เคพีเอ็น อวอร์ด

การประกวดขับร้องเพลงชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2526 - 2559)

การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือ เคพีเอ็น อวอร์ด เป็นการประกวดร้องเพลงในระดับสูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากจัดขึ้นเพื่อชิงถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รุ่นผู้ใหญ่) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (รุ่นเยาวชน) ริเริ่มโดยคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช จัดโดยบริษัท สยามกลการ จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 - 2535 และบริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 - 2559

เคพีเอ็น อวอร์ด
ภาพสัญลักษณ์รายการเคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 25
ประเภทเรียลลิตีโชว์
การประกวดร้องเพลง
สร้างโดยสยามกลการ
เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น
เสนอโดย
กรรมการสุทธิพงษ์ วัฒนจัง
วินัย สุขแสวง
วรายุฑ มิลินทจินดา
อภิสราฐ์ เพชรเรืองรอง (ครั้งที่ 22-25)
ทาทา ยัง
ศรัณยู วินัยพานิช
โชติกา วงศ์วิลาศ
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
จำนวนฤดูกาล25
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 9
ช่อง 3

ประวัติ

แก้

การประกวดร้องเพลงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย เป็นที่รู้จักในชื่อ การประกวดร้องเพลงสยามกลการ เนื่องจากจัดขึ้นโดย มูลนิธิสยามกลการมิวสิค ในเครือบริษัท สยามกลการ จำกัด โดยมีความคิดริเริ่มจากคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ผู้จัดการใหญ่ของสยามกลการในขณะนั้น ที่มีความชอบส่วนตัวในเรื่องของเสียงเพลงและดนตรี โดยเริ่มจัดการประกวดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526

ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ตั้งตามชื่อผู้สนับสนุนหลักที่เป็นสินค้าที่สยามกลการมีบทบาทดูแลการจัดจำหน่ายในประเทศไทยในขณะนั้น ได้แก่ การประกวดร้องเพลงระดับประเทศ ในชื่อ นิสสัน อวอร์ด และระดับยุวชน ในชื่อ ยามาฮ่า อวอร์ด

การประกวดร้องเพลงสยามกลการได้สร้างนักร้องระดับประเทศหลายคนที่มีผลงานดังถึงปัจจุบัน เช่น เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์[1] และศิลปินดังคนอื่น ๆ (ดูรายชื่อ)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 คุณหญิงพรทิพย์ได้แยกตัวจากสยามกลการ ออกมาก่อตั้ง บริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด (กลุ่มเคพีเอ็น; KPN) โดยใช้ชื่อของคุณเกษม และคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช มาเป็นชื่อบริษัท เพื่อดูแลธุรกิจยานยนต์และอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยย้ายมาอยู่ในการดูแลของกลุ่มเคพีเอ็นไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตามยังคงใช้ชื่อการประกวดในระดับผู้ใหญ่ว่า นิสสัน อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2536 ก่อนเปลี่ยนมาเป็น ซูบารุ อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2537 และเริ่มใช้ชื่อว่า เคพีเอ็น อวอร์ด ในปี พ.ศ. 2538 (แต่เลื่อนมาจัดงานในปี พ.ศ. 2539 เพื่อถวายความอาลัยในช่วงการสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ส่วนในระดับยุวชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ใช้ชื่อการประกวดว่า ซูบารุ จูเนียร์ อวอร์ด

ต่อมาภายหลังคุณหญิงพรทิพย์มอบหมายให้ กรณ์ ณรงค์เดช บุตรชายคนเล็ก ดูแลรายการประกวดร้องเพลงรายการนี้แทน ในปี พ.ศ. 2552 กรณ์ได้ก่อตั้ง บริษัท เคพีเอ็น อวอร์ด จำกัด ขึ้นเป็นบริษัทย่อยในเครือกลุ่มเคพีเอ็น เพื่อจัดการประกวดรายการนี้โดยเฉพาะ และได้ปรับรูปแบบรายการใหม่เป็นรายการประกวดร้องเพลงแบบเรียลลิตีโชว์เพื่อให้ทันสมัยขึ้น[2]

ในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการประกวด เคพีเอ็น อวอร์ด จะไม่มีการรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน แต่จะคัดเลือกจากผู้ผ่านเข้ารอบการประกวดนักร้องยอดเยี่ยมเครือสยามกลการในปีที่ผ่านมาแต่ไม่ได้รับรางวัล แล้วแข่งขันเพื่อเฟ้นหานักร้องยอดเยี่ยมคนที่ 25

ผู้เข้าประกวด

แก้

ผู้เข้าประกวดที่มีชื่อเสียง

แก้

ระดับผู้ใหญ่

แก้

ระดับยุวชน

แก้

ผู้เข้าประกวดทั้งหมด (พ.ศ. 2552-2559)

แก้
ครั้งที่ รายชื่อผู้เข้าประกวด นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย รองนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย อันดับ 1 รองนักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย อันดับ 2
18 KPN 6 ธิติมา เจริญศรี[3] KPN 9 กรกันต์ สุทธิโกเศศ[4] KPN 8 น้ำฝน ภักดี[4]
19 [5][6] KPN 9 เอกพันธ์ วรรณสุทธิ์[7] KPN 2 อันโทนี่ ทง KPN 12 ธัญนันท์ ทองศีรธนพงษ์
20 KPN 6 ธรรศภาคย์ ชี[8] KPN 4 แอริคา คัมมิ่งส์ KPN 1 อลิสซาเบธ สิทธิเจริญยศ
21 KPN 6 วทัญญู จิตติเสถียรพร KPN 2 กนกฉัตร มรรยาทอ่อน KPN 4 พงษ์ปิติ ผาสุขยืด
22 [9] KPN 9 ชยพล ปัญหกาญจน์ KPN 3 จีราภรณ์ วิเศษเจริญ
KPN 4 ธนปกรณ์ อุปลกะลิน
KPN 10 รักชน พุทธรังสี
23 KPN 1 พรพรรณ มนชะติน KPN 10 เชตชวิน ชูประทุม KPN 4 พีรวัส วิศิษฎ์วโรดม
KPN 8 ปิยะณัฐ แดงพูนผล
24 KPN 7 กษิดิ์เดช หงส์ลดารมภ์ KPN 2 หทัยชนก สวนศรี KPN 1 เอกกมล บุญโพธิ์ทอง
KPN 6 ปวันรัตน์ อัศวะธนาพงศ์
25 KPN 1 กานต์ จั่นทอง KPN 3 สุภาพรรณ เสาวดี
KPN 6 ณัฐภัสสร สิมะเสถียร
KPN 7 เอกกมล บุญโพธิ์ทอง
KPN 2 ชิดชนก มัญชุรัตน์
KPN 4 สุชัญญ์ญา นรปฏิพัทธิ์
KPN 5 อัครินทร์ ฉายแก้วสกุลชัย
KPN 8 เจินเจิน บุญสูงเนิน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สยามกลการ"จากเศษเหล็กสู่ธุรกิจหมื่นล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2014-09-19.
  2. "ปิดตำนานเวทีสยามกลการ ปิดตำนานผู้สร้างนักร้องคุณภาพเมืองไทย". สนุก.คอม. 17 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "นก ธิติมา เจริญศรี". You2Play. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  4. 4.0 4.1 "นก (KPN 6) ซิวแชมป์ เคพีเอ็น อวอร์ด 2009". Kapook.
  5. "KPN Award 2012 แนะนำผู้เข้าแข่งขัน KPN 1 - KPN 6". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
  6. "KPN Award 2012 แนะนำผู้เข้าแข่งขัน KPN 7 - KPN 12". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
  7. "เพียว คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ จากเวที KPN AWARD 2010". Music MThai. 6 กันยายน 2011.
  8. "บี้ คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ จากเวที KPN AWARD 2011". Music MThai. 6 กันยายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-12-28.
  9. "ผู้เข้าแข่งขัน 10 คนสุดท้าย KPN Award 2012". KPN Award. 2012.[ลิงก์เสีย]