เบียทริซแห่งฟาลเกนบวร์ก

เบียทริซแห่งฟาลเกนบวร์ก (อังกฤษ: Beatrice of Falkenburg; ค.ศ. 1254 – 17 ตุลาคม ค.ศ. 1277) เป็นคู่สมรสคนที่สามของริชาร์ดแห่งคอร์นวอลล์และราชินีของชาวโรมันแต่ในนาม พระองค์มีพระชันษา 15 ปีในตอนที่เสกสมรสกับเจ้าชายอังกฤษวัย 60 ปีที่ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นพระสวามีที่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์เป็นอย่างมาก แม้อายุจะต่างกัน แต่เบียทริซสิ้นพระชนม์หลังพระองค์เพียง 5 ปี ในอังกฤษ ตอนมีพระชันษา 23 ปี

เบียทริซแห่งฟาลเกนบวร์ก
กระจกหน้าต่างย้อมสีบรรยายภาพของเบียทริซในฐานะผู้อุปถัมภ์ทางการเงินให้นิกายฟรานซิสกันคือภาพเหมือนเดียวที่ยังเหลือรอดอยู่ของเธอ
ราชินีคู่สมรสของชาวโรมัน
ดำรงพระยศ16 มิถุนายน ค.ศ. 1269 – 2 เมษายน ค.ศ. 1272
ประสูติค.ศ. 1254
สวรรคต17 ตุลาคม ค.ศ. 1277 (พระชันษา 23 ปี)
อ็อกฟอร์ด
ฝังพระศพเกรย์ไฟรอาร์ส, อ็อกฟอร์ด
คู่อภิเษกริชาร์ด เอิร์ลที่ 1 แห่งคอร์นวอลล์
ราชวงศ์ฟาลเกนบวร์ก
พระราชบิดาเธโอดอริคที่ 2 เคานต์แห่งฟาลเกนบวร์ก
พระราชมารดาแบร์ทาแห่งลิมบวร์ก

ภูมิหลัง

แก้

หนึ่งในบุตรหลายคนของเคานต์เธโอดอริคที่ 2 แห่งฟาลเกนบวร์ก (แม่แบบ:Lang-du) กับแบร์ทาแห่งลิมบวร์ก เบียทริซเกิดในตระกูลชนชั้นสูงมูซ-ไรน์ลันท์[1] บิดาของพระองค์เป็นผู้สนับสนุนการอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์จักรวรรดิแห่งเยอรมนีของริชาร์ดแห่งคอร์นวอลล์หลังการราชาภิเษกของริชาร์ดในอาเคน อาของพระองค์ แองเกิลเบิร์ตที่ 2 แห่งฟาลเกนบวร์ก อาร์ชบิชอป-ผู้คัดเลือกแห่งโคโลญ ไม่ได้ภักดีหรือสนใจในตัวริชาร์ดแม้แต่น้อย แต่เมื่อเขาถูกจำคุกในช่วงโกลาหล ในตอนที่การเสนอตัวของริชาร์ดถูกคัดค้านโดยอัลฟองโซที่ 10 แห่งคาสตีล ที่ได้รับเลือกจากแซ็กโซนี, บรันเดนบวร์ก และเทรียร์ ริชาร์ดตัดสินใจที่จะคืนอิสรภาพให้กับเขา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1268 กษัตริย์พร้อมกับเคานต์แห่งฟาลเกนบวร์กบุกโคโลญ เพื่อที่จะกำราบให้ราบคาบ บิดาของเบียทริซถูกฆ่าในการสู้รบ ส่วนอาของพระองค์งคงถูกจำคุก[2]

การแต่งงานและการเป็นราชินี

แก้

ในช่วงของการขัดแย้ง ริชาร์ดหลงใหลได้ปลื้มเบียทริซที่ตอนนั้นมีพระชันษา 15 ปีและเป็นที่เลื่องลือด้านความงาม[2] ด้วยความกังวลในความปลอดภัยของเบียทริซ ริชาร์ดพาเบียทริซไปหาอาทางฝั่งของบิดา ฟิลิปแห่งโบลานเดน-โฮเฮนเฟล์ส และเริ่มการเจรจาเรื่องการแต่งงานกับเบียทริซ เบียทริซกลายเป็นพระชายาคนที่สามของพระองค์และราชินีของชาวโรมันในไกเซอร์สเลาเทิร์นเมื่อ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1269 การตายของบิดาและการถูกจำคุกอย่างไร้ความหวังของอาผู้ทรงอำนาจทำให้เบียทริซไม่ใช่หมากทางการเมือง ริชาร์ดแต่งงานกับพระองค์เพียงเพราะหลงเสน่ห์พระองค์และไม่สามารถแยกจากพระองค์ได้แม้แต่ค่ำคืนเดียว[2][3] แต่อย่างไรก็ดี นักเขียนพงศาวดาร โธมัส ไวก์ส ย้ำชัดถึงความสำคัญทางการเมืองของการแต่งงาน: เบียทริซเป็นชาวเยอรมัน ซึ่งจะช่วยให้กษัตริย์อังกฤษของเยอรมันใกล้ชิดกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินและอาณาจักรของพระองค์มากขึ้น[4]

การไม่ได้รับเชิญให้ไปโรมเพื่อรับการราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของสามีภรรยาทำให้ริชาร์ดประกาศว่าพระองค์อยากให้เบียทริซได้เห็นดินแดนของพระองค์ในอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ไพศาลและเดินทางออกจากเยอรมนี ทั้งคู่ไปถึงโดเวอร์เมื่อ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1269 แต่ไม่ได้กลับไปที่เยอรมนีอีก[2]

การเป็นม่าย

แก้

พระราชินีเบียทริซกลายเป็นม่ายในปี ค.ศ. 1272 สองสามีภรรยาไม่มีพระโอรสธิดา พระสวามีของพระองค์ถูกฝังเคียงข้างพระชายาคนที่สอง ซ็องเจียแห่งโพรว็องซ์ แต่เบียทริซอาจจัดแจงให้ฝังหัวใจของริชาร์ดที่โบสถ์นิกายฟรานซิสกันที่เกรย์ไฟรอาร์ส อ็อกฟอร์ด พระองค์ใช้ชีวิตแบบเปิดเผยตัวตน แทบไม่ปรากฏตัวในบันทึกทางประวัติศาสตร์ พระเชษฐาของพระสวามีของพระองค์ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 แห่งอังกฤษ ส่งของขวัญมาให้พระองค์ใน ค.ศ. 1272 เช่นเดียวกับพระนัดดา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ใน ค.ศ. 1276 พระองค์ผิดใจกับพระโอรสเลี้ยง เอ็ดมุนด์ เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์คนที่ 2 เรื่องส่วนแบ่งในสินสมรสของมารดา ซ็องเจีย แต่ก็ได้รับข้อยุติในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1276[1] พระองค์สิ้นพระชนม์ตอนมีพระชันษา 23 ปี เมื่อ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1277 ถูกฝังที่เกรย์ไฟรอาร์ส อ็อฟอร์ด ในฐานะราชินีแห่งเยอรมนี[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Westerhof, Danielle (2008). Death and the Noble Body in Medieval England. Boydell & Brewer. ISBN 1843834162.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Huffman, Joseph P. (2000). The Social Politics of Medieval Diplomacy: Anglo-German Relations (1066–1307). University of Michigan Press. ISBN 0472110616.
  3. Prestwich, Michael (1988). Edward I. University of California Press. ISBN 0520062663.
  4. Weiler, Björn K. U. (2006). Henry III of England and the Staufen Empire: 1216 – 1272. Boydell & Brewer. ISBN 0861932803.