เจ้าหญิงมาเรีย โบนาแห่งซาวอย-เจนัว

เจ้าหญิงบอนน์ แห่งซาวอย-เจนัว หรือต่อมาเป็น เจ้าหญิงโบนาแห่งบาวาเรีย (Maria Bona Margarita Albertina Vittoria; 1 สิงหาคม ค.ศ. 1896 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971) เป็นพระธิดาใน เจ้าชายตอมมาโซ ดยุกแห่งเจนัว และ เจ้าหญิงอีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย

มารีอา บอนน์
เจ้าหญิงค็อนราทแห่งบาวาเรีย
พระรูปของเจ้าหญิงบอนน์เมื่อไม่นานหลังจากอภิเษกสมรสกับเจ้าชายค็อนราทในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1921
ประสูติ1 สิงหาคม ค.ศ. 1896(1896-08-01)
ปราสาทอากลีเย, ปีเยมอนเต
สิ้นพระชนม์2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971(1971-02-02) (74 ปี)
โรม, อิตาลี
ฝังพระศพอารามอันเด็คส์, เยอรมนี
คู่อภิเษกเจ้าชายค็อนราทแห่งบาวาเรีย
พระนามเต็ม
อิตาลี: มารีอา บอนน์ มาร์เกรีตา อัลแบร์ตีนา วิตโตรีอา
พระบุตรเจ้าหญิงอามาลี อีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย
เจ้าชายอ็อยเกนแห่งบาวาเรีย
ราชวงศ์ซาวอย-เจนัว (โดยประสูติ)
วิทเทิลส์บัค (โดยอภิเษกสมรส)
พระบิดาเจ้าชายตอมมาโซ ดยุกแห่งเจนัว
พระมารดาเจ้าหญิงอีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระองค์เป็นพระราชปนัดดาใน พระเจ้าการ์โล อัลแบร์โต ทางฝ่ายพระบิดา และ พระเจ้าลูทวิชที่ 1 ทางฝ่ายพระมารดา พระองค์ยังทรงเป็นพระญาติชั้นที่ 1 ใน พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ผ่านทางสายพระบิดา พระองค์และพระเชษฐาและขนิษฐาและพระอนุชาทุกพระองค์ ประสูติที่ปราสาทเอลเจน ซึ่างเป็นปราสาทที่พระบิดาของพระองค์ซื้อไว้ประทับร่วมกับครอบครัวย

เสกสมรส แก้

เจ้าหญิงบอนน์ ทรงเสกสมรสกับ เจ้าชายค็อนราทแห่งบาวาเรีย ผู้เป็นพระญาติ เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1921 ซึ่งงานเสกสมรสของพระองค์นั้น ถูกจัดขึ้นที่ ปราสาทปิเยมอนเต โดยมีผู้เข้าร่วมงานหลายพระองค์ อาทิ พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี เจ้าชายอุมแบร์โต เจ้าชายแห่งปีเยมอนเต และ เจ้าชายเอมานูเอเล ฟิลิแบร์โต ดยุกแห่งออสตา และพระสหายของพระองค์ จำพวกสตรีชั้นสูงของหลายประเทศเข้าร่วม ซึ่งงานเสกสมรสของพระองค์และเจ้าชายค็อนราท พระสวามี เป็นการจัดงานเสกสมรสของพระราชวงศ์แห่งอิตาลีและเยอรมันขึ้นครั้งแรกหลังจากทั้ง 2 เป็นอริกันในสงครามโลก และยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีของทั้ง 2 ประเทศ ทั้ง 2 มีพระบุตร 2 พระองค์คือ

  1. เจ้าหญิงอามาลี อีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย
  2. เจ้าชายอ็อยเกนแห่งบาวาเรีย

พระชนม์ชีพภายหลัง แก้

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เจ้าชายค็อนราท พระสวามีถูกทหารจับไปที่เมืองฮินเทินชไตน์ และทรงถูกนำตัวไปที่ลินเดา และทรงฝึกงานอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งร่วมกับ เจ้าชายวิลเฮ็ล์ม มกุฎราชกุมาร และอดีตนักการทูตนามว่า ฮันส์ ฟอร์แมคเกอร์ พระองค์หรือที่ทรงรู้จักในนามของ เจ้าหญิงค็อนราท พระชายา ทรงงานเรื่องพยาบาลทหาร กับพระญาติหลายพระองค์ แต่ไม่ถูกถูกอนุญาตให้เสด็จเข้ามาในประเทศเยอรมนี ได้ และสามารถกลับมารวมพระญาติอีกครั้งในปี ค.ศ. 1947 ซึ่งขณะนั้น พระสวามีมีอาชีพที่ดีขึ้น ก่อนจะสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 สิริพระชันษา 74 ปี

อ้างอิง แก้

[1] [2] [3] [4] [5]


  1. Enache, Nicolas. La Descendance de Marie-Therese de Habsburg. ICC, Paris, 1996. pp. 189, 195-196, 207-208. (French). ISBN 2-908003-04-X
  2. Genealogisches Handbuch des Adels, Fürstliche Häuser XVI. "Haus Bayern". C.A. Starke Verlag, 2001, p. 13. ISBN 978-3-7980-0824-3.
  3. Lundy, Darryl. "The Peerage: Bona Margherita di Savoia, Principessa di Savoia". Retrieved 16 December 2009.
  4. "Italian Princess to Wed Bavarian", The New York Times, Milan, 7 January 1921
  5. "Son to Princess Maria", The New York Times, Rome, 27 July 1925