อุลตร้าแมนไกอา (ญี่ปุ่น: ウルトラマンガイアโรมาจิUrutoraman Gaia) เป็นละครโทรทัศน์ชุดโทคุซัทสึของซีรีส์อุลตร้าแมน ผลิตโดยสึบุรายะ โปรดักชั่น ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1998 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1999 มีจำนวนตอนทั้งหมด 51 ตอน

อุลตร้าแมนไกอา
สร้างโดยTsuburaya Productions
แสดงนำTakeshi Yoshioka, Hassei Takano
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดUltraman Gaia! by Masayuki Tanaka & Kazuya Daimon
ดนตรีแก่นเรื่องปิดLovin' You Lovin' Me by B.B.WAVES
Beat on Dream on by Tomohiko Kikuda
ผู้ประพันธ์เพลงToshihiko Sahashi
ประเทศแหล่งกำเนิดJapan
จำนวนตอน51
การผลิต
ความยาวตอน24 minutes (per episode)
ออกอากาศ
เครือข่ายTBS, MBS
ออกอากาศSeptember 5, 1998 –
August 28, 1999

ภาพรวม แก้

เนื้อหาของซีรีส์อุลตร้าแมนไกอา จะแยกจากเนื้อเรื่องส่วนของทีก้า และ ไดน่า อย่างชัดเจนโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยเป็นซีรีส์แรก ที่มีอุลตร้าแมนตัวดำเนินเรื่องถึง 2 คน รวมถึงเป็นอุลตร้าแมนที่ถือกำเนิดบนโลกอีกด้วย

เนื้อเรื่อง แก้

ในยุคที่วิทยาศาสตร์ของโลกกำลังก้าวหน้า ได้มีคำเตือนถึงการมาเยือนของผู้นำมาซึ่งความวิบัติ ซึ่งหลังจากนั้นสัตว์ประหลาดอวกาศ COV.ก็ปรากฏตัวขึ้นและบุกโจมตีดาวโลก ในขณะที่ผู้คนกำลังสิ้นหวัง ทากะยามะ กามุ เด็กหนุ่มอัจฉริยะที่ได้รับเลือกจากเจตน์จำนงแห่งโลก ให้เป็นผู้ครอบครองพลัง กลายเป็น อุลตร้าแมนไกอา เพื่อต่อสู้กับผู้นำพาความหายนะ นอกจากจะต้องต่อสู้กับเหล่าสัตว์ประหลาดแล้ว ไกอายังต้องรับมือกับอุลตร้าแมนอากูล หรือ ฟูจิมิยะ ฮิโรยะ ที่มีเป้าหมายขัดแย้งกับตนเอง การต่อสู้ที่มีโลกและมนุษยชาติเป็นเดิมพันได้เริ่มขึ้นแล้ว

ตัวละคร แก้

อุลตร้าแมน แก้

ทากะยามะ กามุ (高山 我夢)
แสดงโดย โยชิโอกะ ทาเคชิ (吉岡 毅志)
ตัวเอกของเรื่อง เด็กหนุ่มวัย 20 ปี บ้านเกิดอยู่จังหวัดชิบะ เขาเป็นหนึ่งในเด็กอัจฉริยะจากทั่วโลกที่เกิดมาในยุคปี 1980 โดยได้รับเลือกเป็นตัวแทนสมาคม อัลเคมี่สตาร์ ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นผู้ที่ได้รับปริญญาเอก สาขาวิชาฟิสิกส์ควอนตัม เมื่อตอนอายุ 17 ปีมาแล้ว ตอนแรกเขาทำการทดลองอยู่ในห้องวิจัย ฟิสิกส์ควอนตัม ของมหาวิทยาลัยโจนัน แต่เกิดไปได้รับพลังของ อุลตร้าแมนไกอา จากโลกเข้า ในระหว่างที่เขากำลังทำการเร่งอณูแสง จึงเป็นเหตุให้เขาได้เข้าร่วมทีม XIG เพื่อร่วมต่อสู้กับ ผู้นำความหายนะ ในฐานะของนักวิเคราะห์ข้อมูล
ในตอนแรก ๆ ที่เข้าร่วมทีม เขาจะมีปากเสียงกับสมาชิกคนอื่นเป็นบางครั้ง แต่ด้วยความที่เป็นคนซื่อ ๆ และอ่อนโยน รวมถึงความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำของเขา จึงทำให้เขาได้รับความไว้วางใจจากคนรอบข้างเป็นอย่างมากในเวลาต่อมา แต่กระนั้น อัทซึโกะก็ยังมองเขาเหมือนกับเป็นเด็ก และด้วยความที่กามุเป็นคนปากจัดพอตัว ทำให้บางครั้งเขาก็เผลอพูดอะไรที่ไม่ควรพูดออกไป จนทำให้ อัทซึโกะ กับ จอร์จี้ โมโหก็มี
กามุเป็นคนที่เกลียดความขัดแย้งกับผู้อื่น ตอนเด็ก ๆ เขาจึงมักจะถูกเพื่อนร่วมชั้นอิจฉาในความฉลาด และถูกกลั่นแกล้งอยู่บ่อย ๆ เมื่อได้มาอยู่ในทีม XIG นอกจากเขาจะสนิทกับคนใน โอเปอเรชั่นครูว์ แล้ว เขายังสนิทกับ คาจิโอะ และ ทีมเฮอร์คิวลิส ด้วย เขายังมีเพื่อนสนิทจากมหาวิทยาลัยอย่าง ซาโต้ , มาโคโตะ และ นาคาจิ ด้วย ซึ่งทั้ง 3 เป็นสหายที่พึ่งพาได้เช่นกัน
ฟูจิมิยะ ฮิโรยะ (藤宮 博也)
แสดงโดย ทาคาโนะ ฮัซเซย์ (高野 八誠)
ชายหนุ่มวัย 22 ปี หนึ่งในอดีตสมาชิกอัลเคมี่สตาร์รุ่นบุกเบิก เป็นผู้แปลงร่างเป็น อุลตร้าแมนอากูล ด้วยพลังแห่งแสงสีน้ำเงินจากมหาสมุทร ซึ่งช่วงต้นเรื่องถือว่าเป็นทั้งรุ่นพี่และศัตรูของกามุ เขาได้เฝ้าค้นหาคำตอบที่จะรับมือการคุกคามจาก "ผู้นำพาความหายนะ" ที่ ไครซิส คอมพิวเตอร์ควอนตัมแสงที่เขาเป็นคนสร้างขึ้น ได้พยากรณ์เอาไว้ล่วงหน้า จนในที่สุดเขาก็ได้พลังของอากูลมา และมีความคิดเห็นขัดแย้งกับ ไกอา ตรงที่ว่า "การจะปกป้องโลกเอาไว้ให้ได้นั้นจำเป็นจะต้องกำจัดมนุษย์ทิ้ง" ตามคำคอบที่ไครซิสได้ให้ไว้ แต่ว่าเมื่อเขาได้ทำความรู้จักกับ เรย์โกะ และ กามุ จิตใจของเขาก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดีทีละนิด จนได้รู้ว่า "คำตอบ" ของไครซิสที่ชี้นำทางเขาอยู่นั้น ถูกแทรกแซงเข้ามาจากภายนอกตั้งแต่แรก เขาจึงได้ตระหนักถึงความจริงว่าเขาคิดผิดมาตลอด เลยยอมมอบพลังของตนให้กับกามุ ก่อนจะเดินจากไป หลังจากนั้นเขาก็ต้องแบกรับความรู้สึกผิดบาปที่ตนเคยก่อไว้ จนถึงกับทำให้มีผมหงอกแซมขึ้นมาบนศีรษะ
ด้วยเจตนาอันแรงกล้าของเขาที่อยากจะกลับมาต่อสู้อีกครั้ง จึงทำให้พลังจากท้องทะเลตอบรับเขา ในที่สุดฟูจิมิยะก็ได้พลังของอากูลกลับคืนมา และยังกลายเป็น อุลตร้าแมนอากูล V2 ที่มีพลังมากขึ้นไปกว่าเดิมอีกด้วย หลังจากเสร็จสิ้นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายแล้ว เขาก็ออกเดินทางเพียงลำพัง และต้องถูก G.U.A.R.D. ตามล่าตัวอีกครั้ง เพราะเรื่องที่เขาดันไปปกป้องคุ้มครองสัตว์ประหลาดเพราะเห็นว่าจากนี้ไปจะเป็นยุคสมัยที่ มนุษย์ กับ สัตว์ประหลาดบนโลก จะต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน

สมาชิกของ XIG แก้

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ภายใต้สังกัดของกองกำลัง GUARD. มีชื่อหน่วยเต็มว่า eXpand Interceptive Guardians ในทีมจะแบ่งเป็นกลุ่มงานเฉพาะทางอย่างชัดเจน

เจ้าหน้าที่และโอเปอเรเตอร์ แก้

เจ้าหน้าที่ทั้งหมดจะประจำการอยู่ที่ เอเรียล เบส ฐานทัพลอยฟ้า ซึ่งมีคอมมานเดอร์ อิชิมูโระ ทำหน้าที่สั่งการ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการทั้งหมด ณ ห้องบัญชาการของ XIG

อิชิมูโระ อาคิโอะ (石室 章雄)
แสดงโดย วาตะนาเบะ ฮิโรยูกิ (渡辺 裕之)
ผู้บัญชาการ (คอมมานเดอร์) ของทีม XIG วัย 45 ปี มีบุคลิกสุขุมเยือกเย็นและเงียบขรึม แม้แต่สถานการณ์คับขัน เขาก็ยังวางแผนการรบได้อย่างใจเย็น เขาแต่งงานแล้ว และมีลูกชายอยู่ 2 คน อาคิโอะมีงานอดิเรกคือการชงชาแบบญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีบางครั้งที่เขานั่งชงชาให้กับคนอื่นดื่มด้วย เขาคือคนที่รู้ว่า กามุ คือ อุลตร้าแมนไกอา ก่อนคนอื่น แต่ก็ไม่ได้พูดเรื่องนี้ให้กับใคร จนกระทั่งตอนสุดท้าย
สึสึมิ เซย์อิจิโร่ (堤 誠一郎)
แสดงโดย อุคาจิ ทาคาชิ (宇梶 剛士)
หัวหน้าภาคปฏิบัติการของทีม XIG วัย 33 ปี ซึ่งเคยสังกัดอยู่หน่วยกองกำลังป้องกันอากาศยาน โดยมียศเป็นถึงขั้นนาวาอากาศโท ซึ่งว่ากันว่าเขาคือนักวางยุทธศาสตร์ที่เยี่ยมที่สุดของหน่วย ส่วนใหญ่เวลาที่ลูกทีมจะออกปฏิบัติการ เขาจะจ้องหน้าลูกทีมก่อนออกรบ เพื่อเป็นการเรียกความเชื่อมั่นของทีม แต่บางมุมเขาก็ออกตัวปกป้องลูกทีมมากเกินไป
ซาซากิ อัทสึโกะ (佐々木 敦子)
แสดงโดย ฮาชิโมโตะ ไอ (橋本 愛)
เจ้าหน้าที่โอเปอเรเตอร์สาว วัย 21 ปี คนที่สนิทกับเธอมักจะเรียกว่า "อักโกะ" มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งระดับเยี่ยมยุทธ์ ในช่วงแรกเธอชอบ คาจิโอะ กัปตันแห่งทีมไลท์นิ่ง แต่เมื่อรู้ว่า คาจิโอะ มีใจให้กับ ริตซึโกะ พี่สาวของเธอ เธอเลยยอมถอนตัว แล้วหลังจากนั้นเธอก็ค่อย ๆ เริ่มมีใจให้กับ กามุ ทีละนิด แต่ก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์คืบหน้าไปมากสักเท่าไรนัก เธอเป็นคนที่มีนิสัยร่าเริงอยู่ตลอดเวลา แต่ในตอนเด็ก ๆ เธอเองก็เคยต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว เนื่องจากความที่เป็นเด็กขี้โรคมาแล้ว แต่ดูเหมือนว่า เธอจะเคยมีช่วงที่ชอบเข้าร้านเกมเซ็นเตอร์เป็นประจำเหมือนกัน ทำให้เธอเป็นคนเล่นเกมเก่งพอตัว อัทสึโกะมักจะชอบทำตัวเหมือนเป็นพี่สาวที่เห็น กามุ เป็นเด็กอยู่ประจำ แต่พอกามุอยู่ใกล้ผู้หญิงอื่น เธอจะหึงถึงขั้นหักปากกาทิ้ง
จอร์จี้ รีแลนด์ (ジョジー・リーランド)
แสดงโดย มาเรีย เทเรซ่า เกาว์ (マリア・テレサ・ガウ)
เจ้าหน้าที่โอเปอเรเตอร์สาววัย 20 ปี ลูกครึ่งออสเตรเลียน-ญี่ปุ่น เป็นคู่หูของอัตซึโกะ เธอเชี่ยวชาญด้านวิศวะกรรมคอมพิวเตอร์ และอิเลคทรอนิคส์ เธอเป็นคนที่มีนิสัยชอบชื่นชมตัวเอง และด้วยความที่รอบรู้ด้านวิศวกรรมเหมือนกัน เธอจึงสนิทสนมและพูดจาเข้าขากันได้ดีกับกามุ แต่ในด้านอุปกรณ์กลไกที่ซับซ้อนอย่าง XIG-NAVI เธอจะรู้ดีกว่ากามุเสียอีก นอกจากนี้เธอยังเป็นคนเดียวในทีม XIG ที่มีสัตว์เลี้ยงเป็นแมวดำ และยังเคยถูกกามุติดสินบนด้วยไอติม เพื่อเป็นค่าปิดปากไม่ให้ใครรู้ว่า กามุแอบดัดแปลงยานไฟเตอร์โดยพลการ
อุคาอิ ไซกะ (鵜飼 彩香)
แสดงโดย ทานากะ อายากะ(田中 彩佳)
เจ้าหน้าที่โอเปอเรเตอร์หญิง วัย 20 ปี ที่มาทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่เสริมให้กับ อัตซึโกะ และ จอร์จี้ ในยามฉุกเฉิน เธอเป็นคนที่ไม่อ่อนไหวต่อสิ่งใดๆ อย่างตอนที่เจอสัตว์ประหลาดที่น่าตาน่ากลัวอย่าง โกคิกุม่อน เธอก็ยังนิ่งเฉยอยู่ได้ หลังฐานแอเรียลเบสพังลง พวกเธอทั้ง 3 ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง

หน่วยปฏิบัติการ แก้

ทีมปฏิบัติการภาคสนามของ XIG เปรียบเสมือนหน้าด่านของหน่วย โดยจะแบ่งเป็นทีมภาคอากาศ ได้แก่ ไลท์นิ่ง ฟอลคอน และ โครว์ ทีมภาคพื้นดิน คือ เฮอร์คิวลิส รวมถึงทีมภาคพื้นสมุทร อย่าง มาร์ลิน และทีมกู้ภัยอย่าง ซีกัล ด้วย

ทีมไลท์นิ่ง แก้
ทีมภาคอากาศยานที่ประกอบไปด้วยนักบินมือหนึ่งรุ่นเยาว์ ซึ่งเสนาธิการชิบะ มักจะเรียกว่า "ท็อปกันแห่งกองกำลังป้องกัน" ซึ่งที่มาของชื่อทีมนั้นมาจากคำว่าสายฟ้า
คาจิโอะ คาซึมิ (梶尾 克美)
แสดงโดย นาคางามิ มาซามิ (中上 雅巳 )
หัวหน้าทีมไลท์นิ่งวัย 24 ปี ผู้ถูกดึงตัวจากฝูงบินของกองกำลังป้องกัน ให้มาเข้าร่วมทีม XIG ซึ่งเป็นเขามีความภาคภูมิใจในฝีมือของตนเป็นอย่างสูง ทั้งยังมีความมั่นใจในการบังคับยานเป็นอย่างมาก แต่ช่วงแรกๆเขาออกจะทะนงตัวมากเกินไปหน่อย และไม่ค่อยจะพึงพอใจนักที่ กามุ ซึ่งเป็นพลเรือนธรรมดาแถมยังเป็นนักศึกษามาเข้าร่วมทีม XIG และไม่ค่อยชอบคบหาสมาคมกับใครสักเท่าไรนัก โดยจะสังเกตเห็นได้ว่าเขามักจะทิ้งระยะห่างและไม่ยอมฟังคำแนะนำของ กามุ ในขณะรบ แต่พอนานวันเข้าเขาก็เริ่มที่จะปรับความเข้าใจได้และสนิทสนมกันในที่สุด
คิตาดะ ยาซึชิ (北田 靖)
แสดงโดย ฮาเซกาวะ คัตสึฮิโกะ (長谷川 勝彦 )
ลูกทีมไลท์นิ่งวัย 23 ปี ผู้มีรูปร่างบึกบึน ซึ่งผ่านการฝึกฝนทั้งด้านร่างกายและจิตใจมาเป็นอย่างดี ทว่ายานไฟท์เตอร์ที่เขาบังคับมักจะโดนยิงตกอยู่บ่อยครั้ง
โอกาวาระ ซาโตชิ (大河原 聡志)
แสดงโดย ซาวากิ ยูสุเกะ (沢木 祐介)
สมาชิกทีมไลท์นิ่งผู้ไม่ค่อยยึดถือกฎเกณฑ์ และไม่ค่อยจะใส่ใจในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งยังเป็นคนที่ชอบขับยานไฟท์เตอร์แบบบ้าพลัง ทำให้ยานไฟท์เตอร์ที่เขาขับมักจะถูกยิงตกอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเขาเองก็เคยถูก ไกอา ช่วยเหลือเอาไว้ และเป็นผู้ที่บอกว่า "ไกอาเป็นเพื่อนของพวกเรา" ก่อนใคร ๆ
ทีมฟอลคอน แก้
ทีมปฏิบัติการภาคอากาศ สมาชิกทั้งหมดเป็นนักบินระดับยอดฝีมือ ซึ่งที่มาของชื่อทีมนั้นมาจากคำว่าเหยี่ยว ซึ่งจะประกอบไปด้วยเหล่านักบินมืออาชีพ ที่อาศัยวิธีการต่อสู้ด้วยทีมเวิร์คอันยอดเยี่ยม และด้วยประสบการณ์ ความชำนาญที่เหนือกว่าทีมไลท์นิ่ง ในตอนที่ 32 พวกเขาได้มองเห็นอนาคตว่าพวกเขาจะต้องพลีชีพเพื่อปกป้องฐานทัพเอเรียลเบส
โยเนดะ ทัตสึฮิโกะ (米田 達彦)
แสดงโดย คางาวะ คุโรโนะสุเกะ (賀川 黒之助)
หัวหน้าทีมฟอลคอนวัย 34 ปี อดีตท็อปกันของกองกำลังป้องกัน ซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก หัวหน้าสึสึมิ เป็นอย่างมากเขามีความคิดว่า ต่อจากนี้ไป คือ ยุคสมัยที่จะต้องอบรมบ่มเพาะคนหนุ่มรุ่นหลังซึ่งก็คือพวกทีมไลท์นิ่งนั่นเอง เขาเป็นคนที่บินมารับ กามุ ที่กลับเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย
ฮายาชิ โคอิจิ (林 幸市)
แสดงโดย ชิโอทานิ โชโกะ (塩谷 庄吾)
เขาเป็นรุ่นพี่ของ คาจิโอะ สมัยที่อยู่กองกำลังป้องกัน อายุ 33 ปี สมัยหนุ่ม ๆ เขาเองก็มีลักษณะนิสัยเหมือนกับคาจิโอะ แต่หลังจากที่เขาได้ถูก โยเนดะ ช่วยเอาไว้ในขณะที่เครื่องบินของเขากำลังจะตก จากการที่เขาเกิดอาการหน้ามืดในตอนซ้อมรบ นับจากนั้นเป็นต้นมาเขาก็ให้ความศรัทธาในตัวของโยเนดะ เนื่องจากเครื่องของเขาถูก จูริ ยิงตกไปในตอนซ้อม เขาจึงมักจะถูก ทีมโครว์ เยาะเย้ย
ซึคาโมริ โทรุ (塚守 亨)
แสดงโดย อิชิคาวะ ชิน (石川 真)
