แฟลทดีไซน์ (อังกฤษ: Flat design) เป็นภาษาการออกแบบ (design language) หรือรูปแบบการออกแบบ (design style) รูปแบบที่มีความเป็นจุลนิยม (minimalist) วลีนี้ริเริ่มและทำให้เป็นที่นิยมโดย อัลลัน กรินชไตน์ (Allan Grinshtein)[1][2][3][4] ใช้ทั่วไปในการออกแบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface; GUI) เช่นในการออกแบบเว็บแแอปพลิเคชันหรือแอปพลิเคชันมือถือ เช่นเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ งานศิลปะ เอกสารแนะนำ และสินค้ากลุ่มงานพิมพ์

ตัวอย่างภาพสัญลักษณ์ที่เป็นแฟลทดีไซน์

นิยามและเป้าหมาย แก้

 
ภาพจับหน้าจอแอปพลิเคชันมือถือที่มีองค์ประกอบการออกแบบแบบแมทีเรียลดีไซน์ (Material Design) รูปแบบของแฟลทดีไซน์ที่พัฒนาโดยกูเกิล

แฟลทดีไซน์เป็นรูปแบบการออกแบบอินเตอร์เฟซที่เน้นการใช้จุลนิยม (Minimalism) ในการสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการลวงตาให้เหมือนเป็นสามมิติ (illusion of three dimensions) ซึ่งใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น

การออกแบบแบแฟลทดีไซน์มุ่งเน้นอยู่ที่การใช้องค์ประกอบอย่างง่าย การจัดวางอักษร (typography) แบบจุลนิยม และการใช้สีแฟลท (flat colours)[7]

นักออกแบบอาจเลือกใช้การออกแบบแบบแฟลทดีไซน์เพราะมีรูปแบบอินเตอร์เฟซที่ดูเพรียว (Streamlined) กว่า และมีประสิทธิภาพกว่า การออกแบบแบบแฟลทดีไซน์ทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่จะสื่อสารข้มูลต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีรูปลักษณ์ที่ดึงดูดและเข้าถึงได้ง่าย[8] [9] นอกจากนี้ยังงทำให้การออกแบบนั้นง่ายขึ้นในแง่ของการสร้างอินเตอร์เฟซที่มีการออกแบบการโต้ตอบ (Responsive design) ที่เปลี่ยนในขนาดของเบราว์เซอร์บนอุปกรณ์ที่แตกต่างกันไปของผู้ใช้ ที่สำคัญอีประการหนึ่งคือด้วยองค์ประกอบที่ใช้มีขนาดเล็กลงและน้อยลงตามแนวคิดแบบจุลนิยม ทำให้เว็บไซต์และโปรแกรมสามารถดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และทำให้ปรับขนาดได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดียวกันก็ยังคงดูคมชัดบนหน้าจอที่มีความละเอียดสูง[8] แฟลทดีไซน์ถือเป็นรูปแบบคู่ตรงข้ามกับการออกแบบแบบสกีวโอมอร์ฟ (Skeuomorphism)[10] และ ริชดีไซน์ (rich design)[8] ถึงแม้ว่าแฟลทดีไซน์อาจมีการเอาสกีวโอมอร์ฟมาประกอบด้วยก็ได้

อ้างอิง แก้

  1. "Flat Design: An In-Depth Look". www.awwwards.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
  2. Smith, Grace. "36 High-Quality Flat Design Resources". Mashable (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
  3. "Flat Design Rising: Bold Changes to the Modern Website". Hoppel Design (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
  4. "Everything You Wanted to Know About Flat Design". Source Digit (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ S4lollipop-settings
  6. Screenshot of Samsung Galaxy S4 telephone application with Android 4.4.2 (before update) and Android 5.0 (after update).
  7. Carrie Cousins (May 28, 2013). "Flat design principles". designmodo.com.
  8. 8.0 8.1 8.2 Turner, Amber Leigh (March 19, 2014). "The history of flat design: How efficiency and minimalism turned the digital world flat". The Next Web. สืบค้นเมื่อ April 11, 2014.
  9. Clum, Luke (May 13, 2013). "A Look at Flat Design and Why It's Significant". UX Magazine. สืบค้นเมื่อ April 11, 2014.
  10. Yair Grinberg (September 11, 2013). "iOS 7, Windows 8, and flat design: In defense of skeuomorphism". VentureBeat. สืบค้นเมื่อ April 13, 2014.