เขม่า (Soot) คือกลุ่มของอนุภาคคาร์บอนที่เป็นผลจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ (Unburnt Carbon) ของไฮโดรคาร์บอน[1] เป็นสิ่งที่ต้องควบคุมอย่างเหมาะสมในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาไหม้ในสภาวะแก๊ส ยังรวมถึงอนุภาคตกค้างการสลายด้วยความร้อนของเชื้อเพลิง อย่างเช่น ถ่านหิน เซโนสเฟียร์ ถ่านไม้ และปิโตรเลียมโค้ก ที่อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายทางอากาศในช่วงการสลายด้วยความร้อน (Pyrolysis) และอาจถือได้ว่าเป็นเถ้าถ่านหรือถ่าน

การปล่อยเขม่าจากรถบรรทุก

เปลวไฟซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเขม่านั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิดหลักได้แก่ diffusion flame และ premixed flame ทั้งนี้เปลวไฟชนิดที่มักก่อให้เกิดเขม่าคือ diffusion flame เนื่องจากบางบริเวณในเปลวไฟนั้นไม่มี oxidizer เพียงพอในการเผาไหม้เชื้อเพลิง เหลือเป็น unburnt carbon จับตัวกันเป็นเขม่า เข้าสู่บรรยากาศ

เขม่าเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งหรือโรคทางปอด[2] และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน

มีทฤษฎีจำนวนมากที่ใช้อธิบายการเกิดของเขม่า หนึ่งในนั้นระบุว่าเขม่านั้นเกิดจาก Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) รวมตัวเข้าด้วยกัน การเกิดเขม่านั้นประกอบด้วยกระบวนการหลักคือ 1. nucleation 2. surface growth 3. coagulation 4. oxidation

อ้างอิง แก้

  1. Omidvarborna; และคณะ (2015). "Recent studies on soot modeling for diesel combustion". Renewable and Sustainable Energy Reviews. 48: 635–647. doi:10.1016/j.rser.2015.04.019.
  2. Bond, T. C.; Doherty, S. J.; Fahey, D. W.; Forster, P. M.; Berntsen, T.; Deangelo, B. J.; Flanner, M. G.; Ghan, S.; Kärcher, B.; Koch, D.; Kinne, S.; Kondo, Y.; Quinn, P. K.; Sarofim, M. C.; Schultz, M. G.; Schulz, M.; Venkataraman, C.; Zhang, H.; Zhang, S.; Bellouin, N.; Guttikunda, S. K.; Hopke, P. K.; Jacobson, M. Z.; Kaiser, J. W.; Klimont, Z.; Lohmann, U.; Schwarz, J. P.; Shindell, D.; Storelvmo, T.; Warren, S. G. (2013). "Bounding the role of black carbon in the climate system: A scientific assessment" (PDF). Journal of Geophysical Research: Atmospheres. 118 (11): 5380. doi:10.1002/jgrd.50171.Juliet Eilperin (2013-11-26). "Black carbon ranks as second-biggest human cause of global warming". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2013-12-04.