เขาคือนักบินคนแรกที่เป็นผู้เข้ารับการทดสอบกลยุทธ์ทางอากาศดังนั้นเมื่อเทียบกับนักบินคนอื่น ๆ ที่อยู่ในรุ่นเดียวกันแล้วเขาคือผู้ที่มีชั่วโมงบินมากที่สุด แม้ภายนอกจะดูว่าเขาเป็นคนที่สุภาพนุ่มนวล แต่ที่จริงแล้วเขาเองก็มีความขัดแย้งอยู่ในตัวซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการสะกดกลั้นอารมณ์ชั่ววูบเช่นกัน
ทีมโครว์ แก้
ทีมปฏิบัติการภาคอากาศ ที่ประกอบไปด้วยนักบินหญิงล้วน ซึ่งที่มาของชื่อทีมนั้น มาจากคำว่า อีกา ที่มีปัญญาอันหลักแหลม ตรงกับฟอร์เมชันของทีมที่เน้นโจมตีแบบ Hit and run สมาชิกทุกคนจะชอบฟังเพลงร็อค และมักจะใช้เพลงร็อคเป็นตัวช่วยในการวางแผนของทีม และมีบางครั้งที่ต้องออกรบกลางอากาศโดยใช้สัญญาณมือในการติดต่อ แทนระบบสื่อสารที่ใช้การไม่ได้
อินากิ มิโฮะ (稲城 美穂)
แสดงโดย คาวาชิมะ โทโมโกะ (川嶋 朋子)
หัวหน้าทีมโครว์วัย 26 ปี ซึ่งมีลักษณะนิสัยคล้ายผู้ชายและยังเป็นนักขับ F2 (เครื่องบิน F16 รุ่นดัดแปลง) จนถูกกล่าวข่านว่าเป็นนักบินหญิงคนแรกในตำนานที่ได้ขับเครื่องรุ่นนั้น ในช่วงแรก ๆ เธอออกจะมั่นใจในตัวเองเกินไปหน่อย จึงมักจะมีปัญหากับคนรอบข้างอยู่บ่อย ๆ แต่ภายหลังเธอก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนตัวเอง และเข้ากับคนอื่น ๆ ในทีมได้ในที่สุด
มิชิมะ จูริ (三島 樹莉)
แสดงโดย มัทสึดะ อิซุมิโกะ (松田 泉子)
ลูกทีมโครว์วัย 24 ปี ที่ชอบพูดสำเนียงฮิโรชิม่า และมีนิสัยชอบเอาคืนเมื่อถูกเล่นงาน ในอดีตเธอเคยทีส่วนร่วมในการคิดค้นพัฒนายานไฟท์เตอร์ แต่เกิดไปหลงรักในเรื่องของยานยนต์เข้า เธอจึงได้ฝันตัวจากวิศวกรมาเป็นนักบินแทน ในเรื่องของยานไฟท์เตอร์ระบบเทอร์โบเจ็ทเธอคือนักบินที่มีความรู้มากที่สุด
ทาดาโนะ เคย์ (多田野 慧)
แสดงโดย อิชิบาชิ เคย์ (石橋 けい)
ลูกทีมโครว์วัย 22 ปี ที่ว่ากันว่า เธอมาขับยานไฟท์เตอร์เพื่อต้องการเอาชนะความกลัวที่ฝังใจในอดีต แต่อดีตของเธอนั้นไม่เป็นที่เปิดเผย เธอหลงรักหัวหน้าโยเนดะ แห่งทีมฟอลคอน และเป็นผู้ที่ชื่นชอบดนตรีมากที่สุดในทีม แม้แต่ในเวลาที่ขับยานไฟท์เตอร์เธอก็ยังเปิดเพลงร็อคไปด้วย
ทีมเฮอร์คิวลิส แก้
ทีมปฏิบัติการที่รับผิดชอบในการต่อสู้ภาคพื้นดิน ประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากกองทัพบก โดยปกติสมาชิกในทีมมักจะไปฝึกซ้อมอยู่ในห้องเทรนนิ่งรูม ภายในฐานเอเรียลเบสเป็นประจำ เนื่องจากสมาชิกทั้งหมดต่างก็เป็นนักกล้าม ระหว่างที่รอปฏิบัติภารกิจพวกเขาจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ฝึกซ้อมร่างกายอยู่ในเทรนนิ่งรูมอยู่เสมอ
โยชิดะ ซาโตรุ (吉田 悟)
แสดงโดย มัทสึดะ มาซารุ (松田 優)
หัวหน้าทีมเฮอร์คิวลิส วัย 30 ปี ที่มีนิสัยมักจะใช้กำลังเข้าข่ม แต่ก็เป็นคนที่รู้จักพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบมากกว่าที่คิด ในตอนที่ 2 เขาได้ช่วยกามุ ที่ถูกลูกหลงของแรงลมระเบิดเอาไว้ หลังจากนั้นมา เขาก็ใช้ให้กามุทำงานแบกอุปกรณ์ของยานสติงเกอร์ เป็นการทดแทน ซึ่งจริง ๆ แล้วเขามีเป้าหมายเพื่อต้องการให้กามุ ที่อยู่ในฝ่ายปฏิบัติงานได้เรียนรู้ในเรื่องของอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย
ชิมะ มิตซึงุ (志摩 貢)
แสดงโดย คางายะ เคย์ (加賀谷 圭)
ลูกทีมเฮอร์คิวลิสวัย 35 ปี เป็นคนแรกที่สนิทกับกามุ แม้ว่าเขาจะมีนิสัยเหมือนกับผู้ใหญ่ขี้จุกจิกจู้จี้ แต่เขาก็ให้ความดูแลเอาใจใส่คนอื่นเป็นอย่างดีในตอนที่ 35 เขาได้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมงานกับกามุ แล้วคอยปล่อยมุขขำ ๆ ออกมาตลอด มักเรียก กามุ ว่า "พ่อหมากฝรั่ง" (チューインガム) เนื่องจากชื่อคล้องจองในคำในญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษที่เขียนคล้ายกัน
