เฮ่อ เจี้ยนขุย ([xɤ̂ tɕjɛ̂nkʰwěi]; จีน: 贺建奎; เกิดปี 1984) เป็นนักวิจัยด้านฟิสิกส์ชีวภาพชาวจีน และรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคใต้ (SUSTech) ในเสิ่นเจิ้น ประเทศจีน[2][3][4] เขาจบการศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยไรซ์ในเท็กซัส ชำนาญการด้านวิวิฒนาการโปรตีน ซึ่งรวมถึงของเทคโนโลยี CRISPR เฮ่อเรียนรู้เทคนิกการตัดต่อยีน CRISPR/Cas9 ในฐานะนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในแคลิฟอร์เนีย[5]

เฮ่อ เจี้ยนขุย
เฮ่อเมื่อปี 2018
เกิดค.ศ. 1984 (อายุ 39–40 ปี)
มณฑลซินหวา หูหนัน ประเทศจีน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจีน (B.S., 2006)
มหาวิทยาลัยไรซ์ (Ph.D., 2010)
มีชื่อเสียงจากลูลูและนานา ทารกที่ผ่านการตัดต่อจีโนมเชิงการทดลองคู่แรกของโลก
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์ชีวภาพ
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคใต้
วิทยานิพนธ์Spontaneous Emergence of Hierarchy in Biological Systems (2011)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกไมเคิล วี ดีม
อาจารย์ที่ปรึกษาอื่น ๆสตีเฟน เควก[1]
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ贺建奎
อักษรจีนตัวเต็ม賀建奎

เฮ่อกลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วในเดือนพฤศจิกายนหลังเขาอ้างว่าได้สร้างทารกมนุษย์คนแรกที่ผ่านการตัดต่อจีโนม[6][7] ทารกแฝดหญิงคู่นี้เป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อปลอม ลูลู และ นานา[8][9] ซึ่งเกิดเมื่อเดือนตุลาคม 2018[5][1] ในระยะแรก กรณีนี้ได้รับการเชิดชูจากสื่อว่าเป็นการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ขั้นสำคัญ[10] แต่หลังการตรวจสอบกระบวนการทำการทดลองของเขาอย่างละเอียดแล้ว เฮ่อถูกประณามอย่างหนักไปทั่ว[5][11][12] และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2018 ทางการจีนได้ทำการสั่งห้ามเฮ่อทำกิจกรรมการวิจัยใด ๆ[13] และในวันที่ 21 มกราคม 2019 เขาถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย SUSTech[14]

ต่อมาในปี 2019 นักกฎหมายในจีนรายงานว่าหลังกรณีมนุษย์ที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมคนแรกของเฮ่อ เจี้ยนขุย ทำให้มีการร่างข้อกำหนดให้บุคคลใดที่ทำการดัดแปรแก้ไขจีโนมของมนุษย์ผ่านวิธีการตัดต่อยีน จะต้องมีภาระรับผิดชอบต่อผลกระทบทางลบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมา[15] ในเดือนธันวาคม 2019 วารสาร MIT Technology Review รายงานภาพรวมของกรณีถกเถียงเท่าที่เป็นอยู่ในตอนนั้น ในรายงานฉบับนี้ยังมีเนื้อหาบางส่วนที่มาจากผลการวิจัยส่วนที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน[16][17] ในวันที่ 30 ธันวาคม 2019 ศาลประชาชนแขวงหนันชาน นครเสินเจิ้นพิพากษาให้เฮ่อถูกจำคุกสามปี และเสียค่าปรับสามล้านหยวน[18] เฮ่อ เจี้ยนขุย ได้รับการปล่อยตัวจากเรื่อนจำในเดือนเมษายน 2022[19]

