เลนส์ตาปลา (fisheye lens) หมายถึง เลนส์ถ่ายภาพชนิดหนึ่งที่ใช้ในกล้องถ่ายภาพ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้วิธีการฉายภาพนอกเหนือจากวิธีการฉายภาพส่วนกลาง

ภาพที่ได้จากเลนส์ตาปลาวงกลม
ภาพที่ได้จากเลนส์ตาปลาแนวทแยง

เลนส์ตาปลาใช้เพื่อจับภาพช่วงกว้างยิ่งกว่าเลนส์มุมกว้าง ในขณะที่เลนส์ถ่ายภาพทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดวัตถุที่มีการบิดเบี้ยวน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เลนส์ตาปลาจะบิดเบี้ยวและถ่ายทอดภาพได้หลากหลาย ดังนั้น เส้นตรงส่วนใหญ่ในภาพที่ถูกถ่ายจึงถูกถ่ายออกมากลายเป็นเส้นโค้ง

ที่มาของชื่อ ตาปลา นั้นมาจากการที่เมื่อมองขึ้นไปจากใต้ผิวน้ำซึ่งเป็นมุมมองของปลา ทิวทัศน์เหนือน้ำจะมีลักษณะเป็นวงกลมเนื่องจากดรรชนีหักเหของน้ำ

วิธีการฉายภาพ

แก้

เลนส์ตาปลาส่วนใหญ่ใช้การฉายภาพระยะเท่ากัน (equidistance projection) ซึ่งระยะทางจากศูนย์กลางของจอภาพจะแปรผันตามมุม สามารถใช้สำหรับการวัดตำแหน่งท้องฟ้า[1] และการวัดส่วนเมฆบัง[1]

ซิกมา คอร์ปอเรชัน ใช้วิธีการฉายภาพมุมตันเท่ากัน (equisolid angle projection) ซึ่งพื้นที่บนภาพเป็นสัดส่วนกับมุมตัน การวัดพื้นที่บนหน้าจอภาพทำให้ได้อัตราส่วนของวัตถุต่อขอบเขตการมองเห็น

ในกรณีพิเศษ OP Fisheye Nikkor 10mmF5.6[2] (เปิดตัวในปี 1968) ของนิคอนนำวิธีการ ภาพฉายเชิงตั้งฉากกราฟิก (orthographic projection) เนื่องจากวัตถุที่มี ความส่องสว่าง เท่ากันสามารถจับภาพได้ด้วยความเข้มข้นสม่ำเสมอ[1] จึงสามารถใช้สำหรับการวิจัยแสงอาทิตย์[1] และการวัดการกระจายความสว่างของท้องฟ้า[1] วัตถุที่อยู่ตรงกลางหน้าจอจะมีขนาดใหญ่ในกว่าการฉายภาพระยะเท่ากัน[2]

ตาปลาแบบวงกลมและตาปลาแนวทแยง

แก้
 
เลนส์ตาปลาแนวทแยง

เลนส์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมภาพ เล็กกว่าเส้นทแยงมุมทั้งแนวนอนและแนวตั้งของหน้าจอเรียกว่า เลนส์ตาปลาเต็มวง หรือ เลนส์ตาปลาแบบวงกลม และภาพที่ได้จะเป็นวงกลม

เลนส์ตาปลาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางวงกลมภาพที่ใหญ่กว่าเส้นทแยงมุมของหน้าจอเรียกว่า เลนส์ตาปลาแนวทแยง และภาพที่ได้จะเป็นสี่เหลี่ยม[3] ซึ่งมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา และยังใช้สำหรับการถ่ายภาพทั่วไปเพื่อสร้างภาพที่แสดงออกอย่างเป็นเอกลักษณ์[3]

ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวของเลนส์ตาปลา 2 ชนิดนี้คือเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมภาพ ถ้านำมาตัดขอบก็จะได้ภาพที่เหมือนกัน

มุมรับภาพ

แก้

โดยทั่วไปแล้วเลนส์ตาปลามีขนาดมุมรับภาพอยู่ที่ 180 องศา แต่ก็อาจจะไม่เสมอไป เลนส์ตาปลาที่มีมุมรับภาพเกิน 180 องศา เช่น เลนส์ Fisheye Nikkor 6mmF5.6 และเลนส์ Ai Fisheye Nikkor 6mmF2.8S ที่มีมุมรับภาพ 220 องศาของนิคอนได้ได้เคยมีการวางจำหน่ายมาแล้ว

ในทางตรงข้าม Ai Fisheye Nikkor 16mmF3.5 ของนิคอนมีระยะการมองเห็น 170 องศา[3] และมีเลนส์สำหรับกล้องราคาไม่แพงและกล้องขนาดเล็กที่มีมุมกว้างไม่ถึง 180 องศา

นอกจากนี้ยังมีเลนส์ตาปลาที่มีกลไกการซูม อย่างเช่น F Fisheye Zoom, 17-28mmF3.5-4.5, DA Fisheye 10-17mmF3.5-4.5ED ของเพนแท็กซ์ หรืออย่าง AT-X107DX Fisheye 10-17mmF3.5-4.5 ของโทกินา

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 『ニコンの世界第6版』pp.250-255「ニッコールレンズ用語辞典」。
  2. 2.0 2.1 『ニコンの世界第6版』p.105。
  3. 3.0 3.1 3.2 『ニコンの世界第6版』p.29。