ฮาร์วีย์ คุชชิง

ฮาร์วีย์ วิลเลียมส์ คุชชิง (อังกฤษ: Harvey Williams Cushing; 8 เมษายน ค.ศ. 1869 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 1939) เป็นศัลยแพทย์ประสาทชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1932 เขากล่าวถึงกลุ่มอาการคุชชิง ซึ่งเป็นความผิดปกติของระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดสูงเป็นครั้งแรก[1][2] คุชชิงและเออร์เนสต์ ซัคส์ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งประสาทศัลยศาสตร์"[3]

ฮาร์วีย์ คุชชิง
ฮาร์วีย์ คุชชิงในปี ค.ศ. 1938
เกิดฮาร์วีย์ วิลเลียมส์ คุชชิง
8 เมษายน ค.ศ. 1869(1869-04-08)
คลีฟแลนด์, รัฐโอไฮโอ, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต7 ตุลาคม ค.ศ. 1939(1939-10-07) (70 ปี)
นิวเฮเวน, รัฐคอนเนทิคัต, สหรัฐอเมริกา
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาประสาทศัลยศาสตร์
สถาบันที่ทำงาน

ประวัติ แก้

ฮาร์วีย์ คุชชิงเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1869 ที่เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เป็นบุตรคนสุดท้องจากทั้งหมด 10 คนของเฮนรี เคิร์ก คุชชิงและเบตซี เอ็ม. วิลเลียมส์[4] คุชชิงเรียนที่โรงเรียนในเมืองคลีฟแลนด์ก่อนจะเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเยลจนสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1891 สี่ปีต่อมาเขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด คุชชิงทำงานที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์และเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาลจอนส์ ฮอปกินส์ในเมืองบอลทิมอร์

หลังเรียนเฉพาะทางด้านศัลยกรรมสมอง คุชชิงในวัย 32 ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ด้านศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาลจอนส์ ฮอปกินส์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1911 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลปีเตอร์ เบนต์ บริแกมในเมืองบอสตัน[5] และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดในปีต่อมา[6]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คุชชิงรับราชการในหน่วยแพทย์ของกองทัพสหรัฐและเป็นหัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ของโรงพยาบาลทหารในฝรั่งเศส ต่อมาเขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสของฝ่ายประสาทศัลยศาสตร์ของกองพลรบนอกประเทศของกองทัพสหรัฐ คุชชิงปลดประจำการในปี ค.ศ. 1919 และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Bath จากรัฐบาลบริเตน[7] และได้รับเหรียญ Distinguished Service Medal จากกองทัพสหรัฐ[8]

คุชชิงได้รับรางวัลพูลิตเซอร์สาขาชีวประวัติและอัตชีวประวัติจากหนังสือ Life of Sir William Osler ในปี ค.ศ. 1926[9] ระหว่างปี ค.ศ. 1933-1937 เขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาที่โรงเรียนแพทย์เยล[6]

ด้านชีวิตส่วนตัว คุชชิงแต่งงานกับแคทารีน สโตน คราเวลล์ในปี ค.ศ. 1902 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 5 คน[10] คุชชิงเสียชีวิตด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดในปี ค.ศ. 1939

อ้างอิง แก้

  1. Shomali, Mansur E.; Hussain, Mehboob A. "Cushing's syndrome: from patients to proteins" (PDF). European Journal of Endocrinology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-19. สืบค้นเมื่อ September 14, 2017.
  2. "Cushing syndrome". Britannica. สืบค้นเมื่อ September 14, 2017.
  3. Witters, Lee A. (Winter 2007). "A Diligent Effort". Dartmouth Medicine. p. 3. สืบค้นเมื่อ May 31, 2016.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-24. สืบค้นเมื่อ 2017-09-14.
  5. "Harvey Williams Cushing". Britannica. สืบค้นเมื่อ September 14, 2017.
  6. 6.0 6.1 "Brainman". Time. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-04. สืบค้นเมื่อ March 21, 2010.
  7. Harvard's Military Record during the World War. Harvard Alumni Association. 1921. pg. 238.
  8. Decorations of the United States Army, 1862-1926. War Department. Office of the Adjutant General. Washington. 1927. pg. 693.
  9. "The Life of Sir William Osler, 2 vols., by Harvey Cushing". The Pulitzer Prizes. สืบค้นเมื่อ September 14, 2017.
  10. "Harvey Williams Cushing". Famous People. สืบค้นเมื่อ September 14, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้