เดือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน

เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้

เดือนตามระบบดาวฤกษ์

แก้

คำนวณจากวงโคจรของดวงจันทร์ มีระยะเวลา 27.321 661 วัน

เดือนตามระบบจูเลียนและเกรกอเรียน

แก้

เป็นระบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ใน 1 ปี มี 12 เดือนได้แก่

  1. มกราคม มี 31 วัน
  2. กุมภาพันธ์ มี 28 วัน (ในปีอธิกสุรทิน มี 29 วัน)
  3. มีนาคม มี 31 วัน
  4. เมษายน มี 30 วัน
  5. พฤษภาคม มี 31 วัน
  6. มิถุนายน มี 30 วัน
  7. กรกฎาคม มี 31 วัน
  8. สิงหาคม มี 31 วัน
  9. กันยายน มี 30 วัน
  10. ตุลาคม มี 31 วัน
  11. พฤศจิกายน มี 30 วัน
  12. ธันวาคม มี 31 วัน

เดือนตามระบบปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ

แก้

ในหนึ่งปีฮิจญ์เราะหฺมี 12 เดือน คือ

  1. มุฮัรร็อม
  2. เศาะฟัร
  3. เราะบีอุลเอาวัล
  4. รอบีอุษษานี
  5. ญุมาดัลอูลา
  6. ญุมาดัษษานี
  7. เราะญับ
  8. ชะอ์บาน
  9. เราะมะฎอน
  10. เชาวาล
  11. ษุลเกาะอ์ดะฮ์
  12. ซุลฮิจญะหฺ

เดือนตามระบบปฏิทินฮินดู

แก้

ปฏิทินฮินดูมีระบบต่างๆในการตั้งชื่อเดือน เดือนในปฏิทินจันทรคติ ได้แก่

ชื่อไทย ชื่อบาลี ชื่อสันสกฤต ชื่อทมิฬ ชื่อเตลูกู ชื่อเนปาล
1 ไจตฺร จิตตมาศ  Caitra (चैत्र) Chitirai (சித்திரை) Chaithramu (చైత్రము) Chaitra (चैत्र/चैत)
2 ไวศาข วิสาขมาส  Vaiśākha (वैशाख) Vaikasi (வைகாசி) Vaisaakhamu (వైశాఖము) Baisakh (बैशाख)
3 เชฺยษฺฐ เชฏฐมาส Jyeṣṭha (ज्येष्ठ) Aani (ஆனி) Jyeshttamu (జ్యేష్ఠము) Jesth (जेष्ठ/जेठ)
4 อาษาฒ อาสาฬหมาส Ashadha (आषाढ) Aadi (ஆடி) Aashaadhamu (ఆషాఢము) Aasad (आषाढ/असार)
5 ศฺราวณ สาวนมาส Śrāvaṇa (श्रावण) Aavani (ஆவணி) Sraavanamu (శ్రావణము) Srawan (श्रावण/साउन)
6 ภาทฺร ภัททปทมาส Bhadrapada (भाद्रपद) Purratasi (புரட்டாசி) Bhaadhrapadamu (భాద్రపదము) Bhadau (भाद्र|भदौ)
7 อาศฺวิน อัสสยุชมาส Āśvina (अश्विन) Aiypasi (ஐப்பசி) Aasveeyujamu (ఆశ్వయుజము) Asoj (आश्विन/असोज)
8 การฺตฺติก กัตติกมาส Kārtika (कार्तिक) Kaarthigai (கார்த்திகை) Kaarthikamu (కార్తీకము) Kartik (कार्तिक)
9 อักรหายนา มิคสิรมาส Mārgaśīrṣa (मार्गशीर्ष) Maargazhi (மார்கழி) Maargaseershamu (మార్గశిరము) Mangsir (मार्ग/मंसिर)
10 เปาษ ปุสสมาส Pauṣa (पौष) Thai (தை) Pushyamu (పుష్యము) Push (पौष/पुष/पूस)
11 มาฆ มาฆมาส Māgha (माघ) Maasi (மாசி) Maaghamu (మాఘము) Magh (माघ)
12 ผาลฺคุน ผัคคุณมาส Phālguna (फाल्गुन) Panguni (பங்குனி) Phaalgunamu (ఫాల్గుణము) Falgun (फाल्गुन/फागुन)

นอกจากนี้ยังเป็นชื่อที่ใช้ในปฏิทินประจำชาติอินเดีย สำหรับการกำหนดเดือนแบบใหม่

ปุรุษุตมมาส (Purushottam Maas) หรือ อธิกมาส (Adhik Maas) (แปล อธิก (adhika) = 'เพิ่ม', มาส (māsa) = 'เดือน') เป็นเดือนพิเศษในปฏิทินฮินดูที่แทรกเพิ่มเพื่อให้ปฏิทินจันทรคติและสุริยคติสอดคล้องกัน

ชื่อที่ใช้ในปฏิทินสุริยคติฮินดู คือการนำชื่อของ(จักร)ราศีที่ดวงอาทิตย์เดินทางผ่านมาใช้ ดังนี้

  1. เมษะ (Mesha)
  2. พฤษภะ (Vrishabha)
  3. มิถุนะ (Mithuna)
  4. กฎกะ (Kataka)
  5. สิงหะ (Simha)
  6. กันยา (Kanyaa)
  7. ตุลา (Tulaa)
  8. พฤศจิกะ (Vrisika)
  9. ธนู (Dhanus)
  10. มกระ (Makara)
  11. กุมภะ (Kumbha)
  12. มีนะ (Miina)

เดือนทางดาราคติ

แก้

เดือนทางดาราคติ (Sidereal Month) เดือนทางดาราคติ เป็นการนับการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกโดยเทียบกับดาวฤกษ์ โดยเริ่มนับตั้งแต่ดวงจันทร์เคลื่อนที่จาก ดาวฤกษ์ ดวงหนึ่งไปจนกลับมาถึงดาวฤกษ์ดวงเดิมอีกใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน