เหรียญกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก
เหรียญการทัพออสเตรเลีย
เหรียญกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก หรือ เหรียญอินเตอร์เฟต (อังกฤษ: International Force East Timor (INTERFET) Medal) เป็นเหรียญสำหรับยกย่องสมาชิกของกองทัพออสเตรเลียที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 30 วัน (หรือ 30 เที่ยวบิน) ในติมอร์ตะวันออกระหว่างการทัพกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก (16 กันยายน พ.ศ. 2542 – 10 เมษายน พ.ศ. 2543) พื้นที่ที่เข้าเกณฑ์ประกอบด้วยติมอร์ตะวันออกและทะเลที่อยู่ติดกับติมอร์ตะวันออกออกไปในระยะทาง 12 ไมล์ทะเล (22 กิโลเมตร) จากเครื่องหมายระดับต่ำสุดของน้ำ[2]
เหรียญกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก | |
---|---|
แพรแถบย่อ | |
รูปแบบ | เหรียญการทัพ |
รางวัลสำหรับ | ผู้ปฏิบัติงาน |
คำอธิบาย | เหรียญเงินนิเกิลทรงกลม |
จัดโดย | ออสเตรเลีย |
คุณสมบัติ | ผู้มีส่วนร่วมในการส่งกำลังปฏิบัติการอินเตอร์เฟตในติมอร์ตะวันออก |
ก่อตั้ง | 25 มีนาคม 2543 |
ทั้งหมด | ชาวออสเตรเลีย 8,696 เหรียญ ชาวต่างชาติ 6,356 เหรียญ[1] |
ลำดับการสวมใส่ | |
ถัดไป (สูงกว่า) | เหรียญประจำการรบออสเตรเลีย |
ถัดไป (ต่ำกว่า) | เหรียญอัฟกานิสถาน |
เกี่ยวข้อง | เหรียญประจำการรบออสเตรเลีย |
บุคลากรของกองทัพออสเตรเลียยังได้รับการยกย่องจากเข็มกลัด 'ติมอร์ตะวันออก' ประดับบนแพรแถบเหรียญประจำการรบออสเตรเลีย (Australian Active Service Medal) นอกจากนี้ออสเตรเลียยังได้มอบเหรียญนี้ให้กับอีก 16 ประเทศที่เข้าร่วมในปฏิบัติการของกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก
คำอธิบาย
แก้- เหรียญเงินนิกเกิลถูกสวมทับด้วยชิ้นส่วนเชื่อมต่อซึ่งมีดาวสหพันธ์อยู่ด้านบน
- ด้านหน้าเป็นรูปนกพิราบถือกิ่งมะกอก เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ โครงร่างนี้นูนขึ้นด้วยสีเงินสีขาวขัดเงา และซ้อนทับบนแผนที่พื้นผิวและดินแดนของติมอร์ตะวันออก และมีข้อความจารึกไว้ในด้านบนของขอบเหรียญว่า INTERNATIONAL FORCE EAST TIMOR
- ด้านหลังเหรียญมีข้อความว่า TOGETHER AS ONE FOR PEACE IN EAST TIMOR
- แพรแถบมีความกว้าง 32 มิลลิเมตร มีแถบสีแดงตรงกลาง ขนาบข้างด้วยแถบสีเขียว สีขาว และสีฟ้าอ่อน แถบสีขาว เขียว และน้ำเงินเป็นตัวแทนของกองทัพเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศ โดยมีสองแถบสีขาวแทนสันติภาพ สีน้ำเงินแทนทะเลรอบติมอร์ตะวันออก และสีเขียวแทนการเจริญรุ่งเรืองของประเทศใหม่ แถบสีแดงตรงกลางสื่อถึงอดีตอันปั่นป่วนของติมอร์ตะวันออก
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Medal Yearbook 2013. Honiton, Devon: Token. 2013. p. 390. ISBN 978-1-908-828-00-2.
- ↑ "S187" (PDF). Gazette Special. Commonwealth of Australia. 2009-11-13. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- It's an Honour เก็บถาวร 5 มีนาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ADF Honours and Awards
- NZDF Medals page เก็บถาวร 2007-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Regulations for award of medal เก็บถาวร 2007-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน