เทอร์โมแอซิโดไฟล์

เทอร์โมแอซิโดไฟล์ (อังกฤษ: thermoacidophile) เป็นจุลินทรีย์อิกซ์ตรีโมไฟล์ที่เป็นทั้งเทอร์โมฟิลิกและแอซิโดฟิลิก กล่าวคือสามารถเจริญเติบโตได้ภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูงและมีพีเอชต่ำ[1] เทอร์โมแอซิโดไฟล์ส่วนใหญ่เป็นอาร์เคีย (โดยเฉพาะ crenarchaeota และ euryarchaeota) หรือแบคทีเรีย และพบยูแคริโอตบ้างเป็นครั้งคราว[2][3] เทอร์โมแอซิโดไฟล์พบได้ในบ่อน้ำร้อน พุแก๊ส ปล่องน้ำร้อนใต้ทะเลหรือในสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีการปลดปล่อยพลังงานความร้อนใต้พิภพ[1]: 602  นอกจากนี้ยังพบในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนมลพิษ เช่น น้ำเสียจากเหมืองแร่[4]

เทอร์โมแอซิโดไฟล์ในบ่อน้ำร้อนที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน

แต่กระนั้น สิ่งมีชีวิตอาจมีความสามารถอย่างหนึ่ง แต่เสียความสามารถอีกอย่างไป (biological trade-off) ระหว่างการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงกับปรับตัวให้อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่มีพีเอชต่ำ มีเพียงไม่กี่ตัวอย่างเท่านั้นที่สามารถทนต่อสภาวะสุดขั้วของทั้งสองอย่างได้ดี (pH < 2, อุณหภูมิที่สามารถเติบโตได้ > 80°C)[1]: 602  อาร์เคียหลายชนิดมีวิถีเมแทบอลิซึมแบบใช้ออกซิเจน ใช้ออกซิเจนเพียงเล็กน้อย (microaerophile)[1]: 602  และไม่ใช้ออกซิเจน (obligate anaerobe) เช่น Acidilobales[5]

การจัดลำดับจีโนมของสาหร่ายสีแดง Galdieria sulphuraria ซึ่งเป็นยูแคริโอตที่เป็นเทอร์โมแอซิโดไฟล์ พบว่าการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมน่าจะเกิดจากการถ่ายทอดยีนในแนวราบ โดยได้รับจากอาร์เคียและแบคทีเรียที่เป็นเทอร์โมแอซิโดไฟล์[2]

ดูเพิ่ม แก้

  • Stetter, Karl O. (2011). "History of Discovery of Hyperthermophiles". ใน Horikoshi, Koki; Antranikian, Garabed; Bull, Alan T.; Robb, Frank T.; Stetter, Karl O. (บ.ก.). Extremophiles handbook. Tokyo: Springer. pp. 403–425. ISBN 9784431538974.

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Zaparty, Melanie; Siebers, Bettina (2011). "Physiology, Metabolism, and Enzymology of Extremophiles". ใน Horikoshi, Koki; Antranikian, Garabed; Bull, Alan T.; Robb, Frank T.; Stetter, Karl O. (บ.ก.). Extremophiles handbook. Tokyo: Springer. pp. 602–633. ISBN 9784431538974.
  2. 2.0 2.1 Schönknecht, G; Chen, WH; Ternes, CM; Barbier, GG; Shrestha, RP; Stanke, M; Bräutigam, A; Baker, BJ; Banfield, JF; Garavito, RM; Carr, K; Wilkerson, C; Rensing, SA; Gagneul, D; Dickenson, NE; Oesterhelt, C; Lercher, MJ; Weber, AP (8 March 2013). "Gene transfer from bacteria and archaea facilitated evolution of an extremophilic eukaryote". Science. 339 (6124): 1207–10. Bibcode:2013Sci...339.1207S. doi:10.1126/science.1231707. PMID 23471408.
  3. Skorupa, DJ; Reeb, V; Castenholz, RW; Bhattacharya, D; McDermott, TR (November 2013). "Cyanidiales diversity in Yellowstone National Park" (PDF). Letters in Applied Microbiology. 57 (5): 459–66. doi:10.1111/lam.12135. PMID 23865641.[ลิงก์เสีย]
  4. Baker-Austin, C; Dopson, M (April 2007). "Life in acid: pH homeostasis in acidophiles". Trends in Microbiology. 15 (4): 165–71. doi:10.1016/j.tim.2007.02.005. PMID 17331729.
  5. Bonch-Osmolovskaya, Elisaveta (2012). "Metabolic diversity of thermophilic prokaryotes—what's new.". Extremophiles: microbiology and biotechnology. Norfolk: Caister Academic Press. pp. 109–31. ISBN 9781904455981.