แบรีเซนเตอร์ (อังกฤษ: Barycenter, Barycentre) เป็นจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุสองวัตถุหรือมากกว่าที่ซึ่งโคจรรอบซึ่งกันและกันหรือจุดรอบๆที่ซึ่งมันโคจร แบรีเซนเตอร์เป็นประเด็นสำคัญในดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ระยะทางจากจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุถึงแบรีเซนเตอร์สามารถใช้คำนวณปัญหาสองวัตถุอย่างง่าย คำว่าแบรีเซนเตอร์มาจากคำในภาษากรีกว่า βαρύ-ς หนัก และ κέντρ-ον ศูนย์กลาง[1]

ภาพจากยานนิวฮอไรซันส์ แสดงถึงแบรีเซนเตอร์ของระบบดาวพลูโตแครอน

ในเรขาคณิต คำว่า "แบรีเซนเตอร์" มีความหมายเหมือนกับคำว่า เซนทรอยด์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของรูปเรขาคณิตสองมิติ

หากวัตถุหนึ่งในสองที่โคจรกันอยู่นั้นมีมวลมากกว่าอีกวัตถุและวัตถุนั้นอยู่ใกล้กันมาก โดยทั่วไปศูนย์แบรีเซนเตอร์จะอยู่ภายในวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า  ในกรณีนี้แทนที่จะมีวัตถุสองดวงที่โคจรรอบจุดหนึ่ง วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าจะปรากฏเหมือนว่ากำลังโคจรรอบวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าในขณะที่วัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าอาจปรสกฏให้เห็นว่ามีการแกว่งเล็กน้อย  นี่เป็นกรณีของระบบโลก - ดวงจันทร์ ซึ่งมีแบรีเซนเตอร์ ตั้งอยู่โดยเฉลี่ย 4,671 km (2,902 mi) 75% จากศูนย์กลางโลก ของรัศมีโลก 6,378 km (3,963 mi) เมื่อทั้งสองวัตถุมีมวลใกล้เคียงกัน โดยทั่วไปแล้วแบรีเซนเตอร์จะอยู่ระหว่างสองวัตถุ และวัตถุนั้นจะโคจรรอบแบรีเซนเตอร์นี้  นี่เป็นกรณีของพลูโตและชารอนซึ่งเป็นหนึ่งในบริวารธรรมชาติของพลูโตเช่นเดียวกับระบบดาวเคราะห์น้อยคู่และระบบดาวคู่  เมื่อวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าแต่อยู่ไกลออกไป แบรีเซนเตอร์สามารถอยู่นอกวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าได้  นี่เป็นกรณีของดาวพฤหัสบดีและดวงอาทิตย์  แม้ดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีเป็นพันเท่า แต่แบรีเซนเตอร์ของมันอยู่นอกดวงอาทิตย์เล็กน้อยเนื่องจากระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์ค่อนข้างมาก[2]

ในทางดาราศาสตร์ พิกัดแบรีเซนทริคเป็นพิกัดแบบไม่โคจรที่มีจุดกำเนิดที่แบรีเซนเตอร์ของสองวัตถุหรือมากกว่านั้น ระบบพิกัดวงกลมท้องฟ้าสากล (อังกฤษ: International Celestial Reference System, (ICRS)) เป็นระบบพิกัดแบรีเซนทริคที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แบรีเซนเตอร์ของระบบสุริยะ

อ้างอิง แก้

  1. Oxford English Dictionary, Second Edition.
  2. MacDougal, Douglas W. (December 2012). Newton's Gravity: An Introductory Guide to the Mechanics of the Universe. Berlin: Springer Science & Business Media. p. 199. ISBN 1-4614-5444-1.