เมย์ฟลาวเวอร์ (อังกฤษ: Mayflower) เป็นเรือสัญชาติอังกฤษที่ขนส่งผู้ตั้งถิ่นฐานที่ปัจจุบันรู้จักในนามพิลกริม จากอังกฤษไปยังโลกใหม่ในปี ค.ศ. 1620 หลังล่องในทะเลนาน 10 สัปดาห์ เรือ เมย์ฟลาวเวอร์ ที่บรรทุกผู้โดยสาร 102 คนและลูกเรือประมาณ 30 คนมาถึงอเมริกา โดยทอดสมอใกล้ปลายเคปค้อดในแมสซาชูเซตส์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน (วันที่แบบเก่า 11 พฤศจิกายน) ค.ศ. 1620[1]: 66 

เรือ เมย์ฟลาวเวอร์ ในทะเล
ประวัติ
อังกฤษ
ชื่อเมย์ฟลาวเวอร์
เจ้าของคริสโตเฟอร์ โจนส์ (¼ ของเรือ)
Maiden voyageก่อน ค.ศ. 1609
หยุดให้บริการค.ศ. 1622–1624
ความเป็นไปคาดว่าถูกแยกส่วนที่เมืองรอเดอร์ไฮธ์ ประมาณ ค.ศ. 1624
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เรือเฟลาต์สำหรับบรรทุกแบบดัตช์
ขนาด (ตัน): 180 ตัน+
ความยาว: ประมาณ 80–90 ฟุต (24–27.5 เมตร) บนดาดฟ้าเรือ, 100–110 ฟุต (30–33.5 เมตร) ทั้งหมด
ดาดฟ้า: ประมาณ 4 ชั้น
ความจุ: ไม่ทราบ แต่บรรทุกประมาณ 135 คนไปยังอาณานิคมพลีมัธ

พิลกริมอยู่ร่วมสมัยกับพิวริตัน ซึ่งเป็นกลุ่มคริสตชนที่ต้องการปฏิรูปคริสตจักรแห่งอังกฤษ[2] แต่พิลกริมเลือกจะแยกตัวจากคริสตจักรแห่งอังกฤษเนื่องจากมีมุมมองทางศาสนาเป็นของตนเอง และเชื่อว่าการปฏิรูปคริสตจักรแห่งอังกฤษนั้นไม่เพียงพอ[3] ในปี ค.ศ. 1608 พิลกริมอพยพไปยังฮอลแลนด์ที่พวกเขาสามารถประกอบพิธีกรรมได้อย่างอิสระ ล่วงถึง ค.ศ. 1620 พิลกริมตั้งใจจะข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังอเมริกาที่พวกเขาถือเป็น "แผ่นดินแห่งพระสัญญาใหม่" ซึ่งต่อมาพวกเขาได้ก่อตั้งอาณานิคมพลีมัธขึ้น[4]: 44 

เดิมพิลกริมคาดหวังว่าพวกเขาจะไปถึงอเมริกาช่วงต้นเดือนตุลาคมด้วยเรือสองลำคือ สปีดเวล และ เมย์ฟลาวเวอร์ แต่ความล่าช้าและปัญหาต่าง ๆ ทำให้ เมย์ฟลาวเวอร์ เป็นเรือเพียงลำเดียวที่ใช้การได้[5] เมื่อมาถึงอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน พิลกริมเผชิญกับฤดูหนาวที่รุนแรงจนเหลือประชากรเพียงครึ่งเดียวที่รอดชีวิต[6] ปีต่อมาหลังได้รับความช่วยเหลือจากชาวพื้นเมือง พิลกริมฉลองการเก็บเกี่ยวของอาณานิคมเป็นครั้งแรก ซึ่งหลายศตวรรษต่อมาถูกประกาศเป็นวันขอบคุณพระเจ้าครั้งแรก[7]

ระหว่างเดินทาง พิลกริมได้ร่วมกันเขียนและลงนามในข้อตกลงร่วมกันเมย์ฟลาวเวอร์ อันเป็นความตกลงในการก่อตั้งรัฐบาลพื้นฐาน โดยสมาชิกมีส่วนด้านความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนิคมที่มีแผนจะจัดตั้งขึ้น[8] เวลาต่อมาเรือ เมย์ฟลาวเวอร์ กลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์สหรัฐ เนื่องจากเป็นหนึ่งในเรือลำแรก ๆ ที่นำพาชาวยุโรปมาตั้งอาณานิคมในอเมริกาและเป็นรากฐานสู่การก่อตั้งประเทศสหรัฐ[9]: 4–5  แต่เดิมมีแผนเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปีของการขึ้นฝั่งในประเทศสหรัฐ สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 2020 แต่ถูกระงับเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[10] การไปรษณีย์สหรัฐออกจำหน่ายตราไปรษณียากรเมย์ฟลาวเวอร์แบบใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2020[11]

อ้างอิง แก้

  1. Hills, Leon Clark (2009). History and Genealogy of the Mayflower Planters and First Comers to Ye Olde Colonie (ภาษาอังกฤษ). Genealogical Publishing Com. p. 66. ISBN 978-0-8063-0775-6.
  2. "The Puritans". HISTORY. October 29, 2009. สืบค้นเมื่อ May 26, 2021.
  3. Worrall, Simon (November 2006). "Pilgrims' Progress - History". Smithsonian Magazine. สืบค้นเมื่อ May 26, 2021.
  4. Fraser, Rebecca. The Mayflower, St. Martin's Press, N.Y. (2017)
  5. Bishop, Rev. E. W., "The Pilgrim Forefathers", Lansing State Journal (Michigan), Oct. 2, 1920 p. 4
  6. "The Mayflower". HISTORY. March 4, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2021.
  7. Weinstein, Allen, and Rubel, David. The Story of America, Agincourt Press Production, (2002) pp. 60–61
  8. Young 1841, p. 120.
  9. Philbrick, Nathaniel. Mayflower: A Story of Courage, Community and War, (Penguin Books 2006)
  10. Morris, Steven (September 16, 2020). "Covid curbs 400th Mayflower anniversary as Americans stay away". The Guardian. สืบค้นเมื่อ May 26, 2021.
  11. "Mayflower in Plymouth Harbor" stamp, USPS

แหล่งข้อมูลอื่น แก้