เขตสงวนชีวภาคมายา

เขตสงวนชีวภาคมายา (สเปน: Reserva de la biosfera maya) เป็นเขตสงวนธรรมชาติในประเทศกัวเตมาลา ซึ่งมีสภาพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติของกัวเตมาลาเป็นผู้จัดการ มีพื้นที่ 21,602 ตารางกิโลเมตร[2]

เขตสงวนชีวภาคมายา
Reserva de la biosfera maya
VI
ป่าฝนเขตร้อนหนาแน่นในเอลมีราดอร์ ประเทศกัวเตมาลา เนินด้านหน้าเป็นพีระมิดเอลตีเกรซึ่งมีพืชปกคลุม
Nickname: เขตสงวนมายา
ประเทศ กัวเตมาลา
ดินแดน จังหวัดเปเตน
จุดสูงสุด
 - elevation
จุดต่ำสุด
 - elevation
พื้นที่ 21,602.04 ตร.กม. (8,341 ตร.ไมล์)
ไบโอม ป่าชื้นเขตร้อน,
มีพื้นที่ชุ่มน้ำ[1]
IUCN category IX

สวนนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์หลายชนิดรวมทั้งจระเข้เม็กซิโก (Morelet's crocodile) และไก่งวงลายนกยูง (ocellated turkey) นอกจากนี้ยังมีพืชพรรณอุดมรวมทั้งเบรดนัต, มะฮอกกานี, มะฮอกกานีเม็กซิโก (Swietenia humilis), ฟิดเดิลวูด (Vitex gaumeri), ซีดาร์, Bucida buceras, ล็อกวูด (Haematoxylum campechianum), โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mangle) และออลสไปซ์ บริเวณมีตั้งแต่พื้นที่ชุ่มน้ำไปจนถึงทิวเขาเตี้ย ๆ และมีแหล่งน้ำจำนวนมากทั้งทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร และปล่องหินปูน[3]

เขตสงวนฯ ตั้งขึ้นในปี 2533 เพื่อพิทักษ์พื้นที่ป่าเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาที่เหลืออยู่ทางเหนือของป่าแอมะซอน แบบจำลองเขตสงวนชีวภาคซึ่งยูเนสโกนำไปปฏิบัติมุ่งส่งเสริมความสมดุลระหว่างกิจกรรมของมนุษย์กับชีวภาคโดยรวมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนอยู่ในการวางแผนอนุรักษ์ด้วย[3]

โบราณคดี แก้

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 นักโบราณคดีกัวเตมาลา สหรัฐ และยุโรปประกาศว่าพวกเขาใช้ไลดาร์ค้นหาอาคารมายาอีก 60,000 อาคารในเขตสงวนฯ[4] มีศูนย์กลางพิธีกรรมหลักของมายาสี่แห่งทั้งลานกว้างและพีระมิดซึ่งซ่อนอยู่ภายใต้กลุ่มใบหนาแน่น สิ่งปลูกสร้างอื่นมีทางหลวงยกระดับ การชลประทานซับซ้อนและระบบขั้นบันได กำแพงป้องกัน เชิงเทินและค่ายคู นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการปล้นสะดม[5] ภาพไลดาร์ยังแสดงว่าชาวมายาเปลี่ยนแปลงภูมิภาพอย่างสำคัญกว่าที่คาดไว้เดิม ในบางพื้นที่ร้อยละ 95 ของพื้นที่ที่มีอยู่มีการเพาะปลูก[4][5] มีการสำรวจพื้นที่กว่า 2,100 ตารางกิโลเมตร ผลิตชุดข้อมูลของไลดาร์ใหญ่สุดเท่าที่เคยทำสำหรับการวิจัยโบราณคดี[5]

อ้างอิง แก้

  1. UNESCO. "MAB Biospheres Reserves Directory: Guatemala – Maya". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2009.
  2. CONAP. "Listado de Áreas Protegidas (enero, 2011)" (ภาษาสเปน). conap.gob.gt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (xls)เมื่อ 8 October 2011. สืบค้นเมื่อ 14 June 2011.
  3. 3.0 3.1 "Biosphere Reserve Information". www.unesco.org. UNESCO. 8 มีนาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2018.
  4. 4.0 4.1 "Scientists find massive Mayan society under Guatemala jungle". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Exclusive: Laser Scans Reveal Maya "Megalopolis" Below Guatemalan Jungle". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2018.

17°25′48″N 90°53′26″W / 17.43000°N 90.89056°W / 17.43000; -90.89056