เวิร์ดเดิล (อังกฤษ: Wordle) เป็นเกมทายศัพท์บนเว็บเบราเซอร์ที่คิดค้นโดยจอช วอร์เดิล ผู้เล่นมีโอกาส 6 ครั้งในการทายคำศัพท์ 5 ตัวอักษรโดยในแต่ละครั้งผู้เล่นจะได้รับคำใบ้เป็นสีต่าง ๆ ซึ่งจะบอกว่ามีตัวอักษรหรืออยู่ในตำแหน่งถูกต้องหรือไม่ เวิร์ดเดิล เป็นเกมที่เล่นได้วันละครั้ง โดยผู้เล่นทั้งหมดจะทายศัพท์คำเดียวกัน เกมนี้มีลักษณะคล้ายเกมจอตโตและรายการเกมโชว์อเมริกันลิงโกอย่างมาก[1][2][3][4]

เวิร์ดเดิล
โลโก้เกมอย่างเป็นทางการใน เดอะนิวยอร์กไทมส์
ผู้พัฒนาจอช วอร์เดิล
ผู้จัดจำหน่ายจอช วอร์เดิล (ค.ศ. 2021–2022)
บริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2022)
เครื่องเล่นเว็บเบราเซอร์
วางจำหน่ายตุลาคม ค.ศ. 2021
แนวเกมคำ

เดิมวอร์เดิลสร้างเกมนี้เพื่อตนเองและคนรักของเขา ก่อนจะออกสู่สาธารณะในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 เกมได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในเดือนต่อมาหลังวอร์เดิลพัฒนาให้ผู้เล่นสามารถแบ่งปันคำตอบในรูปเอโมจิสี่เหลี่ยม ซึ่งมีการแบ่งปันอย่างแพร่หลายบนทวิตเตอร์ บริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซื้อ เวิร์ดเดิล ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 และย้ายมาอยู่ในเว็บไซต์บริษัทในเดือนกุมภาพันธ์

ระบบเกม แก้

 
เกมที่ #196 ซึ่งสำเร็จในการทายครั้งที่ 4

เวิร์ดเดิล เป็นเกมที่ผู้เล่นมีโอกาสทายศัพท์ที่มี 5 ตัวอักษรเป็นเวลา 6 ครั้ง[5] ในแต่ละครั้งผู้เล่นจะได้รับคำใบ้เป็นสีเขียว เหลืองและเทา สีเขียวหมายถึงผู้เล่นทายตัวอักษรและตำแหน่งถูกต้อง สีเหลืองหมายถึงมีตัวอักษรในคำตอบแต่ไม่ถูกตำแหน่ง ส่วนสีเทาหมายถึงไม่มีตัวอักษรนั้นในคำตอบ[6] รูปแบบนี้รวมไปถึงในกรณีคำตอบมีตัวอักษรซ้ำ เช่น ตัวอักษร "o" สองตัวใน "robot" หาก "o" อยู่ในตำแหน่งถูกต้องสองตำแหน่งจะเป็นสีเขียว หากผิดตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งจะเป็นสีเหลือง หากไม่มีจะเป็นสีเทา[7]

ผู้เล่นสามารถเลือกเปิด "hard mode" ซึ่งจะบังคับให้ทายครั้งต่อไปโดยต้องมีตัวอักษรสีเขียวและสีเหลืองด้วย[8] นอกจากนี้สามารถปรับเป็นธีมสีเข้มและความคมชัดสูงสำหรับผู้ที่ตาบอดสี ซึ่งจะเปลี่ยนสีเขียวและเหลืองเป็นสีส้มและฟ้า[8][9]

เวิร์ดเดิล ใช้ศัพท์ที่สะกดแบบอเมริกัน ส่งผลให้ผู้เล่นบางส่วนวิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ให้ผู้เล่นชาวอเมริกัน ดั่งในกรณีคำตอบ "favor"[10][11][12]

ที่มา แก้

 
เมื่อคัดลอกเกมที่ #196 (ภาพด้านบน) แล้วแบ่งปัน เกมจะกลายเป็นตารางเอโมจิสี่เหลี่ยม

เดิมจอช วอร์เดิลสร้างเกมนี้เพื่อตนเองและปาลัก ชาห์ คนรักของเขา ต่อมาเกมนี้ออกสู่สาธารณะกลางเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 ในชื่อ เวิร์ดเดิล โดยเล่นคำกับนามสกุลเขา[13] วอร์เดิลกล่าวว่าเขาสร้างเกมนี้เพื่อความสนุก และไม่คิดหารายได้หรือต้องการข้อมูลส่วนตัวของผู้เล่นจากเกมนี้[14][15]