เฮ่อได้รับการขึ้นชื่อเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลประจำปี 2019 ของนิตยสาร Time[20] มีการขนานนามเขาไว้หลากหลายว่าเป็นทั้ง "นักวิทยาศาสตร์ป่าเถื่อน" (rogue scientist),[21] "ดร. แฟรงเกนสไตน์ ของจีน",[22] และ "อัจฉริยะบ้า" (mad genius)[23] นักพันธุศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จอร์จ เชิร์ช บรรยายเขาไว้ว่าเป็นแพะบูชายัญให้กับการตัดต่อยีน ที่ "ประสงค์จะเป็นผู้พลีชีพที่มาเป็นคนแรก"[24]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NYT-20190414
  2. Cohen, Jon (1 August 2019). "The untold story of the 'circle of trust' behind the world's first gene-edited babies". Science. doi:10.1126/science.aay9400. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
  3. "Jiankui He(Nonpaid Leave)- Department of Biology". bio.sustc.edu.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 December 2018.
  4. Rana, Preetika (10 May 2019). "How a Chinese Scientist Broke the Rules to Create the First Gene-Edited Babies - Dr. He Jiankui, seeking glory for his nation and justice for HIV-positive parents, kept his experiment secret, ignored peers' warnings and faked a test (Paywall)". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 11 May 2019.
  5. 5.0 5.1 5.2 Begley, Sharon; Joseph, Andrew (17 December 2018). "The CRISPR shocker: How genome-editing scientist He Jiankui rose from obscurity to stun the world". Stat News. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NYT-20190128
  7. "The scientist who created CRISPR babies is on Time's most-influential list—but not in a good way". MIT Technology Review. 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  8. Begley, Sharon (28 November 2018). "Amid uproar, Chinese scientist defends creating gene-edited babies". STAT News.
  9. 复盘贺建奎的人生轨迹:是谁给了他勇气 (ภาษาจีน). sina.com.cn. 27 November 2018. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
  10. Li, Jing-ru; Walker, Simon; Nie, Jing-bao; Zhang, Xin-qing (2019). "Experiments that led to the first gene-edited babies: the ethical failings and the urgent need for better governance". Journal of Zhejiang University Science B. 20 (1): 32–38. doi:10.1631/jzus.B1800624. PMC 6331330. PMID 30614228.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NYT-20181205
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GIZ-20190430
  13. Jiang, Steven; Regan, Helen; Berlinger, Joshua (29 November 2018). "China suspends scientists who claim to have produced first gene-edited babies". CNN News.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reuters-20190121
  15. Cyranoski, David (20 May 2019). "China set to introduce gene-editing regulation following CRISPR-baby furore - The draft rules mean that anyone who manipulates human genes in adults or embryos is responsible for adverse outcomes". Nature. doi:10.1038/d41586-019-01580-1. PMID 32424191. S2CID 182604140. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
  16. Regalado, Antonio (3 December 2019). "China's CRISPR babies: Read exclusive excerpts from the unseen original research - He Jiankui's manuscript shows how he ignored ethical and scientific norms in creating the gene-edited twins Lulu and Nana". MIT Technology Review. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
  17. Musunuru, Kiran (3 December 2019). "Opinion: We need to know what happened to CRISPR twins Lulu and Nana - The unpublished research paper by He Jiankui about the creation of the babies shows proof of attempted gene editing gone awry". MIT Technology Review. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
  18. huaxia. "He Jiankui jailed for illegal human embryo gene-editing". Xinhuanet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2019. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.
  19. "The creator of the CRISPR babies has been released from a Chinese prison". 2022-04-04.
  20. Doudna, Jennifer (18 April 2019). "100 Most Influential People - He Jiankui". Time. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  21. Cohen, Jon (2 August 2019). "Inside the circle of trust". Science. 365 (6452): 430–437. Bibcode:2019Sci...365..430C. doi:10.1126/science.365.6452.430. PMID 31371593.
  22. Yan, Sophia (28 November 2018). "China's 'Dr Frankenstein' says second woman in early pregnancy with gene-edited babies". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  23. Low, Zoe (27 November 2018). "China's gene editing Frankenstein had dreams of being Chinese Einstein". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1

แหล่งข้อมูลอื่น แก้