แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งซันริกุ

แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งซันริกุ เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งซันริกุ ในภูมิภาคโทโฮกุ ของประเทศญี่ปุ่น ชายฝั่งซันริกุเป็นคำที่ใช้สื่อถึงพื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดอาโอโมริ จังหวัดอิวาเตะ และจังหวัดมิยางิ [2]

สึนามิครั้งประวัติศาสตร์ในพื้นที่ชายฝั่งซันริกุ
ภูมิภาคที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวแบบเมกะทรัสต์ในภูมิภาคญี่ปุ่นตะวันออก ประเมินโดยกรมเพื่อการส่งเสริมการวิจัยแผ่นดินไหว[1]

ชายฝั่งซันริกุมีลักษณะชายฝั่งแบบริอาซึ่งมีเวิ้งอ่าวคดเคี้ยวมีแนวโน้มที่จะขยายการทำลายล้างของคลื่นสึนามิได้มากขึ้น[3] ดั่งที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ที่ก่อให้เกิดสึนามิสูงมากกว่า 10 เมตรทำลายล้างเมืองตามชายฝั่งซันริกุ

ประวัติ แก้

ชายฝั่งซันริกุมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวที่สำคัญและได้รับการบันทึกไว้เป็นอย่างดี แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 คน และเกิดขึ้นอีกครั้งในศตวรรษที่ 20 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกหลายพันคน กิจกรรมการเกิดแผ่นดินไหวยังคงเกิดขึ้นต่อไปในศตวรรษที่ 21

รายชื่อการเกิดสึนามิและแผ่นดินไหว แก้

สมัยเก่า แก้

จากหลักฐานทางธรณีวิทยามีคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ที่พัดเข้าถล่มชายฝั่งแห่งนี้ในช่วงประมาณ 6,000 ปี ที่ผ่านมาได้แก่ [4][5]

คริสต์ศตวรรษที่ 19 แก้

คริสต์ศตวรรษที่ 20 แก้

คริสต์ศตวรรษที่ 21 แก้

  • แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดมิยางิ ค.ศ. 2003 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่สองครั้งในจังหวัดมิยางิปี 2003 แผ่นดินไหวครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 171 ราย สร้างความเสียหาย 97.3 ล้านดอลลาร์ [9] แผ่นดินไหวเกิดอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 676 คน อาคารมากกว่า 11,000 หลังได้รับผลกระทบ สร้างความเสียหายประมาณ 195.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

[10]

กลไกการเกิดแผ่นดินไหว แก้

แผ่นแปซิฟิกเกิดจากลิโทสเฟียร์ (เปลือกโลกสมุทร) ที่มุดตัวลงใต้แผ่นโอค็อตสค์ตามร่องมุดตัวซึ่งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น [11] ด้วยอัตรา 8 ถึง 9 เซนติเมตร (3.1 ถึง 3.5 นิ้ว) ต่อปี ซึ่งมีการมุดตัวลงใต้เกาะฮนชูและปล่อยพลังงานจำนวนมหาศาลออกมา การเคลื่อนตัวจะดึงแผ่นเปลือกโลกข้างบนให้มุดตัวลงมาจนกระทั่งเกิดความเค้นสะสมมากพอที่จะทำให้เกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในภูมิภาคซันริกุสามารถเกิดได้ยาวเป็นร้อยกิโลเมตร แผ่นดินไหวทั่วไปหากจะเกิดแบบนี้ได้รอยเลื่อนจะต้องตรงและยาวพอ แต่ร่องลึกบาดาลญี่ปุ่นไม่เป็นเช่นนั้น [12]

อ้างอิง แก้

  1. "Evaluation of Major Subduction-zone Earthquake". Headquarters for Earthquake Research Promotion. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
  2. ญี่ปุ่น: Saw-tooth Sanriku Coastlineโรมาจิ三陸リアス式海岸ทับศัพท์: Sanriku-riasushiki-kaigan at Nippon-Kichi
  3. Satake, Kenji (2005). Tsunamis: Case Studies and Recent Developments. Advances in Natural and Technological Hazards Research (Book 23). Springer. p. 99. Bibcode:2005tcsr.book.....S. ISBN 978-1402033261.
  4. "Signs of 6 massive tsunami over past 6,000 years found in disaster-hit city - the Mainichi Daily News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.
  5. Minoura, Koji (30 June 2001). 津波災害は繰り返す (ภาษาญี่ปุ่น). Tohoku University. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  6. USGS. "Significant Earthquakes of the World 1978". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2010. สืบค้นเมื่อ 6 July 2010.
  7. Sidle, R.C. et al. (1985). Hillslope stability and land use, pp. 1–9., p. 1, ที่ Google Books
  8. Nakayama and Takeo. "Slip history of the 1994 Sanriku-Haruka-Oki, Japan, earthquake deduced from strong-motion data," Bulletin of the Seismological Society of America, Vol. 87, No. 4, p. 918.
  9. Disaster Control Research Center, Tohoku University: May 26, 2003 Miyagi-Oki earthquake เก็บถาวร กันยายน 7, 2012 ที่ archive.today
  10. Disaster Control Research Center: July 26, 2003 Northern Miyagi earthquake เก็บถาวร สิงหาคม 4, 2012 ที่ archive.today
  11. Sample, Ian. "Japan earthquake and tsunami: what happened and why," The Guardian (UK). 11 March 2011; retrieved 14 Mar 2011
  12. Maugh, Thomas H. "Size of Japan's quake surprises seismologists," Los Angeles Times (US). 11 March 2011; retrieved 11 Mar 2011