เจ้าชื่น สิโรรส
เจ้าชื่น สิโรรส เป็นผู้ก่อตั้งและครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ จังหวัดเชียงใหม่[1] และเป็นผู้มีบทบาทในการวางรากฐานการศึกษาและพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่[2]
เจ้าชื่น สิโรรส | |
---|---|
ชื่น สิโรรส | |
![]() | |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์มังราย |
พระบิดา | เจ้าอินทปัตย์ สิโรรส |
พระมารดา | ด้วง สิโรรส |
ประสูติ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 นครเชียงใหม่ |
อนิจกรรม | 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 (98 ปี) คุ้มห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ |
ประวัติแก้ไข
เจ้าชื่น สิโรรส เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 เป็นบุตรของเจ้าอินทปัตย์ สิโรรส (ราชวงศ์มังราย) กับนางด้วง สิโรรส สมรสกับเจ้าสุริยฉาย สิโรรส (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อุยธยา) ธิดาในเจ้าหญิงกาบคำ ณ เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2465 มีบุตรธิดา 10 คน เจ้าชื่น ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 (98 ปี)
การทำงานแก้ไข
การศึกษา และศาสนาแก้ไข
เจ้าชื่น เป็นผู้ริเร่มก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) และได้รับตำแหน่งเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนฯ และเป็นผู้ก่อตั้งวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) อำเภอเมืองเชียงใหม่
การเกษตรแก้ไข
เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ได้โปรดให้ใช้ พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม เป็นแปลงทดลองการเกษตรส่วนพระองค์ขนาดใหญ่ โปรดให้ เจ้าชื่น สิโรรส มาดูแลควบคุมพัฒนาการเกษตร ซึ่งเจ้าดารารัศมี ทรงริเริ่มส่งเสริมการปลูกใบยาสูบเวอร์จิเนีย ใบชา ใบหม่อน ดอกไม้เมืองหนาว และกล้วยไม้ รวมถึงพืชผักต่าง ๆ หลายชนิด อาทิ กะหล่ำปลีสีม่วง แครอท แตงโมบางเบิด แคนตาลูป รวมทั้งลำไย
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ เจ้าชื่น สิโรรส เก็บถาวร 2013-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ คนเมืองดอตคอม
- ↑ รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |