อู๋ ปังกั๋ว

นักการเมืองชาวจีน (ค.ศ. 1941–2024)

อู๋ ปังกั๋ว (จีน: 吴邦国; พินอิน: Wú Bāngguó; 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 2024) เป็นนักการเมืองชาวจีนผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกอันดับสองของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ถึง 2022 และประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติตั้งแต่ ค.ศ. 2003 ถึง 2013

อู๋ ปังกั๋ว
吴邦国
อู๋ใน ค.ศ. 2012
ประะานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประขาชนแห่งชาติ คนที่ 8
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม ค.ศ. 2003 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2013
รองหวัง จ้าวกั๋ว
ก่อนหน้าหลี่ เผิง
ถัดไปจาง เต๋อเจียง
รองนายกรัฐมนตรีจีน
ดำรงตำแหน่ง
18 มีนาคม ค.ศ. 1995 – 16 มีนาคม ค.ศ. 2003
หัวหน้ารัฐบาลหลี่ เผิง
จู หรงจี
เลขาธิการพรรคประจำนครเซี่ยงไฮ้
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน ค.ศ. 1991 – 28 กันยายน ค.ศ. 1994
รองหฺวาง จฺวี๋ (นายกเทศมนตรี)
ก่อนหน้าจู หรงจี
ถัดไปหฺวาง จฺวี๋
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 กรกฎาคม ค.ศ. 1941(1941-07-22)[1]
ผิงป้า กุ้ยโจว สาธารณรัฐจีน
เสียชีวิต8 ตุลาคม ค.ศ. 2024(2024-10-08) (83 ปี)
ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เชื้อชาติจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คู่สมรสจาง รุ่ยเจิน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชิงหฺวา
อาชีพวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ吴邦国
อักษรจีนตัวเต็ม吳邦國

อู๋เป็นวิศวกรไฟฟ้าโดยอาชีพ และมีชื่อเสียงทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างการทำงานของเขาในเซี่ยงไฮ้ ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เขาเป็นผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเซี่ยงไฮ้ โดยทำงานร่วมกับเจียง เจ๋อหมิน ซึ่งขณะนั้นเป็นนายกเทศมนตรีและต่อมาเป็นเลขาธิการพรรคของเมือง ส่งผลให้อู๋เข้าสังกัดกลุ่มการเมืองของเจียง เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำเซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. 1991 สืบต่อจากจู หรงจี ทำให้เขาได้รับที่นั่งในกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1992

เขาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอันดับสามของประเทศใน ค.ศ. 1995 โดยมีหน้าที่รับผิดชอบรัฐวิสาหกิจและการก่อสร้างเขื่อนสามผา เขาเข้าร่วมคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองใน ค.ศ. 2002 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติใน ค.ศ. 2003 ในฐานะหนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดภายใต้หู จิ่นเทา เลขาธิการพรรค อู๋ได้รับการพิจารณาโดยทั่วไปว่ามีจุดยืนอนุรักษ์นิยมต่อการปฏิรูปการเมืองในระหว่างดำรงตำแหน่งของเขา เขาลงจากตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองใน ค.ศ. 2012 และจาง เต๋อเจียงขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติใน ค.ศ. 2013 แทน

ชีวิตช่วงต้น

แก้

อู๋เกิดเมื่อ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ในผิงป้า มณฑลกุ้ยโจว[1][2] มีรากเหง้าบรรพบุรุษอยู่ในเฝย์ตง มณฑลอานฮุย อู๋ จงซิง พ่อของเขา เป็นนักทำแผนที่ที่ทำงานเกี่ยวกับการฉายแผนที่[3] เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยชิงหฺวาใน ค.ศ. 1960 โดยเรียนวิชาวิศวกรรมหลอดสุญญากาศที่ภาควิชาวิทยุอิเล็กทรอนิกส์ และจบการศึกษาใน ค.ศ. 1967[4] เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1964[5] หลังจบการศึกษา เขาได้รับการว่าจ้างเป็นคนงานและช่างเทคนิคที่โรงงานหลอดอิเล็กทรอนิกส์ที่ 3 ของเซี่ยงไฮ้ และต่อมาเป็นรองหัวหน้าและหัวหน้าแผนกเทคนิคตั้งแต่ ค.ศ. 1976 ถึง 1978 ในที่สุดเขาจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำโรงงานในฐานะเลขาธิการพรรคประจำโรงงาน ใน ค.ศ. 1978 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นรองผู้จัดการบริษัท Shanghai Electronic Elements Company และระหว่าง ค.ศ. 1979 ถึง 1981 เป็นรองผู้จัดการบริษัท Shanghai Electron Tube Company ระหว่าง ค.ศ. 1981 ถึง 1983 เขาทำงานเป็นรองเลขาธิการสำนักมาตรวัด เครื่องมือ และโทรคมนาคมเซี่ยงไฮ้

