เห็ดหลุบ (อังกฤษ: Haddon's sea anemone; ชื่อวิทยาศาสตร์: Stichodactyla haddoni) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกดอกไม้ทะเลหรือซีแอนนีโมนชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบอินโด-แปซิฟิก

เห็ดหลุบ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: ไนดาเรีย
ชั้น: แอนโธซัว
อันดับ: Actiniaria
วงศ์: Stichodactylidae
สกุล: Stichodactyla
(Saville-Kent, 1893)
สปีชีส์: Stichodactyla haddoni
ชื่อทวินาม
Stichodactyla haddoni
(Saville-Kent, 1893)
ชื่อพ้อง
  • Actinia gigantea (Forskål)
  • Discosoma haddoni Saville-Kent, 1893
  • Stoichactis haddoni (Saville-Kent, 1893)

เห็ดหลุบ เป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนวดสั้น มีชื่อเรียกหนึ่งว่า "พังผืดทะเล" มีพฤติกรรมเหมือนดอกไม้ทะเลทั่วไป คือ จะบานเมื่อปราศจากสิ่งใดมารบกวน หากมีสิ่งรบกวนจะหุบตัวเข้ากับซอกหินที่ใช้เป็นที่เกาะ มีสีต่าง ๆ มากมายหลายสี เช่น สีเหลือง, เขียว, เทา หรือสีปริน ซึ่งเป็นสีที่หายาก ปลายหนวดลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ หากไปสัมผัสถูกเข้าจะเหนียวหนึบขาดติดกับมือมาได้เลย กินอาหารด้วยวิธีการสองวิธี คือ การสังเคราะห์แสงจากสาหร่ายซูแซนแทนลีที่อยู่ในเนื้อเยื่อ และจับเหยื่อเอาจากหนวดซึ่งได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กและปลาวัยอ่อน[1]

อาศัยอยู่ตามพื้นทรายและกระจายพันธุ์ไปทั่วน่านน้ำเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของพื้นที่อินโด-แปซิฟิกตั้งแต่มอริเชียส, ฟิจิ, หมู่เกาะริวกิวทางใต้ของญี่ปุ่นไปถึงออสเตรเลีย[1]

ในทางชีววิทยาเห็ดหลุบเป็นดอกไม้ทะเลที่เป็นแหล่งที่พักพิงของสัตว์ทะเลหลายชนิด ทั้งปลาการ์ตูน เช่น ปลาการ์ตูนอานม้า ( Amphiprion polymnus), ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (A. sebae), ปลาการ์ตูนลายปล้อง (A. clarkii), ปลาการ์ตูนครีบส้ม (A. chrysopterus), ปลาการ์ตูนแนวปะการัง (A. akindynos), ปลาการ์ตูนมอริเทียน (A. chrysogaster) รวมถึงปลาสลิดหินสามจุด (Dascyllus trimaculatus) ในวัยอ่อน และยังมีความสัมพันธ์กับสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ๆ เช่น กุ้งในสกุล Periclimenes, กุ้งชนิด Thor amboinensis หรือกุ้งเซ็กซี่ และปูดอกไม้ทะเล (Neopetrolisthes maculatus) โดยให้เป็นสถานที่หลบภัย[1]

ในประเทศไทย เห็ดหลุบยังเป็นอาหารพื้นบ้านของเกาะสมุยหรือเกาะพะงัน ในอ่าวไทย รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง โดยสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะแกงคั่ว มีความกรุบกรอบ[2] นอกจากนี้แล้วเห็ดหลุบยังเป็นที่ต้องการในเชิงการค้าโดยมักมีการลักลอบจับจากทะเลเพื่อนำไปเลี้ยงในตู้ปลาทะเล จึงเป็นสัตว์สงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535[3]

รูปภาพ แก้

ปลาการ์ตูนและสัตว์ทะเลต่าง ๆ กับเห็ดหลุบ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Fautin, Daphne G.; Allen, Gerald R. (1997). Field Guide to Anemone Fishes and Their Host Sea Anemones. Western Australian Museum. ISBN 9780730983651. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2015.
  2. Mariya, Wonder (October 14, 2015). "มาริยา พากินแกงคั่วเห็ดหลุบ". ยูทูบ. สืบค้นเมื่อ July 30, 2016.
  3. "จนท.ระยอง รวบพ่อค้ารับซื้อดอกไม้ทะเลผิด กม". ผู้จัดการออนไลน์. May 7, 2015. สืบค้นเมื่อ July 30, 2016.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้