เจ้าพระยาภักดีนุชิต
เจ้าพระยาภักดีนุชิต หรือ หมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ) ขุนนางไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็น 1 ใน 4 ผู้ร่วมวางแผนก่อการโค่นอำนาจของขุนวรวงศาธิราช และนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ร่วมกับขุนพิเรนทรเทพ เจ้าเมืองพิษณุโลก ขุนอินทรเทพและหลวงศรียศพร้อมกับสนับสนุนพระเทียรราชาซึ่งผนวชอยู่ขึ้นเป็นกษัตริย์ตามความใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า
เจ้าพระยาภักดีนุชิต | |
---|---|
ขุนนางของอาณาจักรอยุธยา | |
ตำแหน่ง | ขุนนาง |
เกิด | ? |
ถึงแก่กรรม | ? |
อาชีพ | ทหาร ขุนนาง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ จึงว่า ถ้าเราทำได้สำเร็จแล้วจะเห็นผู้ใดเล่า ที่จะปกป้องครองประชาราษฎรสืบไป ขุนพิเรนทรเทพจึงว่า เห็นแต่พระเทียรราชาที่บวชอยู่นั้นจะเป็นเจ้าแผ่นดินได้ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ จึงว่า ถ้าฉะนั้นเราจะไปเฝ้าพระเทียรราชาปรึกษาให้เธอรู้จะได้ทำด้วยกัน[1]: 24
เมื่อถึงวันก่อการหมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ) ได้ไปดักยิง มหาอุปราช (จัน) ตายตกคอช้างที่ท่าเสื่อ[2] ตามความใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า
ฝ่ายหมื่นราชเสน่หานอกราชการ ถือปืนไปแอบคอยอยู่ ทำอาการ ดุจหนึ่งทะนายเลือก ครั้นเห็นมหาอุปราชขึ้นช้างจะไปพะเนียด หมื่นราชเสน่หาก็ยิงถูกมหอุปราชตกช้างลงตาย[1]: 27
เมื่อพระเทียรราชาบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหมื่นราชเสน่หา(นอกราชการ)ขึ้นเป็นเจ้าพระยาภักดีนุชิต[2] ตามความใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า
หมื่นราชเสน่หานอกราชการ ที่ยิงมหาอุปราชตกช้างตายนั้น ปูนบำเหน็จให้เป็น เจ้าพระยาภักดีนุชิต เจียดทองซ้ายขวา กระบี่บั้งทอง เต้าน้ำทอง พระราชทานลูกพระสนมเป็นภรรยา[1]: 30
หลังจากนั้นเจ้าพระยาภักดีนุชิตก็มิได้ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารอีก
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้มีนักแสดงผู้รับบท พระยาภักดีนุชิต (หมื่นราชเสน่หา นอกราชการ) ได้แก่
- สรพงษ์ ชาตรี จากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544)
- เพชร โบราณินทร์ จากละครเรื่อง แม่หยัว (2567)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 กรมศิลปากร. (2479). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). เจ้าภาพพิมพ์ในงานปลงศพ คุณหญิงปฏิภาณพิเศษ (ลมุน อมาตยกุล) ณ วัดประยุรวงศาวาส วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. หน้า 24, 27, 30.
- ↑ 2.0 2.1 เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล. (2562). ก่อนแผ่นดินเปลี่ยนราชบัลลังก์. กรุงเทพฯ: สยามความรู้. หน้า 73, 77. ISBN 978-616-4-41519-5