คุวาบาระ ทาคาโนบุ (桑原 孝信)
แสดงโดย นากามุระ โคจิ (中村 浩二)
ลูกทีมเฮอร์คิวลิสหนุ่มร่างใหญ่ วัย 28 ปี เขาเป็นคนที่ชื่นชอบการเพาะกายเป็นที่สุดในทีม และเนื่องจากเป็นคนที่มีอายุน้อยที่สุดในทีม เขาจึงมักจะเป็นคนที่คอยให้ความดูแลกามุอยู่บ่อย ๆ นอกจากนี้เขายังมีลูกพี่ลูกน้องที่เป็นนักมวยปล้ำภายใต้สังกัดของ ฮาชิโมโตะ ชินยะซึ่งมีชื่อบนเวทีว่า "แมมมอธ ไทโก"
ทีมซีกัล แก้
ทีมผู้ชำนาญการในด้านภารกิจกู้ภัย ซึ่งมีชื่อทีมมาจากนกนางนวล นอกจากนี้พวกเขารับผิดชอบด้านภารกิจกู้ภัยจากภัยพิบัติต่าง ๆ ที่มาจากสัตว์ประหลาดและมนุษย์ต่างดาวที่บุกมายังโลกด้วย
โคยามะ อาสึชิ (神山 篤志)
แสดงโดย กอนโด ชุนสุเกะ (権藤 俊輔)
ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีมซีกัลล์ และนักบินของยานพีซแครี่ อายุ 28 ปี เขามักจะสวมแว่นกันแดดอยู่เป็นประจำ โคยามะได้เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจกู้ภัยมาตั้งแต่อายุ 18 ปี และจะคอยเข้มงวดกับ มัตซึโอะ ลูกทีมของเขาอยู่เสมอ ทั้งยังช่วยสอนให้ตระหนักถึงความสำคัญของภารกิจกู้ชีพที่น่าภาคภูมิใจไปในตัว นอกจากนี้เขายังได้เข้าร่วมแผนปฏิบัติการในตอนสุดท้าย และได้แสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์ว่า เขาเองก็มีความสามารถไม่แพ้พวกทีมนักบินของ XIG ไฟท์เตอร์เลย
มัตสึโอะ เร็นจิ (松尾 蓮二)
แสดงโดย ซาเอบะ โทมุ (冴場 都夢)
ลูกทีมซีกัลล์วัย 25 ปี เป็นเด็กใหม่ผู้มีจิตใจเปราะบาง และดูเหมือนจะยังขาดประสบการณ์ในการกู้ชีพอยู่ การปฏิบัติงานของเขา จึงต้องอยู่ในการกำกับดูแลของโคยามะ
ไมเคิล ซีมอนส์ (マイクル・シモンズ)
แสดงโดย ซามูเอล ป๊อบ เอนิ่ง (サムエル・ポップ・エニング)
ลูกทีมซีกัลล์วัย 27 ปี ผู้มีบุคลิกร่าเริงแจ่มใส เขามักจะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง โดยจะทำหน้าที่หลัก ๆ เป็นผู้บังคับยานซีกัลล์โฟรเตอร์ ในเรื่องเราจะไม่เห็นฉากที่เขาออกไปช่วยกู้ภัยในแนวหน้าสักเท่าไรนัก แต่ก็มีฉากที่เขารายงานไปที่ XIG เพื่อแจ้งให้ทราบว่า หัวหน้าโยเนดะ ยังมีชีวิตอยู่ ภายหลังจากที่เครื่องตกในตอนที่ 48
ทีมมาร์ลิน แก้
ทีมผู้ชำนาญการทางภาคพื้นสมุทร เป็นทีมที่มีบทบาทน้อยที่สุดเนื่องจากในเนื้อเรื่องหลักมีสัตว์ประหลาดใต้ทะเลปรากฏตัวออกมาแค่ครั้งเดียว และมีบทบาทอีกครั้งในตอนพิเศษวิดีโอ การกลับมาของไกอา จึงมีบทบาทที่ปรากฏตัวเพียง 2 ครั้ง ส่วนด้านของชื่อทีม เดิมที่ชื่อของทีมคือ มาร์ลิน ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษ Marlin ที่แปลว่า ปลากระโทงแทง แต่ผู้บัญชาการอิชิมุโระ มักจะออกเสียงเรียกปะปนกับคำว่า มารีน ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ Marine ที่แปลว่า ผืนสมุทร
โยโคทานิ คัตสึโทชิ (横谷 勝歳)
แสดงโดย โชจิ เทตสึโอะ (庄司 哲郎 )
หัวหน้าทีมมาร์ลิน วัย 28 ปี ผู้มีนิสัยสุขุมเยือกเย็น และเป็นคนเถรตรง เขาคือผู้ที่มีส่วนในการออกแบบยานเซเรน 7500
อิมาอิ เก็นทาโร่ (今井 源太郎)
แสดงโดย อิริซาวะ ฮิโรอากิ (入沢 宏彰)
นักวิเคราะห์ประจำทีมวัย 25 ปี เขาเป็นคนที่มีอัธยาศัยดี และมีหน้าที่หลักเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูล อีกทั้งยังเป็นนักสมุทรศาสตร์และนักธรณีศาสตร์อีกด้วย
อิวาโอะ คิงโงะ (巌 均悟)
แสดงโดย โยโกยามะ นาโอยูกิ (横山 尚之)
ลูกทีมมาร์ลิน วัย 32 ปี ซึ่งเป็นพวกที่ออกแนวบ้าพลัง โดยจะเห็นได้จากตอนที่ เขาดีใจที่ได้ออกไปปฏิบัติภารกิจภาคสนามเป็นครั้งแรก

