เหตุยิงนิโคลัส กรีน

นิโคลัส กรีน (Nicholas Green; 9 กันยายน 1987 - 1 ตุลาคม 1994) เป็นเด็กชายชาวอังกฤษ-อเมริกันที่ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างความพยายามโจรกรรมรถยนต์ขณะกรีนเดินทางไปท่องเที่ยวกับครอบครัวในอิตาลีตอนใต้ คนร้ายเข้าใจผิดรถครอบครัวกรีนว่าเป็นรถของช่างทำเพชร หลังกรีนเสียชีวิต พ่อแม่เขาได้ตัดสินใจบริจาคอวัยวะของเขา โดยมีผู้ป่วยรวมห้ารายที่ได้รับปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญและสองรายได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา[1] เหตุการณ์นี้ได้รับการยกย่องว่านำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการบริจาคอวัยวะในประเทศอิตาลี[2]

นิโคลัส กรีน
อนุสรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงนิโคลัส กรีน
เกิด9 กันยายน ค.ศ. 1987(1987-09-09)
ซานฟรานซิสโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
เสียชีวิต1 ตุลาคม ค.ศ. 1994(1994-10-01) (7 ปี)
เมสซีนา, ประเทศอิตาลี

การเสียชีวิต แก้

นิโคลัส กรีน, เอเลียเนอร์ กรีน น้อง/พี่สาว และพ่อแม่ของเขา มาร์กาเร็ตและเรจินาลด์ ได้เดินทางไปท่องเที่ยวในแคว้นกาลาเบรีย ทางตอนใต้ของอิตาลี ในคืนวันที่ 29 กันยายน 1994 ขณะกำลังขับขี่รถบนทางด่วนเอสาม ระหว่างซาแลร์โนกับเรจโจกาลาเบรีย[1][3] พวกเขาได้จอดรถพักระหว่างทางที่ออโตกริลล์แห่งหนึ่ง ที่ซึ่งชายสองคนเริ่มติดตามรถของพวกเขา โดยเชื่อว่าพวกเขาเป็นช่างทำเพชร ชายทั้งสองได้เรียกให้รถของกรีนจอดระหว่างทางก่อนจะตะโกนใส่พวกเขาด้วยภาษาอิตาลี ที่ซึ่งครอบครัวกรีนไม่สามารถเข้าใจได้ เรจินาลด์ กรีนจึงเร่งเครื่องออกไป ในขณะที่ชายสองคนเริ่มยิงปืนเข้าที่ท้ายรถ เรจินาบด์ได้เร่งเครื่องรถอีกครั้งและก็ถูกยิงเข้าที่หลังรถอีกครั้ง ภายหลังชายที่ติดตามทั้งสองได้ยอมแพ้และหลบหนีไป เรจินาลด์ได้หยุดรถ ที่ซึ่งเขาและมาร์กาเร็ตพบว่านิโคลัสถูกยิงเข้าที่ศีรษะ[3] พวกเขารีบขับรถตรงเข้าไปยังเมืองที่ใกล้ที่สุด แต่โรงพยาบาลที่นั่นไม่มีอุปกรณ์ที่จะสามารถช่วยชีวิตนิโคลัสได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำส่งครอบครัวกรีนไปยังวิลลาซานโจฟานนี ที่ซึ่งพวกเขาถูกขนส่งทางเรือข้ามช่องแคบเมสซีนา ไปยังท่าเรือของเมืองเมสซีนา จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำส่งพวกเขาให้กับผู้เขี่ยวชาญด้านการบาดเจ็บทางศีรษะในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ที่ซึ่งนิโคลัสเสียชีวิตในวันถัดมา[4]

ภายหลังเหตุการณ์ แก้

ครอบครัว แก้

ในเดือนพฤษภาคม 1996 ครอบครัวกรีนได้มีลูกแฝดใหม่คือเด็กหญิงลอรา และเด็กชายมาร์ติน นับตั้งแต่การสูญเสียนิโคลัส ครอบครัวกรีนได้ให้การสนับสนุนอย่างแรงกล้าในการบริจาคอวัยวะ พวกเขาได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อส่งต่อแนวคิดการบริจาคอวัยวะและเรื่องราวของพวกเขา

