เกลาดิอุสประกาศเป็นจักรพรรดิ

เกลาดิอุสประกาศเป็นจักรพรรดิ (ฝรั่งเศส: Claude proclamé empereur) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้าใบวาดโดยชาร์ล เลอแบล ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่เอกอลเดโบซาร์หรือโรงเรียนวิจิตรศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติในกรุงปารีส

เกลาดิอุสประกาศเป็นจักรพรรดิ
ศิลปินชาร์ล เลอแบล
ปีค.ศ. 1886
สื่อภาพวาดสีน้ำมัน
มิติ146.5 cm × 113.4 cm (57.7 นิ้ว × 44.6 นิ้ว)
สถานที่เอกอลเดโบซาร์, ปารีส

เรื่องกำหนดไว้สำหรับพรีเดอรอมใน ค.ศ. 1886 เป็นเหตุการณ์ที่มีการประกาศให้เกลาดิอุสเป็นจักรพรรดิในคริสตศักราชที่ 41 ตามที่ได้รับการบรรยายไว้ในชีวิตของซีซาร์ (เกลาดิอุส, 10) ของซุเอโตนิอุส[1] เลอแบลชนะผลงานนี้ ทำให้เขาได้รับรางวัลพักที่วิลลาเมดีชีในโรม

บริบททางประวัติศาสตร์ แก้

เรื่องที่กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันวาดคือ การประกาศเป็นจักรพรรดิโรมันของเกลาดิอุส ในวันที่ 24 มกราคม ปีที่ 41 ก่อนคริสต์ศักราช อ้างตามคำบรรยายของซุเอโตนิอุส[2] หลังเหตุการณ์ปลงพระชนม์จักรพรรดิกาลิกุลาโดยฝีมือของกองทหารไปรโตริอานี ทหารคนหนึ่งพบเกลาดิอุส สมเด็จอาของจักรพรรดิซ่อนตัวอยู่หลังผ้าม่านโดยเห็นพระบาทของพระองค์ยื่นออกมาจึงดึงตัวพระองค์ออกมา และจำพระองค์ได้ ขณะที่เกลาดิอุสทรงร้องขอชีวิต แต่ทหารก็ประกาศให้พระองค์เป็นจักรพรรดิ[3]

เรื่องช่วงนี้ในมุมมองของโยเซพุสมีความแตกต่างจากซุเอโตนิอุส ที่เย้ยหยันเกลาดิอุสว่าพยายามซ่อนตัวแต่พระบาทยื่นออกมา ในตอนนั้นกาลิกุลาเพิ่งถูกลอบปลงพระชนม์โดยไปรโตริอานีและกำลังเดินทางไปสู่พระราชวังของพระองค์ ท่ามกลางความสับสนวุ่นวาย ชาวเยอรมันซึ่งเป็นราชองครักษ์ของจักรพรรดิกาลิกุลาทราบข่าวการสวรรคตของพระองค์และไม่ได้มีส่วนร่วมในแผนการดังกล่าว ได้บุกเข้ามาและสังหารวุฒิสมาชิกที่เดินเข้ามาในสถานที่เกิดเหตุอย่างไม่เลือกหน้า ในช่วงนี้ เกลาดิอุสยืนอยู่บนที่สูงไม่กี่ขั้นและซ่อนพระองค์เองในความมืด กราตุสหนึ่งในทหารประจำพระราชวังเห็นพระองค์และไม่รู้ว่าเป็นใครเพราะเงามืด ได้จับกุมพระองค์และจำพระองค์ได้"นั่น แกร์มานิกุส"[4] เขาพูดต่อหน้าทหารที่ตามเขามา "ตั้งเขาเป็นประมุขของพวกเรากันเถอะ" เกลาดิอุสหวาดกลัวว่าจะต้องถูกสังหารเหมือนกาลิกุลา พระราชนัดดา จึงร้องขอชีวิต กราตุสจับพระหัตถ์ขวาของพระองค์ไว้ และประกาศต่อพระพักตร์ว่า จักรวรรดิจะกลับมาสู่พระองค์[5]

คำอธิบายงานจิตรกรรม แก้

 
จักรพรรดิเกลาดิอุสผู้มีพระเกศาสีขาวตามคำบรรยายของซุเอโตนิอุส หน้าซีดและอ่อนเปลี้ยด้วยความกลัว
 