สมาชิกของ G.U.A.R.D. แก้

กองกำลังป้องกันนานาชาติ มีชื่อย่อมาจาก Geocentric Universal Alliance Radical Destruction ก่อตั้งขึ้นเพื่อรับมือการรุกรานของ ผู้นำความวิบัติ และเป็นองค์กรแม่ของหน่วย XIG มีศูนย์ใหญ่อยู่ที่ นิวยอร์ก , อเมริกา และสาขาอื่น ๆ เช่น อเมริกาเหนือ , อลาสก้า , ยุโรป , แอฟริกา , เอเชียเหนือ , อเมริกาใต้ , เอเซียใต้ , ออสเตรเลีย , แปซิฟิกใต้ และ โตเกียว ญี่ปุ่น ซึ่งก็คือฐานจีโอเบสนั่นเอง สมาชิก GUARD สาขาญี่ปุ่นจะประจำที่ฐานจีโอเบสเป็นหลัก คอยประสานงานกับ XIG ที่ประจำบนแอเรียลเบส

ชิบะ ทัตสึมิ (千葉 辰巳)
แสดงโดย ฮิไรซุมิ เซย์ (平泉 成)
เสนาธิการวัย 51 ปี ผู้ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับทีม XIG เขามีความเข้าใจการทำงานของหน่วย XIG เป็นอย่างดี และคำนึงถึงสมาชิกทุกคน
ฮิอิรากิ ฮิโรยูกิ (柊 博之)
นายพลจัตวา ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นคาบสมุทรแปซิฟิกของ G.U.A.R.D. แม้ว่าภายนอกจะดูเป็นคนไม่คิดเล็กคิดน้อย แต่ลึก ๆ แล้วเขายังฝังใจกับการสูญเสียลูกน้องไป เนื่องจากการหลบหนีของสัตว์ประหลาดที่ชื่อ โซเนล II
รันบาชิ โคสุเกะ (乱橋 巧介)
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนายานรบ XIG ไฟเตอร์ เป็นวิศวะกรด้านอากาศกลศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ
เซนุมะ ริวอิจิ (瀬沼 龍一)
แสดงโดย อิชิอิ ฮิโรชิ (石井 浩)
หัวหน้าทีม "ลิซาร์ด" ซึ่งเป็นทีมสืบสวนพิเศษที่สังกัดอยู่ในหน่วยข่าวกรองของจีโอเบส เขาเคยถูก วูลฟ์ก๊าซ ทำร้ายจนหมดสติ และเคยถูก กามุ ใช้ถังดับเพลิงทุบในตอนที่เขาถูก สิ่งมีชีวิตพลังคลื่นควบคุมสมอง แม้ว่าเขาจะไม่ได้มีอุปกรณ์พิเศษอะไร แต่เขาก็ถือเป็นตัวละครที่มีบทบาทค่อนข้างมากทีเดียว อย่างตอนที่ช่วยกำจัด วูลฟ์ไฟร์ ไปได้หลายตัว และช่วยกามุออกมาจากการถูกตรึงกางเขนในตอนที่ 41
หัวหน้า ฮิงุจิ (樋口 チーフ)
แสดงโดย ไคซุ เรียวสุเกะ (海津 亮介)
หัวหน้าใหญ่ผู้ดูแลฐานจีโอเบส สนิทกับกามุพอสมควร เนื่องมาจากเขาเป็นคนที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบงานต่าง ๆ ตอนที่กามุมาเรียนรู้งานที่จีโอเบสครั้งแรก
ดร. โฮชิยามะ (星山 博士)
แสดงโดย ซูซูกิ คาสึมะ (鈴木 一馬)
นักวิทยาศาสตร์ผู้ชำนาญด้านเครื่องจักรควอนตัม หลัก ๆ แล้วเขาจะรับหน้าที่วิจัยเรื่องระบบเปลี่ยนแปลงปฏิสสาร
อาร์ฟ แม็คเคลย์ (アルフ・マッケイ)
แสดงโดย แพททริค ฮาร์แลน (Patrick Harlan)
ผู้บัญชาการกองกำลัง US.
เจเรมี่ สปีโนซ่า (ジェレミー・スピノザ)
แสดงโดย แจ๊ค วู๊ดยาร์ด (Jack Woodyard)
เสนาธิการของกองกำลังอเมริกา เป็นผู้ออกคำสั่งให้จับกุมฟูจิมิยะ ปรากฏตัวในมูฟวี่ภาค ไกอาหวนคืน

อัลเคมี่ สตาร์ส แก้

องค์กรที่ก่อตั้งโดยอังกฤษในปี 1980 โดยรวบรวมเหล่าเยาวชนที่มีมันสมองระดับอัจฉริยะ จากทั่วทุกมุมโลก มาเข้ารับการฝึกสอนให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 1997 โดยมีฟูจิมิยะ ฮิโรยะ เป็นสมาชิกรุ่นบุกเบิก จนกระทั่งโปรเจกต์คอมพิวเตอร์ ไครซิส เกิดขึ้น อัลเคมี่สตาร์จึงทำการสนับสนุน Guard ละ XIG ในการรับมือผู้นำพาความหายนะ

แดเนียล แม็คฟี่ (ダニエル・マクフィー)
ประธานสมาคม อัลเคมี่ สตาร์ส วัย 24 ปี เป็นเพื่อนร่วมงานของกามุและฟูจิมิยะ รับหน้าที่ติดต่อประสานงานร่วมกับทีม XIG
อาซาโนะ มิคุ (浅野 未来)
อดีตสมาชิกอัลเคมี่สตาร์ ที่แยกตัวออกมาเพราะไม่เห็นด้วยกับสมาคม และเธอได้ค้นคว้าเกี่ยวกับ อาเนมอส และ แคร๊บกัน กระทั่งพบกับกามุในตอนที่ 8
แคทเธอร์รีน ไรอัน (キャサリン・ライアン)
แสดงโดย เด็บบี้ รีเกียร์ (デビー・リギア)
สาวนักวิจัยวัย 20 ปี ผู้รับผิดชอบในการพัฒนา เอนท์ ระบบป้องกันวงจรนิเวศวิทยา เธอค่อนข้างที่จะสนิทสนมใกล้ชิดกับ กามุ จนทำให้ อัตซึโกะ เกิดอาการหึงหวง นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ที่เสนอแผน มิชชั่นไกอา และทำหน้าที่เป็นผู้สั่งการทางฝั่งอัลเคมี่สตาร์ในภารกิจนี้อีกด้วย นอกจาก ฟุจิมิยะ กับ ผบ.อิชิมุโระ แล้ว เธอก็เป็นอีกคนหนึ่งในจำนวนน้อยคนที่รู้ว่ากามุ ก็คือ ไกอา นั่นเอง และนอกจากจะเป็นผู้ที่มีมันสมองอันปราดเปรื่องแล้ว เธอยังมีความสามารถในการต่อสู้ที่เก่งกาจพอตัว
เคลาส์ เอ็คการ์ด (クラウス・エッカルト)
อดีตสมาชิกอัลเคมี่สตาร์ ชาวเยอรมัน ที่หายตัวไป และกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งโดยถูก บิซอร์ม สิงร่าง
อลัน (アラン), อัล (アル), นาตาลี (ナタリー)
มิชเชล (ミッシェル)
เมรินด้า (メリンダ)
อาชิฟ (アジフ)

