08991147.
- Douglass, Frederick (1969) [1881]. Life and Times of Frederick Douglass. London: Collier-Macmillan. OCLC 39258166.
- Hobson, Janell (July 2014). "Between History and Fantasy: Harriet Tubman in the Artistic and Popular Imaginary". Meridians: Feminism, Race, Transnationalism. 12 (2): 50–77. doi:10.2979/meridians.12.2.50. S2CID 145721375.
- Humez, Jean (2003). Harriet Tubman: The Life and Life Stories. Madison: University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-19120-7.
- Larson, Kate Clifford (2004). Bound For the Promised Land: Harriet Tubman, Portrait of an American Hero. New York: Ballantine Books. ISBN 978-0-345-45627-4.
- Oertel, Kristen T. (2015). Harriet Tubman: Slavery, the Civil War, and Civil Rights in the Nineteenth-century America. Routledge Historical Americans series. London: Routledge. ISBN 978-1-135-94897-9.
- Pendle, Karin Anna (2001). Women and Music: A History. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 0-253-11503-5.
- Sernett, Milton C. (2007). Harriet Tubman: Myth, Memory, and History. Durham and London: Duke University Press. ISBN 978-0-8223-4073-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ผลงานเกี่ยวกับ/โดย แฮริเอ็ต ทับแมน ที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
- Harriet Tubman: Online Resources, from the Library of Congress
- Full text of Scenes in the Life of Harriet Tubman, from the University of North Carolina at Chapel Hill
- Harriet Tubman Biography Page from Kate Larson
- Harriet Tubman Web Quest: Leading the Way to Freedom – Scholastic.com
- The Tubman Museum of African American History
- Harriet Tubman National Historical Park
- Harriet Tubman Underground Railroad National Historical Park
- Michals, Debra. "Harriet Tubman". National Women's History Museum. 2015.
- Maurer, Elizabeth L. "Harriet Tubman". National Women's History Museum. 2016.