อาชีพการเมือง

แก้

การทำงานของอู๋ในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เขาได้รับตำแหน่งในระดับสูงของอำนาจในเมือง เขาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมาธิการพรรคประจำเซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. 1983 ทำให้เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของวงในทางการเมืองของเซี่ยงไฮ้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับมอบหมายให้ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[5] ในช่วงเวลานี้ เขาทำงานร่วมกับเจียง เจ๋อหมิน นายกเทศมนตรีและต่อมาเป็นเลขาธิการพรรคประจำเมืองนั้น[5] ระหว่าง ค.ศ. 1985 ถึง 1991 อู๋ถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคประจำเซี่ยงไฮ้ และต่อมาเป็นเลขาธิการพรรคประจำเซี่ยงไฮ้สืบต่อจากเจียง ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งในเซี่ยงไฮ้ เขาถูกมองว่าเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมากที่สุดในการพัฒนาเขตผู่ตงใหม่[4]

เมื่อสถานะทางการเมืองและเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้เติบโตขึ้นจากการปฏิรูปเศรษฐกิจ อู๋ก็ได้รับที่นั่งในกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน สภาปกครองของจีน ใน ค.ศ. 1992 ต่อมาใน ค.ศ. 1995 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอันดับสามภายใต้นายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง ในช่วงเวลานี้ เขาดำรงตำแหน่งในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ และยังดูแลโครงการเขื่อนสามผาด้วย[5] เขาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีต่อมาในสมัยของจู หรงจี และอยู่ในตำแหน่งนั้นจนถึง ค.ศ. 2003[ต้องการอ้างอิง]

ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ

แก้

ในการประชุมสภาแห่งชาติพรรคครั้งที่ 16 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2002 อู๋เข้าสู่กลุ่มผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ โดยดำรงตำแหน่งเป็นอันดับสองในคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นรองเพียงหู จิ่นเทา เลขาธิการใหญ่ในขณะนั้นเท่านั้น ใน ค.ศ. 2003 ในการประชุมครั้งแรกของสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 10 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ในการประชุมครั้งแรกของสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 11 เขาได้รับการเลือกอีกกลับมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติอีกครั้งในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2008[6] กลายเป็นบุคคลแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานฯ มากกว่าสองสมัยนับตั้งแต่จู เต๋อ[7]

ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง อู๋ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มเซี่ยงไฮ้และเป็นผู้ร่วมงานของเจียง เจ๋อหมิน[8] โดยทั่วไปแล้วเขาใช้แนวทางอนุรักษ์นิยมต่อการปฏิรูป[5][8] เขาถูกบรรยายว่ามีบทบาทไม่โดดเด่นนักในช่วงดำรงตำแหน่ง[8]

 
อู๋พบกับนายกรัฐมนตรีมาร์ก รึตเตอ ของเนเธอร์แลนด์ในอัมสเตอร์ดัม ค.ศ. 2012

ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับกฎหมายพื้นฐานฮ่องกงในฮ่องกงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 อู๋เตือนว่าฮ่องกงมีอำนาจแค่เท่าที่ปักกิ่งให้เท่านั้น และรัฐบาลเขตปกครองพิเศษเป็นแบบนำโดยฝ่ายบริหารและไม่ควรทำตามระบบตะวันตกอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า[9] เขายังกล่าวอีกว่ารัฐบาลกลางสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยของฮ่องกง ตราบใดที่อยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายพื้นฐานฮ่องกง แม้คำพูดเหล่านั้นจะเปิดช่องให้ตีความได้หลายแบบ แต่ก็ก่อให้เกิดข้อถกเถียงอย่างมากในฮ่องกง โดยนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยเรียกมันว่าเป็นการท้าทายต่ออำนาจปกครองตนเองของดินแดน[9]

ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ อู๋กล่าวสุนทรพจน์ประจำปีในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติในเดือนมีนาคมของทุกปี สุนทรพจน์เหล่านี้กล่าวไว้เสมอว่าจีนจะไม่นำระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรค การแยกใช้อำนาจ หรือระบบสหพันธรัฐมาใช้[10] ใน ค.ศ. 2011 อู๋เสนอ "ห้าสิ่งที่ไม่ทำ" (五不搞) โดยประกาศว่า "[พวกเรา] ประกาศอย่างจริงจังว่าเราจะไม่ใช้ระบบหลายพรรคผลัดกันดำรงตำแหน่ง การกระจายอุดมการณ์ชี้นำ การแยกใช้อำนาจและระบบสองสภา ระบบสหพันธรัฐ หรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ"[10]

วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 อู๋เข้าร่วมพิธีเปิดตัวยานอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารเฉินโจว 9[11]

อู๋เกษียณจากคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการประชุมพรรคครั้งที่ 18 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 และจาง เต๋อเจียง สืบทอดตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติต่อในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013[8] ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งสุดท้ายในฐานะประธานฯ เขากล่าวว่า "เราจะไม่ลอกเลียนแบบระบบการเมืองตะวันตกอย่างเด็ดขาด"[4]

หลังเกษียณ

แก้

เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกษียณอายุคนอื่น ๆ ในจีน อู๋หยุดปรากฏตัวต่อสาธารณะยกเว้นการเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญ เช่น งานฉลองวันชาติ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 อู๋ถูกถ่ายภาพขณะเยี่ยมชมไร่ผักกาดก้านขาวในอู้ยฺเหวียน มณฑลเจียงซี[8]

อู๋เสียชีวิตเมื่อเวลา 04:36 น. ของวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2024 ด้วยวัย 83 ปี[4] พิธีอำลาจัดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม โดยสี จิ้นผิง, หลี่ เฉียง, จ้าว เล่อจี้, หวัง ฮู่หนิง, ไช่ ฉี, ติง เซฺวเสียง, หลี่ ซี, หาน เจิ้ง และผู้นำคนอื่น ๆ มาแสดงความเคารพครั้งสุดท้ายที่สุสานปฏิวัติปาเป่าชาน ขณะที่หู จิ่นเทาได้ส่งพวงหรีดมา ร่างของเขาถูกเผาในวันเดียวกัน[12] ธงชาติถูกลดครึ่งเสาที่อาคารรัฐบาลจีน สถานทูต และในฮ่องกงและมาเก๊า[13]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "吴邦国同志生平" [Biography of Comrade Wu Bangguo]. สืบค้นเมื่อ 14 October 2024.
  2. "Wu Bangguo: I have many stories in Guizhou" (ภาษาจีน). China Economic Net. 6 March 2008.
  3. 王盛水 (2012). "胸中自有万里江山——记测绘制图学家吴忠性". 江淮文史. 安徽省政协文化文史和学习委员会 (6): 109–123. ISSN 1005-572X.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Dang, Yuanyue (8 October 2024). "Wu Bangguo, formerly China's No 2 official, dies at age 83". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 8 October 2024.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Wu Bangguo: Vice-Premier". BBC News. สืบค้นเมื่อ 18 June 2023.
  6. "Wu Bangguo reelected chairman of NPC Standing Committee". Xinhua News Agency. 15 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2008. สืบค้นเมื่อ 18 June 2023.
  7. Lin, Xia (15 July 2015). "盘点历任全国人大常委会委员长:叶剑英彭真上任时最年长" [Review of the past chairmen of the NPC Standing Committee: Ye Jianying and Peng Zhen were the oldest when they took office]. The Paper. สืบค้นเมื่อ 15 October 2024.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Retired leader Wu Bangguo makes rare public appearance". South China Morning Post. 25 March 2015. สืบค้นเมื่อ 18 June 2023.
  9. 9.0 9.1 "Wu warning on limited power stuns Hong Kong". The Standard HK. 7 June 2007. สืบค้นเมื่อ 31 March 2012.
  10. 10.0 10.1 "吴邦国:中国不搞多党轮流执政" [Wu Bangguo: China does not practice the system of multiple parties holding office in rotation]. BBC News. 10 March 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2024.
  11. "God nine astronauts launch soon enter the spacecraft cabin" (ภาษาจีน). China News net. 2012.
  12. "吴邦国同志遗体火化 习近平等到八宝山革命公墓送别" [Comrade Wu Bangguo's body was cremated, Xi Jinping arrived to bid farewell at the Babaoshan Revolutionary Cemetery]. State Council of the People's Republic of China. 14 October 2024. สืบค้นเมื่อ 15 October 2024.
  13. "Flags at half-mast to mourn Wu Bangguo's passing". RTHK. 14 October 2024. สืบค้นเมื่อ 15 October 2024.