สำนักข่าว KCB แก้

มีชื่อเต็มว่า KANTOH COMMUNITY BROADCASTING STATION,LTD (สถานีกระจายเสียงชุมชนคันโต) สำนักข่าวของ KCB มักมีบทบาทในการทำข่าวในตอนที่สัตว์ประหลาดมาทำลายเมือง นอกจากนี้สำนักข่าวนี้ได้ปรากฏในอุลตร้าซีรีส์อื่นๆ เช่น อุลตร้าแมนไดน่า , อุลตร้าแมนแม็กซ์และ อุลตร้าแมนเมบิอุสด้วย
ทาบาตะ เคนจิ (田端 健二)
แสดงโดย สึบุรายะ ฮิโรชิ (円谷 浩)
ผู้กำกับวัย 28 ปี ที่มีความคลางแคลงใจในหน่วยงาน G.U.A.R.D. ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาอย่างเป็นความลับสุดยอด เขาเป็นคนเลือดร้อนที่มักจะยอมเสี่ยงเข้าไปทำข่าวในพื้นที่อันตรายอยู่เป็นประจำโดยมีคติพจน์ประจำใจว่า "การรายงานข่าวต้องมีความเที่ยงตรงตามความเป็นจริง"
อิโนอุเอะ มิจิฟูมิ (井上 倫文)
แสดงโดย สึโนดะ เอย์สุเกะ (角田 英介)
ช่างกล้องวัย 25 ปี ซึ่งจริง ๆ แล้วชื่อของเขาจะอ่านแบบเสียงญี่ปุ่นว่า "มิจิฟุมิ" แต่คนอื่น ๆ มักเรียกชื่อเขาแบบอ่านเป็นเสียงคันจิว่า "ริมบุน" ในด้านงานที่เกี่ยวกับเรื่องกล้องแล้ว เขาจัดว่าเป็นผู้ที่มีฝีมือในอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว ในตอนจบเขาก็ได้ถ่ายทอดสดภาพการต่อสู้ครั้งสุดท้ายเอาไว้ตามคำสั่งของทาบาตะ
โยชิอิ เรย์โกะ (吉井 玲子)
แสดงโดย อิชิดะ ยูคาริ (石田 裕加里)
ผู้ประกาศสาวชื่อดังวัย 24 ปี ที่ทำงานผิดพลาด จนต้องถูกย้ายไปอยู่ในทีมของ ทาบาตะ นอกจาก กามุ แล้ว เธอคือหนึ่งในไม่กี่คนที่รู้ว่า ฟุจิมิยะ ก็คือ อุลตร้าแมนอากูล ในช่วงกลางเรื่องเธอได้หลบหนีไปพร้อมกับ ฟุจิมิยะ ที่ถูกประกาศจับและก็ได้กลายมาเป็นผู้ช่วยค้ำจุนจิตใจให้กับเขา ด้วยความที่เรย์โกะเป็นคนจิตแข็ง ทำให้สัตว์ประหลาดจำพวกสิ่งมีชีวิตที่สามารถปล่อยคลื่นพลัง ไม่เคยเข้าไปควบคุมจิตใจของเธอได้เลย
ในภาคมูฟวี่ ศึก 8 พี่น้องอุลตร้า เรย์โกะได้แต่งงานกับฟูจิมิยะ และมีลูกด้วยกัน 1 คน

ตัวละครอื่นๆ แก้

ซาโต (サトウ)
แสดงโดย โอคุโมโตะ โทโกะ (奥本 東五)
มาโคโตะ (マコト)
แสดงโดย นิชิจิมะ ฮิโรอากิ (西嶋 大明)
นาคาจิ (ナカジ)
แสดงโดย คางามิ มาซาชิ (加々美 正史)
กลุ่มเพื่อนกามุจากมหาวิทยาลัยโจนัน พวกเขาล้วนแล้วแต่มีความเก่งกาจด้านวิทยาศาสตร์ จึงมีส่วนช่วยกามุและหน่วย XIG ในการรับมือคดีต่าง ๆ หลายครั้ง
ทาคายามะ ชิเงมิ (高山 重美)
ทาคายามะ ยูอิจิ (高山 唯一)
พ่อและแม่ของกามุ แม้จะมีบทบาทในเรื่องไม่มาก แต่ก็คอยห่วงใยลูกชายอยู่เสมอ
อินาโมริ เคียวโกะ (稲森 京子)
แสดงโดย คุโนะ มากิโกะ (クノ真季子)
นักวิทยาศาสตร์ของอัลเคมี่สตาร์ ผู้เคยร่วมงานกับฟูจิมิยะในโปรเจกต์การสร้าง ไครซิส และคอยช่วยเหลือเขามาตลอด ส่วนตัวเธอมีใจให้กับฟูจิมิยะ และได้เคยคบหาเป็นแฟนกันอยู่ช่วงหนึ่ง แต่เขาก็ไม่ได้ใส่ใจเท่าใดนัก จนกระทั่งเธอได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของสัตว์ประหลาด และกำลังจะเสียชีวิต ฟูจิมิยะจึงสำนึกได้และเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก การตายของเธอได้กลายเป็นแผลในใจของฟูจิมิยะตลอดมา อนึ่ง เคียวโกะ เป็นคนแรกที่รู้ว่าฟูจิมิยะ เป็น อากูล
ซาซากิ ริทสึโกะ (佐々木 律子)
พี่สาวของอัทสึโกะ ภายหลังได้คบหาดูใจกับ คาจิโอะ แห่งทีมไลท์นิ่ง
คุโรดะ เมกุมิ (黒田 恵)
ชิมิซึ (清水)
ซึไค ยูอิจิ (須貝 裕一)
ยูคิ (ユキ)
โคกิ (弘希)
มาสึมิ (真澄)
อิมาดะ (今田)

อุลตร้าแมนไกอา แก้

นักรบยักษ์สีแดงที่กามุเห็นในความฝันมาตลอด นับตั้งแต่เขาทำการทดลองเร่งอณูแสง และในระหว่างเหตุโกลาหลนั่นเอง กามุก็ได้พบกับมนุษย์ยักษ์อีกครั้ง และได้เชื่อมต่อจิตใจเข้าหากัน จนทำให้สามารถแปลงร่างกลายเป็นอุลตร้าแมนไกอา โดยตัวตนและบุคลิกของไกอาก็คือกามุนั่นเอง เขาจึงต้องหมั่นฝึกฝนร่างกายเพื่อเตรียมรับมือกับศัตรูที่แข็งแกร่งขึ้นทุกครั้ง ช่วงแรกกามุเก็บพลังงานแสงของไกอาไว้ในหลอด โฟโตอิเล็กตรอน และต่อมาได้สร้างอุปกรณ์แปลงร่าง เอสเพลนเดอร์ เพื่อกักเก็บพลังงานแสงไว้ใช้งานเป็นหลัก

