เจ้าแม่คงคา (จีน)

จุ้ยโบ้เนี้ยวเนี้ยว (สำเนียงจีนฮกเกี้ยน) หรือ จุ้ยบ้อเนี่ยเนี้ย (สำเนียงจีนแต้จิ๋ว) หรือ ตุ๊ยบ่วยเหนี่ยงเหนี่ยง (สำเนียงไฮ้หน่ำ-ไหหลำ) (จีน: 水母娘娘; พินอิน: Shuǐ Mu niáng niáng) หรือ กิมซีเส่งโบ้ (สำเนียงจีนฮกเกี้ยน) กิมซีเซิ่งหมู่ (สำเนียงจีนแต้จิ๋ว) (จีน: 晋祠圣母; พินอิน: Jin ci sheng mu) เป็นเทวนารีนักพรตตามความเชื่อของจีน และศาสนาเต๋า พระนาม "ตุ๊ยบ่วยเหนี่ยงเหนี่ยง" หรือแปลตรงตัวได้ว่า เจ้าแม่คงคา (จีน) หรืออีกนาม คือ เจ้าแม่บ่อน้ำบาดาล เป็นเทวนารีนักพรต ที่รู้จักและนิยมบูชาเช่นเดียวกับม่าจ้อโป๋ หรือไฮตังม่าและเจ้าแม่ทับทิม พระนางเป็นเทวนารีนักพรตที่รักษาสายน้ำในคติของความเชื่อของจีน และศาสนาเต๋า[1][2]

จุ้ยบ้อเนี่ยเนี้ย
เทวรูปพระแม่จุ้ยบ้อเนี่ยเนี้ย ศิลปะแบบประเพณีจีน ณ ศาลเจ้าแม่คงคา นครกวานซี เทศมณฑลซินจู๋ ไต้หวัน
ภาษาจีน水母娘娘
ความหมายตามตัวอักษรเจ้าแม่คงคา (จีน)
เจ้าแม่บ่อน้ำบาดาล
เจ้าแม่คงคา (จีน)
เทวรูป พระแม่จุ้ยบ้อเนี่ยเนี้ย ศิลปะราชวงศ์หมิง
จิตรกรรมพระแม่จุ้ยบ้อเนี่ยเนี้ย ศิลปะแบบประเพณีจีน
เทวรูป และจิตรกรรมพระแม่จุ้ยบ้อเนี่ยเนี้ย ศิลปะแบบประเพณีจีน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Fontenrose, Joseph Eddy. Python: A Study of Delphic Myth and Its Origins. University of California Press, 1959. Print.
  2. Werner, Edward Theodore Chalmers (1922). Myths and Legends of China (PDF). Courier Corporation. pp. 166–168. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-05-08.