แคว้นเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ

(เปลี่ยนทางจาก เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ)

46°04′N 11°07′E / 46.067°N 11.117°E / 46.067; 11.117

แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ/ซืททีโรล

Regione Autonoma Trentino-Alto Adige/Südtirol (อิตาลี)
Autonome Region Trentino-Südtirol (เยอรมัน)
ธงของแคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ/ซืททีโรล
ธง
ตราราชการของแคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ/ซืททีโรล
ตราอาร์ม
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ/ซืททีโรล
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ/ซืททีโรล
ประเทศอิตาลี
เมืองหลักเตรนโต
การปกครอง
 • ประธานแคว้นอาร์โน ค็อมพัทเชอร์
พื้นที่
 • ทั้งหมด13,606.87 ตร.กม. (5,253.64 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (30 เมษายน 2558)
 • ทั้งหมด1,056,223 คน
 • ความหนาแน่น78 คน/ตร.กม. (200 คน/ตร.ไมล์)
 • ภาษาทางการ[1]ภาษาอิตาลี, ภาษาเยอรมัน (ระดับแคว้น); ภาษาลาดีน, ภาษามอเคโน และภาษาซิมเบรียน (ในบางเทศบาล)
ความเป็นพลเมือง[2]
 • อิตาลีร้อยละ 93
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
จีดีพี (ตัวเงิน)37.2[3] พันล้านยูโร (2551)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)30,800[4] ยูโร (2551)
เว็บไซต์www.regione.taa.it

เตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ (อิตาลี: Trentino-Alto Adige) หรือ เตรนตีโน-ซืททีโรล (เยอรมัน: Trentino-Südtirol) เป็นแคว้นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ประกอบด้วย 2 จังหวัด ได้แก่ เตรนโตและบอลซาโน พื้นที่นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (รวมถึงก่อนหน้านี้ ซึ่งคือจักรวรรดิออสเตรีย) เมื่อปี ค.ศ. 1815 และถูกรวมกับอิตาลีในปี ค.ศ. 1919

ภูมิศาสตร์ แก้

 
ภูมิทัศน์เทือกเขาแอลป์ ใกล้กับหมู่บ้านสติล์ฟ
 
ทะเลสาบโทบลาเกอร์ซี
 
แนวเขาพาลา ในพื้นที่โดโลไมส์

แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐทีโรลของประเทศออสเตรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเกราบึนเดินของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแคว้นลอมบาร์เดียทางทิศตะวันตก และติดต่อกับแคว้นเวเนโตทางทิศใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 13,607 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และครอบคลุมพื้นที่โดโลไมส์และเทือกเขาแอลป์ทางใต้

จังหวัดปกครองตนเองบอลซาโนครอบคลุมพื้นที่ 7,400 ตารางกิโลเมตร พื้นที่แทบทั้งหมดเป็นภูเขาและป่าไม้ที่กว้างขวาง ติดกับแคว้นลอมบาร์เดียทางทิศตะวันตก จังหวัดปกครองตนเองเตรนโตทางทิศใต้ และแคว้นเวเนโตทางทิศตะวันออก มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบภาคพื้นทวีป ในจังหวัดนี้มีแนวเขาหลายแห่งที่มีความสูงเกิน 3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล และมีแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน คือแม่น้ำอาดีเจ ไหลจากทิศเหนือสู่ใต้ แคว้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 12.2 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 717.7 มิลลิเมตรต่อปี และมีทางหลวงผ่านเทือกเขาแอลป์ คือ ทางผ่านเบร็นเนอร์ ซึ่งเชื่อมต่อกับประเทศออสเตรีย[5]

จังหวัดปกครองตนเองเตรนโตครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,207 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา (พื้นที่ร้อยละ 20 สูงกว่า 2,000 เมตร และร้อยละ 70 สูงกว่า 1,000 เมตร) และปกคลุมโดยป่าไม้ร้อยละ 50 ของพื้นที่ มีสภาพอากาศหลากหลายตามภูมิประเทศ ทั้งอากาศแบบเทือกเขาของเทือกเขาแอลป์และอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากนี้ยังเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมแห่งหนึ่งของนักท่องเที่ยว คือเป็นที่เล่นสกีบนภูเขาสูงในฤดูหนาว และในฤดูร้อนยังสามารถชมทิวทัศน์หุบเขาที่กว้างใหญ่และทะเลสาบมากมาย (ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดคือ ทะเลสาบการ์ดา)[6]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจประกอบด้วย 2 จังหวัดปกครองตนเอง และมีเทศบาล (โคมูนี) ทั้งหมด 339 เทศบาล แบ่งออกเป็นจังหวัดบอลซาโน 116 เทศบาล และจังหวัดเตรนโต 223 เทศบาล

 
จังหวัด เมืองหลัก พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
จังหวัดปกครองตนเองบอลซาโน บอลซาโน 7,400 498,857 67.41
จังหวัดปกครองตนเองเตรนโต เตรนโต 6,207 519,800 83.74

อ้างอิง แก้

  1. Sonderstatut für Trentino-Südtirol, Article 99, Title IX. Region Trentino-Südtirol.
  2. "Statistiche demografiche ISTAT". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  3. "Eurostat – Tables, Graphs and Maps Interface (TGM) table". Epp.eurostat.ec.europa.eu. 12 August 2011. สืบค้นเมื่อ 16 September 2011.
  4. "European Commission - PRESS RELEASES - Press release - Regional GDP per inhabitant in 2008 GDP per inhabitant ranged from 28% of the EU27 average in Severozapaden in Bulgaria to 343% in Inner London". สืบค้นเมื่อ 8 April 2017.
  5. "Eurostat". Circa.europa.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.
  6. "Eurostat". Circa.europa.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้