ฮินเดินบวร์คโอเมิน

ฮินเดินบวร์คโอเมิน (อังกฤษ: Hindenburg Omen) เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เชื่อว่าสามารถทำนายการตกอย่างรวดเร็วของตลาดหลักทรัพย์ได้[1] สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ จิม เมียกกะ (James Richard Miekka) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามวินาศภัยฮินเดินบวร์คที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 โดยเคนเนดี แกมเมจ (Kennedy Gammage) เพื่อนของเขา

ประวัติ

แก้

ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานส่วนใหญ่มาจากดัชนี High Low Logic Index (HLLI) ของนอร์แมน ฟอสแบค (Norman George Fosback)[2] ค่าของ HLLI คือค่าที่น้อยกว่าระหว่างค่าสูงสุดใหม่หรือค่าต่ำสุดใหม่ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก หารด้วยจำนวนของหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาด และทำการปรับเรียบโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอกซ์โพเนนเชียลที่เหมาะสม ทฤษฎีนี้ได้รับการนำเสนอโดยจิม เมียกกะ[3]

กลไก

แก้

รูปแบบนี้เป็นการผสมผสานของปัจจัยทางเทคนิคต่าง ๆ ที่พยายามวัดความสมบูรณ์ของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และขยายไปยังตลาดหลักทรัพย์อื่นทั่วไป เป้าหมายของตัวบ่งชี้คือการระบุความน่าจะเป็นที่เพิ่มขึ้นของการตกอย่างรวดเร็วของตลาด

เหตุผลก็คือภายใต้ "สภาวะปกติ" หลักทรัพย์จำนวนมากอาจสร้างจุดสูงสุดใหม่ประจำปีหรือจุดต่ำสุดใหม่ประจำปี แต่ไม่ใช่ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน เนื่องจากตลาดที่ดีมีระดับความสม่ำเสมอไม่ว่าจะขึ้นหรือลง การมีอยู่ของจุดสูงสุดใหม่และจุดต่ำสุดใหม่พร้อมกันอาจส่งสัญญาณถึงปัญหา

หลักเกณฑ์

แก้
  1. จำนวนระดับสูงสุดใหม่รายวันของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในรอบ 52 สัปดาห์ และจำนวนระดับต่ำสุดใหม่รายวันของตลาดในรอบ 52 สัปดาห์ ต่างก็มากกว่าเกณฑ์ (เสนอที่ร้อยละ 2.8)
  2. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก มีค่ามากกว่าเมื่อ 50 วันทำการซื้อขายที่ผ่านมา และอัตราการเปลี่ยนแปลง (Rate of Change, ROC) 50 วันควรเป็นค่าบวก เดิมทีค่านี้แสดงเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 สัปดาห์ที่เพิ่มขึ้น

ตามกฎแล้ว ยิ่งเงื่อนไขที่ระบุไว้ข้างต้นเกิดขึ้นในกรอบเวลาที่สั้นลง และยิ่งจำนวนเงื่อนไขที่สังเกตได้ในกรอบเวลานั้นมากขึ้นเท่าใด ผลกระทบก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นเท่านั้น หากมีการสังเกตสภาวะต่าง ๆ (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) เกิดขึ้นซ้ำหลายครั้งภายในไม่กี่สัปดาห์ นั่นเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนกว่าการสังเกตพบสภาวะทั้งหมดได้เพียงครั้งเดียวในช่วงระยะเวลา 30 วัน[4]

ดูเพิ่ม

แก้
  • ดัชนีวิกซ์ – ดัชนีความผันผวนของตลาดซื้อขายอนุพันธ์ Chicago Board Options Exchange Market

อ้างอิง

แก้
  1. Russolillo, Steven (23 สิงหาคม 2010). "Yes Folks, Hindenburg Omen Tripped Again". The Wall Street Journal.
  2. Fosback, Norman (1979). "20". Stock Market Logic. ISBN 0-917604-48-2.
  3. Morris, Gregory (2005). The Complete Guide to Market Breadth Indicators: How to Analyze and Evaluate Market Direction and Strength. McGraw-Hill. p. 219. ISBN 0-07-144443-2.
  4. "Hindenburg Omen entry". Investopedia.