แมซีฮ์ แอลีเนฌอด

แมซีฮ์ แอลีเนฌอด (เปอร์เซีย: مسیح علی‌نژاد, อักษรโรมัน: Masih Alinejad; เกิด 11 กันยายน 1976) หรือชื่อเมื่อเกิดว่า แมอ์ซูเม แอลีเนฌอด-โกมี (เปอร์เซีย: معصومه علی‌نژاد قمی, อักษรโรมัน: Masoumeh Alinejad-Ghomi) เป็นนักข่าว นักเขียน และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรีชาวอเมริกันเชื้อสายอิหร่าน[2][3][4] ในปัจจุบันทำงานเป็นผู้ผลิตและผู้ประกาศข่าวของวีโอเอเปอร์เซีย ผู้สื่อข่าวของรอดีโยแฟร์ดอ นักเขียนขาประจำของแมโนโท และบรรณาธิการร่วมของนิตยสาร IranWire[5]

แมซีฮ์ แอลีเนฌอด
แอลีเนฌอดเมื่อปี 2018
เกิดแมอ์ซูเม แอลีเนฌอด-โกมี
(1976-09-11) 11 กันยายน ค.ศ. 1976 (47 ปี)
โกมีแคลอ บอโบล รัฐจักรพรรดิอิหร่าน
สัญชาติอิหร่าน
พลเมืองสหรัฐ[1]
การศึกษามหาวิทยาลัยออกซ์เฟิร์ดบรุกส์
อาชีพนักข่าวและนักเขียน
ปีปฏิบัติงาน2001–ปัจจุบัน
นายจ้างยูเอสเอเจนซีฟอร์โกลบอลมีเดีย
คู่สมรสKambiz Forouhar (สมรส 2014)
บุตร1 คน

แอลีเนฌอดมุ่งเน้นการวิพากษ์วิจารณ์สถานะสิทธิมนุษยชนในประเทศอิหร่าน โดยเฉพาะประเด็นสิทธิสตรีในอิหร่าน[6] ปัจจุบันเธอลี้ภัยอยู่ในนครนิวยอร์ก และเป็นผู้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลสิทธิสตรีงานประชุมเจนีวาเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยปี 2015, รางวัลข่าวจากมูลนิธิเมฮ์ดี เซมแซร์, รางวัลสื่อยอดเยี่ยม ระดับดีเยี่ยม[7]

ในปี 2019 เธอได้ฟ้องร้องรัฐบาลอิหร่านต่อศาลสหรัฐด้วยข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลอิหร่านระรานเธอและครอบครัวของเธอ[8] ในปี 2018 เธอออกหนังสือชื่อ The Wind in My Hair ซึ่งเล่าเรื่องการเติบโตของเธอในอิหร่าน ที่ซึ่งเธอระบุว่าเด็กผู้หญิง "ถูกเลี้ยงดูมาให้ก้มหน้างุด ๆ ให้สงบเสงี่ยมที่สุด และให้เจียมเนื้อเจียมตัว"[9][10] ในปี 2021 สหรัฐระบุว่าหน่วยข่าวกรองของอิหร่านได้วางแผนลักพาตัวนักวิจารณ์รัฐบาลอิหร่านคนหนึ่งซึ่งไม่ได้ระบุชื่อ แอลีเนฌอดเชื่อว่าเธอเป็นเป้าหมายของการลักพาตัวครั้งนั้น</ref>[11]

อ้างอิง แก้

  1. Weiser, Benjamin (July 13, 2021). "Iranian Operatives Planned to Kidnap a Brooklyn Author, Prosecutors Say". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 14, 2021. ... Ms. Alinejad, an American citizen ...
  2. Inskeep, Steve (July 15, 2021). "The Journalist Iran Allegedly Sought To Kidnap Says She Would Have Been Killed". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-03.
  3. "Iran: Family of women's rights activist arrested in despicable attempt to intimidate her into silence". September 25, 2019.
  4. Fang, Lee (January 7, 2020), "VOA Persian Awarded Journalism Contract to Controversial Former Trump Campaign Operative", The Intercept, สืบค้นเมื่อ March 20, 2020
  5. "USAGM". USAGM (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 22, 2020.
  6. Morris, Cheryl (November 1, 2007). "How Masih Alinejad is paying the price for confronting Iran's leaders". New Internationalist. สืบค้นเมื่อ July 26, 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Radio Farda and Radio Free Afghanistan Honored By AIB". Pressroom. Radio Free Europe/Radio Liberty. November 7, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-08. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  8. "Anti-headscarf law activist sues Iran in US over harassment". AP News. April 21, 2021.
  9. "The wind in my hair: one Iranian woman's courageous struggle against being forced to wear the hijab". The Guardian. June 2, 2018.
  10. Smith, Jordan Michael (August 13, 2019). "How Voice of America Persian Became a Trump Administration PR Machine". The Intercept (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 22, 2020.
  11. "Iranians 'plotted to kidnap US, Canada and UK targets'". BBC. July 14, 2021. สืบค้นเมื่อ July 14, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
  Activist Masih Alinejad fights against the compulsory hijab in Iran, Matter Of Fact With Stan Grant, ABC News