เวิร์ดเดิล กลายเป็นปรากฏการณ์ไวรอลช่วงปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 หลังวอร์เดิลเพิ่มความสามารถในการแบ่งปัน ซึ่งอนุญาตให้ผู้เล่นสามารถคัดลอกคำตอบในรูปเอโมจิสี่เหลี่ยมที่มีสีตามเกมที่เล่น[16][6][17]

วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2022 บริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์เข้าซื้อ เวิร์ดเดิล ในราคาที่ไม่เปิดเผยโดยมีแผนจะเพิ่มเกมนี้เข้าในแอปพลิเคชันมือถือของตนร่วมกับเกมอื่น ๆ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ประกาศว่าเกมจะยังคงเหมือนเดิมและเล่นฟรีต่อไป[18][19][20] วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เกมถูกย้ายเข้าสู่เว็บไซต์ เดอะนิวยอร์กไทมส์

อ้างอิง แก้

  1. Brocklehurst, Harrison (January 4, 2022). "What the hell is Wordle, and why is Twitter full of people tweeting coloured squares?". The Tab. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2022. สืบค้นเมื่อ January 5, 2022.
  2. Jackson, Gita (January 5, 2022). "Why Is Everyone Tweeting Their 'Wordle' Scores?". Vice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2022. สืบค้นเมื่อ January 5, 2022.
  3. Van Stam, Tom (January 5, 2022). "Woordspel Wordle is binnen een mum van tijd een van de populairste games ter wereld" [In no time, word game Wordle has become one of the most popular games in the world]. IGN Benelux (ภาษาดัตช์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2022. สืบค้นเมื่อ January 5, 2022.
  4. Orland, Kyle (January 12, 2022). "Wordle and IP law: What happens when a hot game gets cloned". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2022. สืบค้นเมื่อ January 12, 2022.
  5. Astle, David (December 31, 2021). "Tips from an expert: How to solve everyone's favourite game Wordle". Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2021. สืบค้นเมื่อ December 31, 2021.
  6. 6.0 6.1 Tech Desk (December 21, 2021). "Wordle: All about the viral game Twitter is going bonkers over". The Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2022. สืบค้นเมื่อ December 31, 2021.
  7. "Wordle Same Letter Twice Rules Explained: How Does it Work?". Nerds Chalk. January 20, 2022. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
  8. 8.0 8.1 Lyons, Kim (January 20, 2022). "How to play Wordle". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2022. สืบค้นเมื่อ January 20, 2022.
  9. Pisani, Joseph (January 19, 2022). "What Is Wordle? How to Play the Viral Word Game and Tricks to Impress Your Friends". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2022. สืบค้นเมื่อ January 20, 2022.
  10. Hassan, Jennifer (January 13, 2022). "Wordle sparks transatlantic rift as Brits denounce American English spelling of 'favor'". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-13. สืบค้นเมื่อ January 13, 2022.
  11. Blackburn, Jack (January 12, 2022). "Wordle puzzle provokes war of words with American spelling". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ January 13, 2022.
  12. Hampson, Laura (2022-01-12). "Twitter reacts to realising Wordle uses American spelling". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2022. สืบค้นเมื่อ February 2, 2022.
  13. Victor, Daniel (January 3, 2022). "Wordle Is a Love Story". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2022. สืบค้นเมื่อ January 5, 2022.
  14. "Wordle: why the inventor of the fiendishly addictive online game doesn't want your money". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). January 4, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2022. สืบค้นเมื่อ January 5, 2022.
  15. Wakefield, Jane (January 5, 2022). "Wordle creator promises viral game will stay simple and ad-free". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2022. สืบค้นเมื่อ January 5, 2022.
  16. Lum, Patrick (December 23, 2021). "What is Wordle? The new viral word game delighting the internet". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2021. สืบค้นเมื่อ January 1, 2022.
  17. Price, Renata (December 30, 2021). "Wordle Is That Square Grid Game You've Been Seeing All Over Social Media". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2021. สืบค้นเมื่อ December 31, 2021.
  18. Benveniste, Alexis (2022-01-31). "The Sudden Rise of Wordle". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.
  19. Tracy, Marc (31 January 2022). "The New York Times Buys Wordle". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2022. สืบค้นเมื่อ 31 January 2022.
  20. Korn, Jennifer (January 31, 2022). "The New York Times buys popular word game Wordle". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2022. สืบค้นเมื่อ February 1, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้