แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย

แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย เป็นแผนที่ธรณีวิทยาครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย จัดทำและปรับปรุงโดยกรมทรัพยากรธรณีตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่สังกัดอยู่กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแผนที่ที่นิยมคือ แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:50,000

แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย

ในปัจจุบันแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 เป็นมาตราส่วนที่ละเอียดที่สุดที่จัดทำสำหรับแผนที่ธรณีวิทยา แต่ทว่าในกรุงเทพมหานครได้มีการวางแผนจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:1000 ในปี พ.ศ. 2554[1]

ประวัติ แก้

ในช่วงที่วงการวิชาการด้านธรณีวิทยาในประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลาย และนักธรณีวิทยาในประเทศไทยยังกำลังคนน้อยและไม่มีประสบการณ์ในการทำแผนที่ธรณีวิทยามากนัก เนื่องจากสาขาวิชาธรณีวิทยาในขณะนั้น จัดว่าเป็นสาขาวิชาขาดแคลนและที่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยเรา กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ว่าจ้างและได้รับการสนับสนุนจากชาวต่างชาติมาช่วยในการสำรวจและจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา ซึ่งต่อมาแผนที่เหล่านั้นกลายเป็นมาตรฐานและแบบอย่างให้นักธรณีวิทยาของประเทศไทย และแผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทยฉบับล่าสุดที่ได้รับการแก้ไข ปรับปรุง และตีพิมพ์ออกมาให้หน่วยงานราชการและประชาชนทั่วไปได้นำไปใช้ประโยชน์

แม้ว่าในขณะนี้กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พิมพ์เผยแพร่ แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:2,500,000 ออกมาแล้ว แต่หากพูดถึงแผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทยในมาตราส่วนที่ใหญ่กว่านี้ ที่เป็นมาตราส่วนที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้มากที่สุด คือ มาตราส่วน 1:50,000 ซึ่งยังไม่ได้รับการสำรวจและจัดทำแผนที่ออกให้ครอบคลุมทั่วทุกระวางแผนที่

รายการแผนที่ แก้

รายการแผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย[2] ได้แก่

  • แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:2,500,000
  • แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:1,000,000
  • แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:500,000
  • แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:250,000
  • แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:50,000

การเข้าถึงข้อมูล แก้

แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:2,500,000 ขนาดเท่าจริง สามารถซื้อได้ที่ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในราคาประมาณชุดละ 100 บาท[2]

อ้างอิง แก้