ในประเทศอิตาลี แก้

ภายหลังการตัดสินใจบริจาคอวัยวะ พ่อแม่ของนิโคลัสได้รับการต้อนรับโดยประธานาธิบดีอิตาลีในขณะนั้น ออสการ์ ลุยจิ สกาลแฟโร และได้มอบรางวัลเชิดชูเกียรติระดับสูงสุดของพลเมือง "Medaglia d'Oro al Merito Civile" แก่พวกเขา ภายหลังการเสียชีวิตของนิโคลัส การบริจาคอวัยวะได้เพิ่มตัวขึ้นสูงมากในประเทศอิตาลี ที่ซึ่งในอดีตเคยเป็นหนึ่งประเทศที่มีอัตราการบริจาคอวัยวะต่ำที่สุดในยุโรป ข้อมูลจากปี 2017 ระบุว่าอัตราการบริจาคอวัยวะได้เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่านับตั้งแต่เหตุการณ์นี้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงโรงเรียนประถมมากมายที่ได้ตั้งชื่อตามนิโคลัสด้วย

การดำเนินคดี แก้

ชายทั้งสองถูกจับกุมในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1994 ชายทั้งสองเป็นคนของมาเฟียชื่อ Francesco Mesiano และ Michele Iannello[5] พวกเขาถูกตัดสินคดีที่คาตานซาโร โดยศาลที่ประกอบด้วยผู้พิพากษาสามคน และในวันที่ 17 มกราคม 1997 ศาลได้ตัดสินว่าจำเลยไม่มีความผิด เรจินาลด์ไม่สามารถระบุตัวคนร้ายได้เนื่องจากทั้งคู่สวมหน้ากาก รวมถึงเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะภายนอกนั้นเริ่มมืดค่ำแล้ว[6][7] อย่างไรก็ตามในปีถัดมา ด้วยไม่มีหลักฐานใหม่ก็ตาม ศาลอุทรณ์ได้ตัดสินให้ Iannello จำคุกตลอดชีวิต และ Mesiano จำคุก 20 ปี[8] ศาลสูงสุดอิตาลีสนับสนุนมตินี้ในปี 1999[7]

การบริจาคร่างกาย แก้

ภายหลังการเชียชีวิตของนิโคลัส อัตราการบริจาคร่างกายได้เพิ่มขึ้นสูงมากในประเทศอิตาลี ที่ซึ่งในอดีตเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการบริจาคอวัยวะต่ำที่สุดในทวีปยุโรป[2] ข้อมูลจากปี 2017 ระบุว่าอัตราการบริจาคอวัยวะในประเทศอิตาลีเพิ่มสูงขึ้นถึงสามเท่าภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ชื่อของนิโคลัสได้เป็นที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะในอิตาลีมานับแต่นั้น และเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้บริจาคอวัยวะที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลก ผลจากการตัดสินใจของครอบครัวกรีนได้ถูกเรียกขานว่าเป็น "ปรากฏการณ์นิโคลัส" (l'Effetto Nicholas) อันไว้ใช้เรียกไม่เพียงแต่การบริจาคอวัยวะ แต่ยังรวมถึงทุกสิ่งที่เป็นเรื่องดีอันเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Cowell, Alan (October 4, 1994). "Italy Moved by Boy's Killing And the Grace of His Parents". The New York Times. p. A1. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  2. 2.0 2.1 Parsons, Sandra; Singleton, Ronald (February 6, 1995). "Gathering Of The 'Family' Who Share Boy's Legacy Of Life". Daily Mail. London. p. 21.
  3. 3.0 3.1 Cowell, Alan (October 23, 1994). "A Child's Killing Puts Focus on Italy's Roads". The New York Times. p. 53. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  4. Sparrow, Andrew (October 1, 1994). "Gangsters Shoot British Boy In Car". Daily Mail. London. p. 5.
  5. Cowell, Alan (November 2, 1994). "Italy Detains 2 in Highway Killing of U.S. Boy, 7". The New York Times. p. A5. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  6. 6.0 6.1 Tagliabue, John (January 17, 1997). "Italy Acquits 2 in Killing of U.S. Boy Whose Organs Were Donated". The New York Times. p. A4. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  7. 7.0 7.1 Callahan, Mary (April 17, 1999). "Convictions Upheld In Nicholas Green Case". The Press Democrat. Santa Rosa, CA, USA. p. B2.
  8. Salter, Stephanie; Hatfield, Larry D.; Staff, Of the Examiner (June 5, 1998). "Boy's Italian killers sentenced to long terms". SFGate.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้