แม็กนาวอกซ์ โอดีสซี

แม็กนาวอกซ์โอดีสซี (Magnavox Odyssey) เป็นเครื่องเล่นเกมเครื่องแรกขอกโลก โดยเริ่มนำมาแสดงสาธิตการใช้งานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 เป็นเครื่องเล่นเกมที่ออกมาก่อน ป็อง ของอาตาริหลายปี เครื่องเล่นนี้ออกแบบโดย นายราล์ฟ แบร์ ซึ่งได้วางต้นแบบสำเร็จในปี พ.ศ. 2511 โดยมีต้นแบบชื่อว่า กล่องน้ำตาล (Brown Box"[1]) โดยเครื่องต้นแบบปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ในวอร์ชิงตัน ดีซี

แม็กนาวอกซ์โอดีสซี
Magnavox Odyssey
ผู้ผลิตแม็กนาวอกซ์
ชนิดเครื่องเล่นวิดีโอเกม
ยุคยุคที่หนึ่ง
วางจำหน่ายสหรัฐ ฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2515
สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2516
ยุโรป ญี่ปุ่น พ.ศ. 2517
สื่อตลับเกม
ซีพียูไม่มี
เกมที่ขายดีที่สุดTable Tennis
รุ่นถัดไปแม็กนาวอกซ์โอดีสซี²

ประวัติ

แก้

แม็กนาวอกซ์โอดีสซีออกวางจำหน่ายในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2515 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะการตลาดที่อ่อนแอของร้านค้าตัวแทนจำหน่ายของแม็กนาวอกซ์ ในอีกไม่กี่เดือนถัดมา ผู้บริโภคหลายคนถูกทำให้เชื่อว่าเครื่องเล่นเกมนี้สามารถเล่นได้กับเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์ของแม็กนาวอกซ์เท่านั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้เครื่องเล่น ป็อง ของอาตาริที่ออกตัวในภายหลังได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า "เครื่องเล่นเกม ป็อง สามารถเล่นได้กับเครื่องรับโทรทัศน์ทุกเครื่องไม่ว่าจะเป็นขาวดำ หรือสี" แม็กนาวอกซ์ได้ฟ้องศาลแก่ นายโนลัน บุชเนลล์ ในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์การออกแบบของเครื่องเล่น ป็อง ที่มีเกมปิงปองเหมือนกันกับโอดีสซี ในช่วงทศวรรษหลังจากนั้น แม็กนาวอกซ์ได้ดำเนินการฟ้องร้องบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท เช่น โคเลโก, แมทเทล, ซีเบิร์ก, แอคติวิชัน เป็นต้น ซึ่งผลก็มีทั้งชนะความ และชนะการบังคับคดีอีกด้วย[2][3] ในปี พ.ศ. 2528 แม็กนาวอกซ์ถูกฟ้องร้องโดยนินเท็นโดแทน และพยายามที่จะให้สิทธิบัตรของนายราล์ฟ แบร์ เป็นโมฆะ โดยนินเทนโดกล่าวว่าเครื่องเล่นวิดิโกมเครื่องแรกคือเกม Tennis For Two ของฮิกกินโบธแฮม (Higginbotham's Tennis For Two) ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2501 แต่ศาลตัดสินว่าเกมของฮิกกินโบธแฮม ไม่ได้ใช้ระบบส่งสัญญาณวิดีโอ จึงไม่เป็นเครื่องวิดีโอเกม ผลการตัดสินทำให้นินเท็นโดพ่ายไปในที่สุด และจ่ายค่าเสียหายให้กับ Sanders Associates

นายราล์ฟ แบร์ ดำเนินการคิดค้นเครื่องเล่นเกมแบบคลาสสิก "ไซมอน" ให้กับแมทเทลใน พ.ศ. 2521 ในเวลาต่อมา แม็กนาวอกซ์ได้วางจำหน่ายเครื่องเล่นเกมที่มีลักษณะคล้ายเครื่องเล่น ป็อง ที่มีขนาดย่อส่วนลงมาภายใต้ชื่อเดิม "โอดีสซี" (เป็นรุ่นที่ไม่ใช้ตลับเกม) และอีกรุ่นหนึ่งถัดมา "โอดิสซี²" ที่ใช้ตลับเกมและสามารถตั้งโปรแกรมได้

การร่วมทุนครั้งแรกในวงการเกมอิเล็กทรอนิกส์ของนินเท็นโด คือการกระจายสินค้าแม็กนาวอกซ์โอดีสซีในประเทศญี่ปุ่นใน 1975 ก่อนที่นินเท็นโดจะผลิตเครื่องเล่นเกมเป็นของตนเอง

รายชื่อเกม

แก้
  • Analogic
  • Baseball
  • Basketball
  • Brain Wave
  • Cat & Mouse
  • Dogfight
  • Football
  • Fun Zoo
  • Handball
  • Haunted House
  • Hockey
  • Invasion
  • Interplanetary Voyage
  • Percepts
  • Prehistoric Safari
  • Roulette
  • Shooting Gallery
  • Shootout
  • Simon Says
  • Ski
  • Soccer
  • States
  • Submarine
  • Table Tennis
  • Tennis
  • Volleyball
  • Win
  • Wipeout

อ้างอิง

แก้
  1. เกร็ก ออร์แลนโด (2007-05-15). "Console Portraits: A 40-Year Pictorial History of Gaming". Wired News. สืบค้นเมื่อ 2007-09-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "Magnavox Patent". The New York Times. October 8, 1982. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ February 25, 2007.
  3. "Magnavox Settles Its Mattel Suit". The New York Times. February 16, 1983. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2016. สืบค้นเมื่อ February 25, 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้