เฮลิโอสเฟียร์

(เปลี่ยนทางจาก เฮลีโอสเฟียร์)

เฮลิโอสเฟียร์ หรือ สุริยมณฑล (อังกฤษ: Heliosphere) เป็นปริมณฑลแรงแม่เหล็ก (magnetoshpere) ที่ถูกสร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์และห่อหุ้มระบบสุริยะเอาไว้ โดยมีลักษณะคล้ายฟองอากาศอยู่ในห้วงอวกาศ ที่พองตัวอยู่ในสสารระหว่างดาว ซึ่งเป็นผลจากลมสุริยะ ทำหน้าที่ปกป้องระบบสุริยะจากรังสีคอสมิก แม้จะมีอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าส่วนหนึ่งจากสสารระหว่างดาวสามารถลอดเข้ามาภายในเฮลิโอสเฟียร์ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วสสารส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในเฮลิโอสเฟียร์ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น

แผนภาพแสดงคุณลักษณะของเฮลิโอสเฟียร์

ในรัศมี 10,000 ล้านกิโลเมตรแรก ลมสุริยะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 1 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง[1][2] จากนั้นจึงเริ่มชะลอและสลายไปในสสารระหว่างดาว ลมสุริยะจะชะลอความเร็วลงจนหยุดลงในที่สุดและรวมไปในมวลสารเหล่านั้น จุดที่ลมสุริยะชะลอความเร็วลงเรียกว่า กำแพงกระแทก (termination shock) จุดที่แรงดันของสสารระหว่างดาวกับลมสุริยะเข้าสู่สมดุลกันเรียกว่า เฮลิโอพอส (heliopause) จุดที่สสารระหว่างดาวเคลื่อนที่ในทางตรงกันข้าม คือชะลอตัวลงเมื่อปะทะเข้ากับเฮลิโอสเฟียร์ เรียกว่า โบว์ช็อค (bow shock)

ลมสุริยะ

แก้

ลมสุริยะ ประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ อะตอมที่มีประจุจากโคโรนาของดวงอาทิตย์ และสนามแม่เหล็ก ลักษณะของสนามแม่เหล็กที่ส่งออกมาจากดวงอาทิตย์ผ่านลมสุริยะมีลักษณะเป็นเกลียว ทั้งนี้เนื่องจากดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเองทุกๆ ระยะ 27 วัน ลมสุริยะนำพาเอาความเปลี่ยนแปรของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ไปกับมันด้วย และทำให้เกิดพายุแม่เหล็กขึ้นในแม็กนีโตสเฟียร์ของโลก

เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 มีรายงานการตรวจวัดจากเครื่องมือวัด Solar Wind Anisotropies (SWAN) ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานโซโฮ ถึงลักษณะของเฮลิโอสเฟียร์ซึ่งเป็นขอบเขตของลมสุริยะที่ปกป้องระบบของเราเอาไว้ มีลักษณะที่ไม่สมมาตร แต่มีการลดทอนกำลังลงด้วยผลกระทบจากสนามแม่เหล็กของดาราจักร

โครงสร้าง

แก้

กำแพงกระแทก

แก้

เฮลิโอชีท

แก้

โบว์ช็อค

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Dr. David H. Hathaway (January 18, 2007). "The Solar Wind". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-13. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11.
  2. Britt, Robert Roy (March 15, 2000). "A Glowing Discovery at the Forefront of Our Plunge Through Space". SPACE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-01-11. สืบค้นเมื่อ 2006-05-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้