เวียงปรึกษา(เวียงเปิกสา) หรือ เวียงเชียงแสนน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านสบคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เวียงปรึกษา

สถานะข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์
การปกครองประชาธิปไตย
ก่อนหน้า
ถัดไป
โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น
เงินยาง

ประวัติ

แก้

ภายหลังจากการล่มสลายของเวียงโยนกไชยบุรีศรีช้างแส่น และสิ้นราชวงศ์สิงหนติแล้ว ขุนพันนาและนายบ้านกลุ่มชนที่เหลือรอดได้อพยพมาสร้างเมืองใหม่ นำโดยขุนลัง ริมฝั่งแม่น้ำโขงฝั่งตะตก และอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองโยนกนครฯ เรียกว่าเวียงเปิกสา (เวียงปรึกษา) หรือเวียงเชียงแสนน้อย โดยผู้ที่ครองเวียงเปิกสานั้น จะต้องได้รับการเปิกสา(ปรึกษา) คัดเลือกจากประชาชนในเมืองทั้งหมด คล้ายกับแนวทางของระบอบประชาธิปไตย เรียกว่า ไพร่แต่งเมือง รวมเป็นขุนผู้ครองเวียงเปิกสา 16 คน แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีในเวียงเปิกสา(ปรึกษา) มีความเก่าถึงแค่ยุคล้านนาเท่านั้น ไม่ได้มีอายุเท่าตามที่ตำนานอ้าง

ในขณะที่ตั้งเวียงปรึกษานั้น เวลาเดียวกัน ได้เกิดกลุ่มอำนาจใหม่บริเวณที่ราบดอยตุง โดยลาวจังกราช ปฐมกษัตริย์หิรัญนครเงินยางเชียงลาว ได้รวบรวมผู้คนตั้งเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงลาวและสถาปนาราชวงศ์ลาวขึ้น ซึ่งจะเป็นสายสกุลของพญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา [1] [2] [3]

รายนามขุนพันนาเวียงเปิกสา(ปรึกษา)

แก้

ยุคไพร่แต่งเมือง

แก้
  1. ขุนลัง
  2. ขุนช้าง
  3. ขุนลาน
  4. ขุนถาน
  5. ขุนตาม
  6. ขุนตง
  7. ขุนติม
  8. ขุนแตง
  9. ขุนจัน
  10. ขุนคง
  11. ขุนจอม
  12. ขุนชง
  13. ขุนซีก
  14. ขุนอิทธิ
  15. ขุนพัทธะ
  16. ขุนสุข

(หมายเหตุ รายชื่อขุนพันนาเวียงเปิกสา(ปรึกษา) อ้างอิงจากตำนานสิงหนติโยนก ฉบับวัดลำเปิง จ.เชียงราย เป็นหลัก)

อ้างอิง

แก้
  1. . ใบลานตำนานโยนกนครเชียงแสน ฉบับวัดเชียงมั่น เชียงใหม่.
  2. . ใบลานตำนานสิงหนติโยนก ฉบับวัดลำเปิง เชียงราย.
  3. อภิชิต ศิริชัย. วิเคราะห์ตำนานจากเอกสารพื้นถิ่น ว่าด้วย โยนกนคร เวียงสี่ตวง เวียงพานคำ เมืองเงินยาง และ ประวัติวัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงราย:ล้อล้านนา, 2560.