ทหารที่อยู่เบื้องพระบาทของเกลาดิอุส: แสดงรูปแบบเหล็กและการเดรปตอกา

ชาร์ล เลอแบลจำถึงเหตุการณ์ตามที่ซุเอโตนิอุสกล่าวว่า เกลาดิอุสซ่อนตัวในผ้าม่านไม่มิดชิด ซึ่งเป็นฉากที่ลอว์เรนซ์ อัลมา-ทาเดอมาจิตรกรชาวอังกฤษเคยบรรยายไว้ โดยบรรยายถึงกราตุสที่จำเกลาดิอุสได้และจับพระหัตถ์ของพระองค์ มือที่กำแน่นของพวกเขาวางอยู่บนแกนแนวตั้งตรงกลางของภาพวาด ซึ่งแยก กราตุสกับเกลาดิอุส ออกจากกันเป็นสองทัศนคติที่ตรงกันข้าม ทางด้านขวา เกลาดิอุสหน้าซีดและอ่อนเปลี้ยด้วยความกลัว และดันตัวเองเข้ากับผนัง เสื้อคลุมตอกาถูกปลดออกครึ่งหนึ่งตอกย้ำถึงความหวาดกลัว สายตาเขาเบือนหน้าหนีจากทหาร ทางด้านซ้าย กราตุสกระตือรือร้นและยกแขนขึ้น ตะโกนเรียกทหารคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นชาวเยอรมันตัวสูงอยู่เบื้องหน้า และเบื้องหลังมีกลุ่มคนที่สับสนสวมหมวกเกราะเหล็กและมือ ทหารที่นั่งอยู่ที่พื้นขั้นบันไดหันหน้าไปหาเกลาดิอุส โดยวางไว้ที่มุมขวาล่างเพื่อปรับสมดุลองค์ประกอบของภาพวาด การจัดองค์ประกอบแนวตั้งนี้เป็นเรื่องปกติของฉากฆาตกรรมในกรังด์ปรีซ์[6] ตามคำบรรยายของอเล็กซิส เลอไมสเตร์ ระบุว่าตัวแบบของเกลาดิอุสคือ เกอลอน ผู้มีชื่อเสียงจากการสวมเสื้อคลุมตอกา[7]

เช่นเดียวกับภาพวาดประวัติศาสตร์อื่น ๆ การค้นหาความถูกต้องแม่นยำอยู่ที่การนำเสนอเครื่องแต่งกายและอาวุธอย่างระมัดระวัง เกลาดิอุสสวมเสื้อคลุมตอกาแบบของวุฒิสมาชิก สีขาวแถบสีม่วง เกอลอนเป็นคนที่เลอแบลเอามาเป็นแบบ มีชื่อเสียงด้านการสวมตอกา แต่บางส่วนก็ถูกเอาออกจากภาพวาด[7] กราตุสสวมเสื้อเกราะส่วนบนที่มีเกล็ด (ลอริคา สควอมาตา) และดาบที่สะโพกขวา (การสวมดาบทางด้านซ้ายถือเป็นข้อผิดพลาดทั่วไปในการออกแบบสมัยใหม่) ทหารที่นั่งสวมคาลิกาที่ทำจากแถบหนังและสวมเกราะแบ่งส่วน (ลอริคา เซ็กเมนตาตา) ชาวเยอรมันมีภาพลักษณ์แบบเหมารวมของชาวอนารยชน: ผมยาวสีแดงมัดเป็นหางม้า ลำตัวเปลือยเปล่า ผ้าเตี่ยวหนังสัตว์ ดาบยาวและขวาน

ผลตอบรับ แก้

ผลงานนี้สร้างขึ้นเพื่อชิงรางวัลพรีเดอรอมในการวาดภาพและได้รับรางวัลชนะเลิศ[1] เลอแบลชนะผลงานนี้ ทำให้เขาได้รับรางวัลพักที่วิลลาเมดีชีในโรม

การจัดแสดงนิทรรศการ แก้

ภาพวาดถูกนำเสนอในนิทรรศการ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Base Joconde: อ้างอิงหมายเลข. 50510011499, กระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  2. ข้อผิดพลาด Lua ใน package.lua บรรทัดที่ 80: module 'Module:month translator/data' not found
  3. Suétone, Claude, 10
  4. พระนามต่อท้ายของเกลาดิอุส ซึ่งพระนามเหมือนกับพระเชษฐา
  5. โยเซพุส, Antiquités judaïques, XIX, 217 et suiv.
  6. François Chausson, Geneviève Galliano et Ferrante Ferranti (Photographe), Claude, Lyon, 10 avant J.-C. - Rome, 54 après J.-C., un empereur au destin singulier, Lienart / Musée des beaux-arts de Lyon, 2018, p. 113
  7. 7.0 7.1 Alexis Lemaistre, L'Ecole des Beaux-Arts, dessinée et racontée par un élève, Paris, Firmin_Didot, 1889, p. 308