เลมีเซราบล์ (ฝรั่งเศส: Les Misérables; "เหล่าผู้น่าสังเวช") เป็นนวนิยายภาษาฝรั่งเศสแนวประวัติศาสตร์ ผู้ประพันธ์ คือ วิกตอร์ อูว์โก เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1862 และถือเป็นหนึ่งในนวนิยายอันยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19

เลมีเซราบล์
ภาพวาดฌ็อง วัลฌ็อง ตัวละครตัวหนึ่ง ฝีมือกุสตัฟ บรียง ค.ศ. 1862
ผู้ประพันธ์วิกตอร์ อูว์โก
ผู้วาดภาพประกอบเอมีล บายาร์
ประเทศเบลเยียม
ภาษาฝรั่งเศส
ประเภทนวนิยายมหากาพย์ บันเทิงคดีแนวประวัติศาสตร์ โศกนาฏกรรม[1][2]
สำนักพิมพ์อัลแบร์ ลาครัว
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1862
หน้า1,462 หน้า[3]

เนื้อหาเริ่มใน ค.ศ. 1815 และถึงจุดสุกงอมในเหตุการณ์กบฏมิถุนายนเมื่อ ค.ศ. 1832 ที่ปารีส โดยว่าด้วยชีวิตและปฏิสัมพันธ์ของตัวละครหลายตัว โดยเฉพาะความดิ้นรนเอาชีวิตรอดของฌ็อง วัลฌ็อง กับการที่คนผู้นี้ได้รับการไถ่บาป[4]

เนื้อหาของนวนิยายเป็นการตั้งคำถามต่อสภาพของกฎหมายและความผ่อนปรน โดยพรรณนาถึงประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมืองในปารีส จริยปรัชญา การต่อต้านระบอบกษัตริย์ ความยุติธรรม ศาสนา รวมถึงชนิดและสภาพของความรักแบบชู้สาวกับแบบครอบครัว นวนิยายเรื่องนี้ยังมีชื่อเสียงผ่านการดัดแปลงหลายต่อหลายครั้งเป็นภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ละครเวที อันรวมถึงละครเพลง

จูเลียต (นามปากกาของชนิด สายประดิษฐ์) แปลเพียง 2 ภาคแรกเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อว่า เหยื่ออธรรม พิมพ์ครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏ[5] ต่อมา วิภาดา กิตติโกวิท แปลทุกภาคเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อว่า เหยื่ออธรรม เช่นกัน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2553[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Carter, Alice (24 December 2012). "Victor Hugo's 150-year-old tragedy continues to excite on stage and film". Triblive. สืบค้นเมื่อ 29 June 2020.
  2. Matt, Rawle (17 December 2019). The Grace of Les Miserables Youth Study Book. ISBN 9781501887222.
  3. Victor Hugo. "Les misérables, Tome I". สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
  4. "BBC News – Bon anniversaire! 25 facts about Les Mis". BBC Online. 1 October 2010. สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
  5. วิทยากร โสวัตร (2564-09-26). "'เหยื่ออธรรม' อมตะนิยาย และความภูมิใจของคนขายหนังสือ". The Momentum. กรุงเทพฯ: day poets. สืบค้นเมื่อ 2565-11-26. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (2565). "เหยื่ออธรรม ฉบับสมบูรณ์". ฐานข้อมูลศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 2565-11-26. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ Les Misérables
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Les Misérables