เจ้าชายค็อนราทแห่งบาวาเรีย

เจ้าชายค็อนราทแห่งบาวาเรีย (เยอรมัน: Konrad Luitpold Franz Joseph Maria Prinz von Bayern; 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1883 – 6 กันยายน ค.ศ. 1969) เป็นสมาชิกพระราชวงศ์บาวาเรียแห่งราชวงศ์วิทเทิลส์บัค

เจ้าชายค็อนราท
ประสูติ23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1883(1883-11-23)
มิวนิก, รัฐไบเอิร์น
สิ้นพระชนม์6 กันยายน ค.ศ. 1969(1969-09-06) (85 ปี)
ฮินเทอร์ชไตน์, รัฐไบเอิร์น
ฝังพระศพสุสานในอารามอันเด็คส์, รัฐไบเอิร์น
คู่อภิเษกเจ้าหญิงบอนน์ มาร์เกรีตาแห่งซาวอย-เจนัว
พระบุตรเจ้าหญิงอามาลี อีซาเบ็ลลา
เจ้าชายอ็อยเกน
ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค
พระบิดาเจ้าชายเลโอพ็อลท์แห่งบาวาเรีย
พระมารดาอาร์ชดัชเชสกีเซอลาแห่งออสเตรีย

พระประวัติ แก้

เจ้าชายค็อยราทประสูติที่มิวนิก, รัฐไบเอิร์น ทรงเป็นพระโอรสพระองค์สุดท้องใน เจ้าชายเลโอพ็อลท์แห่งบาวาเรีย กับ อาร์ชดัชเชสกีเซอลาแห่งออสเตรีย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระองค์และเจ้าชายเกออร์ค พระเชษฐาได้เป็นทหารในกองทัพบาวาเรีย โดยทรงเป็นกองกำลำงสำคัญในแนวรบด้านตะวันออก ในฐานะผู้บัญชาการทหารม้าที่ 2 อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย โดยทรงมียศที่พันตรี ก่อนจะทรงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919

เสกสมรส แก้

พระองค์ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงมารีอา บอนน์แห่งซาวอย-เจนัว ผู้เป็นพระญาติ เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1921 ซึ่งงานเสกสมรสของพระองค์นั้น ถูกจัดขึ้นที่ ปราสาทปีเยมอนเต โดยมีผู้เข้าร่วมงานหลายพระองค์ อาทิ พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี เจ้าชายอุมแบร์โต เจ้าชายแห่งปีเยมอนเต และเจ้าชายเอมานูเอเล ฟิลิแบร์โต ดยุกแห่งออสตา และพระสหายของพระชายา จำพวกสตรีชั้นสูงของหลายประเทศเข้าร่วม ซึ่งงานเสกสมรสของพระองค์และเจ้าหญิงมารีอา บอนน์ พระชายา เป็นการจัดงานเสกสมรสของพระราชวงศ์แห่งอิตาลีและเยอรมันขึ้นครั้งแรกหลังจากทั้ง 2 เป็นอริกันในสงครามโลก และยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีของทั้ง 2 ประเทศ ทั้ง 2 มีพระบุตร 2 พระองค์คือ

  1. เจ้าหญิงอามาลี อีซาเบ็ลลาแห่งบาวาเรีย
  2. เจ้าชายอ็อยเกนแห่งบาวาเรีย

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เจ้าชายค็อนราทถูกทหารจับไปที่เมืองฮินเทอร์ชไตน์ และทรงถูกนำตัวไปที่ลินเดา และทรงฝึกงานอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งร่วมกับ เจ้าชายวิลเฮ็ล์ม มกุฎราชกุมาร และอดีตนักการฑูตนามว่า ฮันส์ ฟอร์แมคเกอร์ พระชายาหรือที่ทรงรู้จักในนามของ เจ้าหญิงค็อนราท พระชายา ทรงงานเรื่องพยาบาลทหาร กับพระญาติหลายพระองค์ แต่ไม่ถูกถูกอนุญาตให้เสด็จเข้ามาในประเทศเยอรมนี ได้ และสามารถกลับมารวมพระญาติอีกครั้งในปี ค.ศ. 1947 ซึ่งขณะนั้น พระองค์มีอาชีพที่ดีขึ้น ก่อนจะสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1969 สิริพระชันษา 85 ปี

อ้างอิง แก้

  • Schad, Martha,Kaiserin Elisabeth und ihre Töchter. München, Langen Müller, 1998