เกาะสิงคโปร์

เกาะหลักในสาธารณรัฐสิงคโปร์

เกาะสิงคโปร์ (อังกฤษ: Singapore Island) หรือ สิงคโปร์แผ่นดินใหญ่ (Mainland Singapore) มีชื่อในอดีตว่า ปูเลาอูจง (มลายู: Pulau Ujong; แปลว่า 'เกาะ ณ จุดปลายสุด') เป็นเกาะส่วนแผ่นดินใหญ่ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมลายู และตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมลายู เกาะนี้มีที่อยู่อาศัยจำนวนมากทั้งในด้านพื้นที่และประชากร เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้ตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะเล็กรอบ ๆ เกาะนี้[2] ใน ค.ศ. 2021 มีประชากรในเกาะนี้ 5,882,440 คน ซึ่งกระจุกอยู่ในเกาะที่มีพื้นที่ 709.2 ตารางกิโลเมตร (273.8 ตารางไมล์)[3] ทำให้เป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลกและเป็นมีประชากรบนเกาะหนาแน่นมากเป็นอันดับที่ 31 ของโลก[1]

เกาะสิงคโปร์
แผนที่เกาะสิงคโปร์ของ CIA ใน ค.ศ. 1994
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มเกาะกลุ่มเกาะมลายู
แหล่งน้ำใกล้เคียงทะเลจีนใต้
พื้นที่710 ตารางกิโลเมตร (270 ตารางไมล์)
จุดสูงสุดเนินเขาบูกิตตีมะฮ์ - 164 เมตร
การปกครอง
ประชากรศาสตร์
ประชากร5,882,440 (2021)[1]
ความหนาแน่น7,704/กม.2 (19953/ตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน
ชาวสิงคโปร์เชื้อสายมลายู
ชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดีย
ชาวสิงคโปร์แถบยูเรเชีย
โอรังเซอเลอตาร์

ศัพทมูลวิทยา แก้

เกาะนี้ถูกกล่าวถึงในบันทึกช่วงแรกเป็นปูเลาอูจง ส่วนบันทึกชาวจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 3 กล่าวถึงเกาะนี้ว่า Po Lo Chung (蒲羅中; ผูหลัวจง) ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษามลายู[4] นักเดินทางจากช่องแคบมะละกาไปยังทะเลจีนใต้จะต้องผ่านเกาะนี้ จึงทำให้เกิดชื่อนี้ เหมือนกับชื่อเก่าของรัฐยะโฮร์ อูจงตานะฮ์ มีความหมายว่า "สุดดินแดน" ในขณะที่โอรังเลาต์เรียกบริเวณนี้ว่า ปูเลาอูจง ซึ่งแปลตรงตัวว่า "เกาะปลายสุด" ข้อมูลของชาวยุโรปมักใช้ชื่ออูจงตนะฮ์หรือคำอื่น ๆ ไว้สื่อถึงสิงคโปร์[5]

ภูมิศาสตร์ แก้

เกาะนี้มีความยาวจากตะวันออกไปทางตะวันตก 50 กิโลเมตร และจากเหนือไปใต้ 26 กิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ชายฝั่ง 193 กิโลเมตร[6] จุดสูงสุดของเกาะคือเนินเขาบูกิตตีมะฮ์ เป็นเนินแกรนิตชนิดหินอัคนีที่มีความสูง 165 เมตร ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเต็มไปด้วยเนินและหุบเขาหินตะกอน ส่วนฝั่งตะวันออกมีแต่พื้นที่ราบและดินทราย มีการถมดินมาตั้งแต่ ค.ศ. 1822 โดยอังกฤษที่ควบคุมเกาะในเวลานั้นและรัฐบาลสิงคโปร์ ทำให้มีพื้นที่เกาะเพิ่มขึ้นจาก 580 ตารางกิโลเมตร (224 ตารางไมล์) ในคริสต์ทศวรรษ 1960 ไปเป็น 710 ตารางกิโลเมตร (274 ตารางไมล์) ในปัจจุบัน[7]

อ้างอิง แก้

อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 "2014 Population in Brief". Population SG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 1, 2015.
  2. "Pulau Ubin Stories". National University of Singapore. May 24, 2004.
  3. "Singapore". CIA World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 23 March 2021.
  4. Xu Yunqiao History of South East Asia 1961 Singapore World Publishing Co. 许云樵 《南洋史》 星洲世界书局 1961年
  5. Peter Borschberg, บ.ก. (December 2004). Iberians in the Singapore-Melaka Area and Adjacent Regions (16th to 18th Century). Harrassowitz. p. 98. ISBN 978-3447051071.
  6. "Yearbook of Statistics Singapore 2012" (PDF). Department of Statistics Singapore. สืบค้นเมื่อ 24 October 2012.
  7. Gillis, K., & Tan, K. (2006). The book of Singapore’s firsts (p. 96). Singapore: Singapore Heritage Society. Call no.: RSING 959.57 GIL-[HIS].
บรรณานุกรม
  • Victor R Savage; Brenda Yeoh (2004). Toponymics A Study of Singapore's Street Names. Eastern University Press. ISBN 981-210-364-3.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Kwa Chong Guan; Peter Borschberg (2018). Studying Singapore before 1800. NUS Press. ISBN 978-981-4722-74-2.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

1°22′N 103°48′E / 1.367°N 103.800°E / 1.367; 103.800