เปลื้อง ฉายรัศมี

เปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีอีสานพื้นบ้าน-โปงลาง) เป็นนักดนตรีที่มีความสามารถพิเศษสามารถเล่นและถ่ายทอดดนตรีพื้นบ้านอีสานได้เกือบทุกชนิดโดยเฉพาะ "โปงลาง" และเป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุงและพัฒนาโปงลางตลอดระยะเวลา 40 ปี จนทำให้ "เกราะลอ" ซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่ใช้ตีไล่นก กา ตามไร่นาพัฒนามาเป็น "โปงลาง" ที่มีเสียงไพเราะ กังวาน และให้ความรู้สึกของความเป็นพื้นบ้านอีสาน เป็นที่นิยมและยอมรับกันว่า "โปงลาง" เป็นเครื่องดนตรีเอกลักษณ์ของภาคอีสานเคียงคู่กับ "แคน"[1]

เปลื้อง ฉายรัศมี
ข้อมูลพื้นฐาน
เกิด25 ตุลาคม พ.ศ. 2475
ที่เกิดจังหวัดกาฬสินธุ์
เสียชีวิต2 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (75 ปี)
แนวเพลงดนตรีพื้นบ้าน โปงลาง
อาชีพนักดนตรีพื้นบ้าน
เครื่องดนตรีแคน, โปงลาง
คู่สมรสยุพิน ฉายรัศมี
รางวัลพ.ศ. 2529 - ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน-โปงลาง)

ประวัติ แก้

ครูเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นบุตรของ นายคง และนางนาง ฉายรัศมี เกิดเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2475 ที่บ้านเลขที่ 7 บ้านตา ต.ม่วงมา อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านนา ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางยุพิน ฉายรัศมี และช่วยกันทำมาหากิน มีบุตรชาย 2 คนและหญิง 1 คน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2550

ประวัติการทำงาน แก้

พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2510 ทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่โครงการเขื่อนลำปาว

พ.ศ. 2516 สอบบรรจุลูกจ้างประจำสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำงานถึงปี 2519 ก็ลาออกมาทำอาชีพส่วนตัว

พ.ศ. 2520 เข้าทำงานที่สำนักงานชลประทาน จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. 2524 ย้ายมาทำงานที่อ่างเก็บน้ำห้วยมโน บ้านนาอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ และทำงานเป็นครูพิเศษสอนดนตรีพื้นบ้านที่วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์

ผลงาน/เกียรติประวัติ แก้

นายเปลื้อง ฉายรัศมี เป็นนักดนตรีอีสานที่มีความสามารถเป็นพิเศษคือ สามารถเล่น สอน และทำเครื่องดนตรีอีสานได้ทุกชนิดที่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา 40 ปี จนทำให้ กอลอ (เกราะลอ) ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงกระบอกไม้ที่ใช้ตีไล่นกกาตามหัวไร่ปลายนา หรือขอลอที่ใช้ตีบอกเวลา บอกเหตุในหมู่บ้านธรรมดา กลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับการเชิดชูเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ด้วยเหตุนี้นายเปลื้อง ฉายรัศมี จึงได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ. 2529[2][3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมบัติ จำปาเงิน (2001). ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๐. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. pp. 173–178. ISBN 974-298-179-5.
  2. นิติกร กรัยวิเชียร (2001). ศิลปินแห่งชาติ ในมุมมองของ นิติกร กรัยวิเชียร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง. p. 106. ISBN 974-272-366-4.
  3. "คำประกาศเกียรติคุณ". สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2009.
  4. ราชกิจจานุเบกษา. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2022. เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๓. 26 มีนาคม 2536.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้