เหตุเขื่อนแตกที่ลาว พ.ศ. 2561

เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้อย มีมูลค่าโครงการ 3.24 หมื่นล้านบาท มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 410 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาประเทศ ให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย คือการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศใกล้เคียง ภายใต้การก่อสร้างในแขวงจำปาศักดิ์ ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศลาว ชื่อเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ได้เกิดแตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เนื่องด้วยสันเขื่อนปิดช่องเขาต่ำ โดยก่อสร้างสันเขาเพื่อเชื่อมระหว่างภูเขากับภูเขาให้ได้ปริมาณน้ำมากขึ้น การออกแบบเขื่อน ซึ่งไม่สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่เลวร้ายและอุบัติภัยได้ อย่างกรณีที่เกิดฝนตกหนักมากๆ ปัจจุบันความผันผวนด้านสภาพอากาศที่ยากต่อการพยากรณ์และรุนแรง เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในลาวและในภูมิภาคนี้ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ นำไปสู่ผลกระทบโดยกว้าง และประชากรท้องถิ่นในแขวงอัตตะปือที่อยู่ใกล้เคียงไม่มีที่อยู่อาศัย ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม มีการยืนยันยอดผู้เสียชีวิต 27 ราย, สูญหายอย่างน้อย 130 ราย และ 6,600 คนต้องพลัดถิ่น

เหตุเขื่อนแตกที่ลาว พ.ศ. 2561
วันที่23 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 (2018-07-23)
เวลาประมาณ 08:00 น. ไอซีที
ที่ตั้งแขวงอัตตะปือและแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
พิกัด15°01′36″N 106°36′6″E / 15.02667°N 106.60167°E / 15.02667; 106.60167
ประเภทเขื่อนแตก
เสียชีวิต71 คน[1]
สูญหาย98–1,100 คน[2][3]

การซื้อขายไฟฟ้าไทยกับลาว แก้

โดยเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2556 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับ บริษัท ไฟฟ้า เซเปี่ยน-เซน้ำน้อย โดย กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าประมาณ 354 เมกะวัตต์ ที่จุดส่งมอบไฟฟ้าชายแดนไทย-ลาว คิดเป็นพลังงานไฟฟ้า 1,575 ล้านหน่วยต่อปี อายุสัญญา 27 ปี มีจุดเชื่อมโยงระบบส่ง 500 เควี ฝั่งลาวที่สถานีไฟฟ้าปากเซ และฝั่งไทยที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 โครงการฯ กำหนดเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้ กฟผ. ในปีหน้า 2562[4]

บริษัทที่ร่วมลงทุน แก้

  • บริษัท Sk engineering and construction จำกัด  ถือหุ้น 26 %
  • บริษัท korea western power จำกัด ถือหุ้น  25 %
  • บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) ถือหุ้น 25 %
  • บริษัท Lao holding state Enterprise ถือหุ้น 24 %[5]

ผลกระทบ แก้

ภายในไม่กี่วันของภัยพิบัติ ผู้รอดชีวิตกำลังตั้งคำถามว่าเหตุใดพวกเขาจึงได้รับคำเตือนเล็กน้อยก่อนที่มันจะเกิดขึ้น "กับบางส่วนของพลัดถิ่นว่าพวกเขาได้รับคำเตือนให้อพยพบ้านเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่ภัยพิบัติจะเกิด"[6] หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ ตั้งข้อสังเกตว่า "มันก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะเสียหายร้ายแรงต่อแผนโดยรวม"สำหรับความปรารถนาต่อกระแสไฟฟ้าที่ใช้กำลังน้ำของประเทศลาว ในขณะเดียวกัน หุ้นในบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอสเค อีแอนด์ซี (SK E&C) ร่วงทันทีหลังจากเกิดภัยพิบัติ[7]

ผลกระทบทางเศรฐกิจ แก้

ประกันส่งทีมลงสำรวจพื้นที่ แก้

ขณะที่นางสาวนิตยา พิริยะธรรมวงศ์ ประธานกรรมการบริหารของบริษัท บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในส่วนของบริษัทได้เข้าไปรับประกันภัยเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ที่ สปป.ลาว โดยเป็นการรับประกันภัยต่อมาจาก บมจ.อลิอันซ์ ประกันภัย ลาว (Allianz General Laos) ในสัดส่วน 17.5% บนกรมธรรม์ประกันการก่อสร้าง (contractors all risks) รวมทั้งการประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ซึ่งขณะนี้บริษัทได้แต่งตั้ง surveyor loss ad-juster เพื่อเข้าไปทำการสำรวจตรวจสอบความเสียหายในพื้นที่ โดยเบื้องต้นที่ยังไม่มีข้อมูลจากผู้สำรวจภัย แต่จากที่ประเมินความเสียหายในส่วนของชับบ์สามัคคีประกันภัย ที่รับประกันภัยต่อมา คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 180 ล้านบาท[8]

รายงานข่าวระบุสำหรับบริษัทประกันในประเทศไทยที่ได้รับประกันภัยต่อจาก บมจ.อลิอันซ์ ประกันภัย ลาว มี 2 บริษัทคือ บมจ.ชับบ์สามัคคีประกันภัย และบริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แก้

น้ำเขื่อนแตกทำให้กับระเบิดย้ายที่ แก้

นายบลอสซัม กิลมอร์ ผู้อำนวยการกลุ่มให้คำปรึกษาด้านกับระเบิดหรือเอ็มเอจี มูลนิธิของอังกฤษในสปป.ลาว ออกแถลงแสดงความกังวลต่อเหตุเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย แตกเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกลว้าง ว่าอาจทำให้กับระเบิดที่ไม่ทำงานจำนวนมากที่ตกค้างมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนามเคลื่อนย้ายตำแหน่ง จากสถานการณ์พบว่า สิ่งที่อันตรายคือชาวบ้านไร้ที่อยู่อาศัยหลายพันคนเข้าไปตั้งค่ายหลบภัยในพื้นที่ไม่ปลอดภัยด้านกับระเบิด โดยเฉพาะเขตสะหนามไซ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับยืนยันว่าอันตราย ขณะที่แขวงอัตตะปือเป็นพื้นที่ปนเปื้อนไปด้วยวัตถุระเบิดจำนวนมาก ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ากรณีน้ำท่วมครั้งนี้อาจทำให้พื้นที่ที่เคลียร์กับระเบิดไปแล้วต้องมีการตรวจสอบใหม่[9]

นโยบายหลังเขื่อนแตก แก้

ภายหลังเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตก รัฐบาลลาวได้มีมติ ค.ร.ม. เพื่อระงับการสร้างเขื่อนใหม่ซึ่งมีแผนว่าจะสร้างกว่า 50 แห่งลงชั่วคราวเพื่อสอบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้[10]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งที่มา แก้