แคปต์ชา
แคปต์ชา (อังกฤษ: CAPTCHA; /kæp.tʃə/) คือการทดสอบเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แบบโต้ตอบชนิดหนึ่ง เพื่อทดสอบว่าผู้ใช้งานเป็นมนุษย์จริงหรือไม่ (ว่าไม่ใช่บอตหรือโปรแกรมอัตโนมัติ) คำว่า CAPTCHA ย่อมาจาก "Completely Automated Public Turing test to tell Computers and Humans Apart" (การทดสอบของทัวริงสาธารณะแบบอัตโนมัติเพื่อแยกแยะว่าเป็นคอมพิวเตอร์กับมนุษย์อย่างสมบูรณ์)[1]
คำนี้ได้ถูกบัญญัติในปี พ.ศ. 2543 โดย ลูอิส วอน ออห์น, มานูเอล บลูม, นิโคลัส เจ. ฮอปเปอร์ และจอห์น แลงฟอร์ด[2] ซึ่งแคปต์ชาชนิดที่เราใช้ส่วนใหญ่ได้ถูกคิดค้นโดย 2 กลุ่มที่ทำงานร่วมกัน นั่นคือ (1) มาร์ก ดี. ลิลลิบริดจ์, มาร์ติน อบาดิ, คริชนา ภารัต และแอนเดร โบรเดอร์ และ (2) อิราน เรเชฟ, กิลี รอแนน, ไอลอน โซแลน[3] รูปแบบของแคปต์ชานี้ต้องการให้ผู้ใช้พิมพ์ตัวอักษรของภาพที่บิดเบี้ยว บางครั้งอาจมีการเพิ่มตัวอักษรหรือตัวเลขที่ปิดบังไว้ที่ปรากฏบนหน้าจอ เนื่องจากการทดสอบนี้ถูกบริหารจัดการโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งตรงข้ามกับการทดสอบทัวริงที่ใช้มนุษย์ในการบริหารจัดการ ดังนั้นแล้วในบางครั้งก็อาจมีการอธิบายแคปต์ชาไว้ว่าเป็นการทดสอบของทัวริงแบบย้อนกลับ
แคปต์ชาอาจใช้ในการตอบกลับฟอรั่มหรือเว็บบอร์ดสาธารณะทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เพื่อป้องกันบอตหรือโปรแกรมอัตโนมัติทำการส่งข้อความไม่พึงประสงค์ เช่น สแปม หรือโฆษณา เป็นต้น
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "The reCAPTCHA Project – Carnegie Mellon University CyLab". www.cylab.cmu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2017.
- ↑ von Ahn, Luis; Blum, Manuel; Hopper, Nicholas J.; Langford, John (พฤษภาคม 2003). E. Biham (บ.ก.). CAPTCHA: Using Hard AI Problems for Security (PDF). EUROCRYPT 2003: International Conference on the Theory and Applications of Cryptographic Techniques. International Association for Cryptologic Research.
- ↑ "Method and system for discriminating a human action from a computerized action". IFI CLAIMS Patent Services. 1 มีนาคม 2004.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ captcha.org
- แคปต์ชา ที่เว็บไซต์ Curlie
- b.Thanate (7 กุมภาพันธ์ 2013). "[App.th] CAPTCHA in Thai". Blognone.