ฮิเอดะ โนะ อาเระ

ในชื่อบุคคลญี่ปุ่นนี้นามสกุลคือ ฮิเอดะ

ฮิเอดะ โนะ อาเระ (ญี่ปุ่น: 稗田 阿礼โรมาจิHieda no Are) โดยหลักรู้จักจากการมีส่วนในการเรียบเรียงตำราโคจิกิใน ค.ศ. 712 แม้ว่าไม่ทราบปีเกิดและเสียชีวิต อาเระมีบทบาทในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8

ภูมิหลัง

แก้

ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของอาเระ โดยข้อความใน เซกีวกิ (西宮記) เสนอแนะว่าอาเระอยู่ในตระกูลซารูเมะ-โนะ-คิมิ ที่สืบต้นตระกูลถึงเทพีอาเมะ-โนะ-อูซูเมะ-โนะ-มิโกโตะ[1]

นักวิชาการอย่างคูนิโอะ ยานางิตะและไซโง โนบุตสึนะตั้งทฤษฎีว่าอาเระเป็นผู้หญิง อาเระได้รับตำแหน่ง โทเนริ (ญี่ปุ่น: 舎人โรมาจิtoneri) ซึ่งโดยทั่วไปเป็นตำแหน่งบุรุษ[1][2] อย่างไรก็ตาม สมาชิกตระกูลซารูเมะ-โนะ-คิมิมีชื่อเสียงจากการเป็นมิโกะ ซึ่งเป็นสถาบันสตรี แก่ราชสำนัก นอกจากนี้ ข้อความหลายส่วนในโคจิกิดูเหมือนว่าเขียนโดยผู้หญิง[1]

โคจิกิ

แก้

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 จักรพรรดิเท็มมุมุ่งแก้ไขความไม่สอดคล้องกันของประวัติศาสตร์ชาติที่ปรากฏอยู่ในเทกิและคีวจิหลายเล่มที่หมุนเวียนอยู่กับบรรดาขุนนาง พระองค์ทรงจัดแยกตำราเหล่านี้และทรงสั่งให้อาเระ ซึ่งตอนนั้นอายุ 28 ปี จดจำตำราเหล่านี้ อาเระมีชื่อเสียงในด้านความฉลาดของตน: "อาเระผู้แจ่มใสและฉลาดตามธรรมชาติ เพียงได้ยินหรืออ่านครั้งเดียวก็สามารถสาธยายและจำได้"[1][2][3] จักรพรรดิเท็มมุสวรรคตก่อนที่ผลงานนี้เสร็จสิ้น ภายหลังจักรพรรดินีเก็มเมทรงมีพระราชพระแสรับสั่งให้โอ โนะ ยาซูมาโระเรียบเรียงโคจิกิตามที่อาเระได้จดจำไว้ ผลงานนี้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 712

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Nihon Koten Bungaku Daijiten Henshū Iinkai (1986:1518)
  2. 2.0 2.1 Kurano (1958:46–47)
  3. Yamaguchi (1997:22–23)

บรรณานุกรม

แก้
  • Kurano, Kenji; Yūkichi Takeda (1958). Nihon Koten Bungaku Taikei 1: Kojiki. Tōkyō: Iwanami Shoten. ISBN 4-00-060001-X.
  • Nihon Koten Bungaku Daijiten: Kan'yakuban [A Comprehensive Dictionary of Classical Japanese Literature: Concise Edition]. Tōkyō: Iwanami Shoten. 1986. ISBN 4-00-080067-1.
  • Yamaguchi, Yoshinori; Kōnoshi Takamitsu (1997). Shinhen Nihon Koten Bungaku Zenshū 1: Kojiki (ภาษาJapanese). Shōgakkan. ISBN 4-09-658001-5.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)