เกออร์กี ฟลิโอรอฟ

เกออร์กี นีโคลาเยวิช ฟลิโอรอฟ (อังกฤษ: Georgy Nikolayevich Flyorov; รัสเซีย: Гео́ргий Никола́евич Флёров; 2 มีนาคม ค.ศ. 191319 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990) เป็นนักฟิสิกส์ชาวรัสเซีย/โซเวียต เกิดที่เมืองรอสตอฟ-นา-โดนู เรียนที่สถาบันสารพัดช่างเลนินกราด (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยสารพัดช่างเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ในปี ค.ศ. 1940 ฟลิโอรอฟและคอนสตันติน เปตร์จัค ค้นพบฟิชชันเกิดเอง[1][2] ต่อมาในปี ค.ศ. 1942 ฟลิโอรอฟเขียนจดหมายถึงโจเซฟ สตาลินให้จับตามองการทดลองนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี และให้มีการจัดตั้งโครงการระเบิดปรมาณูโซเวียต[3] ฟลิโอรอฟจัดตั้งห้องปฏิบัติการทางนิวเคลียร์ในสถาบันร่วมเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ที่เมืองดุบนาในปี ค.ศ. 1957 และเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการถึงปี ค.ศ. 1989 และเสียชีวิตในปีต่อมา ในปี ค.ศ. 2012 ชื่อของฟลิโอรอฟได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อธาตุฟลีโรเวียม (flerovium)[4]

เกออร์กี ฟลิโอรอฟ
ฟลิโอรอฟบนแสตมป์รัสเซีย ค.ศ. 2013
เกิดเกออร์กี นีโคลาเยวิช ฟลิโอรอฟ
2 มีนาคม ค.ศ. 1913(1913-03-02)
รอสตอฟ-นา-โดนู จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990(1990-11-19) (77 ปี)
มอสโก สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
สัญชาติรัสเซีย/โซเวียต
ศิษย์เก่าสถาบันโพลีเทคนิคเลนินกราด
มีชื่อเสียงจากโครงการระเบิดปรมาณูโซเวียต
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์อุณหภาพ, ฟิสิกส์นิวเคลียร์
สถาบันที่ทำงานสถาบันร่วมเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์

อ้างอิง แก้

  1. G. Scharff-Goldhaber and G. S. Klaiber (1946). "Spontaneous Emission of Neutrons from Uranium". Phys. Rev. 70 (3–4): 229–229. Bibcode:1946PhRv...70..229S. doi:10.1103/PhysRev.70.229.2.
  2. Igor Sutyagin: The role of nuclear weapons and its possible future missions
  3. Kean, Sam (12 July 2010). The Disappearing Spoon: And Other True Tales of Madness, Love, and the History of the World from the Periodic Table of the Elements. Little, Brown. pp. 86–. ISBN 978-0-316-08908-1.
  4. "Element 114 is Named Flerovium and Element 116 is Named Livermorium - IUPAC". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-02. สืบค้นเมื่อ 2016-02-01.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้