ริอา (กาลิเซีย: ría) เป็นช่องเว้าชายฝั่งที่เกิดจากการจมน้ำของหุบเขา เรียกว่า "แม่น้ำหุบเขา" ซึ่งจะเปิดออกสู่ทะเล [1] [2]

ริอาทางตอนใต้ของซิดนีย์ ลักษณะนี้ทำให้ซิดนีย์เป็นเมืองท่าที่สำคัญ
ริอาในอ่าวไมซูรุ จังหวัดเกียวโต

การก่อตัว แก้

เวิ้งน้ำที่เกิดจากการทรุดตัวของหุบเขาเรียกว่า "หุบเขาจมน้ำ" ริอาเป็นภูมิประเทศที่แต่เดิมทอดยาวในแนวตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง แต่ต่อมาถูกแม่น้ำกัดเซาะกลายเป็นหุบเขาที่จมน้ำ มีลักษณะยาวต่อกันและแตกสาขาเหมือนกิ่งไม้ มีลักษณะของชายฝั่งแบบแดลเมเชียที่พบได้ในประเทศโครเอเชียเกิดจากหุบเขาขนานกับแนวชายฝั่งที่จมอยู่ใต้น้ำ แต่เมื่อภูมิประเทศสูงชันตั้งฉากกับแนวชายฝั่งที่จมน้ำลักษณะแบบนี้คือริอา แต่ถ้าจมลึกไปอีกจะกลายเป็นหมู่เกาะ ในอดีตมีทฤษฎีที่ว่าริอาเกิดจากการทรุดตัวรอบ ๆ หุบเขา แต่เมื่อมีการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าริอาเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากสมัยไพลสโตซีน

เวิ้งอ่าวที่สลับซับซ้อนของชสยฝั่งเรียถูกใช้เป็นท่าเรือมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะมีคลื่นทะเลไม่สูงและน้ำลึกจึงสะดวกในการส้รางท่าเรือ นอกจากนี้ยังมีสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยทำให้เกิดการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่

แต่ด้วยลักษณะแผ่นดินที่มีภูเขาสูงชันใกล้ชายฝั่งที่เป็นที่ราบเล็ก ๆ ทำให้ยากต่อการคมนาคมทางบก ด้วยเหตุนี้บางแห่งจึงมีการคมนาคมทางเรือเพียงอย่างเดียว

คำศัพท์ แก้

คำว่าริอา (ría) มาจากภาษากาลิเซียซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส เนื่องจากแนวริอามีอยู่ตลอดตามแนวชายฝั่งแคว้นกาลิเซียของประเทศสเปน คำนี้จำกัดเฉพาะหุบเขาที่ถูกกัดเซาะจากแม่น้ำขนาดกับแนวผาหินที่ทำมุมฉากกับแนวชายฝั่ง

ในช่วงเวลาหนึ่งนักธรณีสัณฐานวิทยาชาวยุโรป[3] ได้ใช้คำว่า "ริอา" เป็นคำนิยามปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ และมีการเรียกฟยอร์ดว่าริอาด้วย เวิ้งน้ำเหล่านี้มีทั้งแคบยาว มีหน้าผาสูงชัน เกิดขึ้นจากภูเขาที่ถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะ แต่ในศตวรรษที่ 21 นักธรณีวิทยาและนักธรณีสัณฐานนิยมใช้คำว่า "ริอา" กับหุบเขาที่ถูกแม่น้ำกัดเซาะเท่านั้นดังนั้นจึงไม่รวมฟยอร์ดตามคําจํากัดความก่อนหน้า เพราะฟยอร์ดเกิดจากภูเขาที่ถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะ[4][5][6]

อ้างอิง แก้

  1. 『新版 地学事典』1996年10月20日発行、編集:地学団体研究会、新版地学事典編集委員会、発行:平凡社,ISBN 4-582-11506-3
  2. 『オックスフォード地球科学辞典』2004年5月30日、発行:朝倉書店,ISBN 4-254-16043-7
  3. Gulliver, F.P. (1899). "Shoreline Topography". Proceedings of the American Academy of Arts and Sciences. 34 (8): 151–258. doi:10.2307/20020880. JSTOR 20020880.
  4. Cotton, C.A. (1956). "Rias Sensu Stricto and Sensu Lato". The Geographical Journal. 122 (3): 360–364. doi:10.2307/1791018. JSTOR 1791018.
  5. Goudie, A. (2004) Encyclopedia of Geomorphology. Routledge. London, England.
  6. Bird, E.C.F. (2008) Coastal Geomorphology: An Introduction, 2nd ed. John Wiley and Sons Ltd. West Sussex, England.