อุปกรณ์แปลงร่าง แก้

เอสเพลนเดอร์ (エスプレンダー)
อุปกรณ์แปลงร่างของกามุที่ใช้แปลงร่างเป็นอุลตร้าแมนไกอา มีลักษณะเป็นสนับมือสีทอง รูปร่างคล้ายคลึงกับไลฟ์เกจของอุลตร้าแมนไกอา โดยกามุเป็นผู้สร้างเอง และถ่ายพลังงานแสงจากหลอดโฟโตอิเล็คตรอนลงไป ภายหลังได้รับพลังอากูลเพิ่มจากฟูจิมิยะ ขณะแปลงร่างจึงมีแสงสีน้ำเงินเพิ่มมา จากเดิมที่มีแค่แสงสีแดงล้วน
ในตอนที่ 20 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียว ที่กามุแสดงให้เห็นว่า เขาสามารถแปลงร่างเป็นไกอาได้ แม้ว่าเอสเพลนเดอร์จะไม่ได้อยู่กับตัวเขา

ข้อมูลจำเพาะ แก้

ชื่อร่าง ส่วนสูง น้ำหนัก ความเร็วการบินสูงสุด วิ่งสูงสุด ความเร็วจากใต้น้ำ ความเร็วในการดำใต้ดิน พลังกระโดดสูงสุด แรงยึดเกาะ
อุลตร้าแมนไกอา 50 เมตร [1]
(แปลงร่างรูปแบบไมโครได้)
42,000 ตัน[1] 20 แรงมัค[2] 5 แรงมัค[2] 1 แรงมัค 1.2 แรงมัค 1200 เมตร[2] 50000 ตัน
(ในขนาดเท่ามนุษย์เป็น 50 กก.)
อุลตร้าแมนไกอา V2 20 แรงมัค[2] 5.5 แรงมัค[2] 1.2 แรงมัค 1.5 แรงมัค 1200 เมตร[2] 70000 ตัน
(ในขนาดเท่ามนุษย์เป็น 70 กก.)
สุพรีมเวอร์ชัน 25 แรงมัค[2] 7 แรงมัค[2] 1.5 แรงมัค 2 แรงมัค 1500 เมตร[2] 120000 ตัน
(ในขนาดเท่ามนุษย์เป็น 120 กก.)
กลิตเตอร์เวอร์ชัน 50 เมตร[3] 42,000 ตัน[3] 30 แรงมัค[3] - - - - -

ลักษณะทางกายภาพ แก้

ไกอาเฮด (ガイアヘッド)
ศีรษะของไกอาซึ่งมีลักษณะเด่นคือ แถบสีทอง 4 แถบ โดยเป็นจุดศูนย์รวมพลังงานจากผืนโลก และยังเป็นจุดยิงพลังงานในการใช้ โฟตอนเอดจ์
ไกอาอาย (ガイアアイ)
ดวงตาของไกอา ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการมอง ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนศัตรู มองในที่มืด หรือมองทะลุวัตถุแบบเอ็กซ์เรย์ ก็ทำได้เช่นกัน
ไลฟ์เกจ (ライフゲージ)
ดวงไฟบริเวณหน้าอกของไกอา ปกติจะมีแสงสีฟ้า แต่เมื่อสภาพร่างกายถึงขีดจำกัด ไฟจะกระพริบเป็นสีแดง
ไกอาเบรสเตอร์ (ガイアブレスター)
เกราะแผงอกของไกอา เดิมจะเป็นสีแดงขอบทอง และกลายเป็นสีดำทองหลังได้รับการ version up จากพลังของอากูล
ไกอาบอดี้ (ガイアボディー)
ผิวหนังของไกอาสามารถทนต่อแรงระเบิดย่อม ๆ และป้องกันการโจมตีทางกายภาพได้ในระดับหนึ่ง

ท่าไม้ตายและความสามารถของไกอา แก้

โฟตอนเอดจ์ (フォトンエッジ)
ท่าไม้ตายหลักของไกอา เป็นการรวมพลังงานทั้งหมดไว้ที่ส่วนหัว แล้วปล่อยออกมาในรูปแบบของใบมีดแสงขนาดใหญ่ ศัตรูที่โดนท่านี้จะระเบิดเป็นจุล
ควอนตัมสตรีม (クァンタムストリーム)
ท่าไม้ตายที่ 2 ของไกอา เป็นการยิงลำแสงออกจากแขนขวาในรูปร่างตัว L มีอานุภาพน้อยกว่าโฟตอนเอดจ์
อุลตร้าแบริเออร์ (ウルトラバリヤー)
สนามพลังป้องกันของไกอา สร้างจากมือทั้ง 2 ข้าง
ไกอาสแลช (ガイアスラッシュ)
ท่าซัดกระสุนแสงออกจากมือ ซึ่งยิงได้จากมือทั้ง 2 ข้าง มักใช้สกัดการเคลื่อนไหวศัตรู
ไกอาบลิซซาร์ด (ガイアブリザード)
ท่ายิงลำแสงเยือกแข็งของไกอา โดยไกอาได้ใช้ในการดับไฟในบริเวณเมือง

อุลตร้าแมนไกอา V2 แก้

ร่างพัฒนาของไกอาที่ได้รับการเพิ่มพลังจากอากูล ทำให้เกราะหน้าอกไกอาเบรสเตอร์ เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีดำ มีพลังในการโจมตีเพิ่มขึ้น สามารถใช้ท่าไม้ตายประเภทลำแสงได้มากขึ้น และยังสามารถใช้ท่าไม้ตายของอากูลได้

ท่าไม้ตายและความสามารถของไกอา V2 แก้

โฟตอนเอดจ์ (フォトンエッジ)
ควอนตัมสตรีม (クァンタムストリーム)
อากูลเบลด (アグルブレード)
ดาบลำแสง อากูลเบลด ที่ได้รับมาจากอากูล มีจุดแตกต่างคือตอนใช้งานจะเปล่งแสงสีแดง ก่อนจะปล่อยใบมีดแสงสีน้ำเงินออกมา
ลิควิดเดเตอร์ (リキデイター)
ท่าลิควิเดเตอร์ ที่ได้รับมาจากอากูล เป็นการยิงลูกพลังงานออกมา ในบางครั้งก็จะยิงออกมาเป็นสีแดง
โฟตอนครัชเชอร์ (フォトンクラッシャー)
ท่าโฟตอนครัชเชอร์ ที่ได้รับมาจากอากูล ครั้งแรกไกอาใช้ยิงสวนกับไกอาตัวปลอมที่ยิงโฟตอนเอดจ์
ไกอาสแลช (ガイアスラッシュ)
อุลตร้าแบริเออร์ (ウルトラバリヤー)
เกราะแสงของไกอา สำหรับป้องกันการโจมตี
แคปเจอร์บีม (キャプチャービーム)
ลำแสงหยุดนิ่งที่ใช้ในการสกัดการเคลื่อนไหวศัตรู

อุลตร้าแมนไกอา SV (สุพรีมเวอร์ชัน) แก้

ร่างเพิ่มพลังของไกอา มีลักษณะที่เพิ่มเติมคือ ลวดลายบนร่างกายจะเพิ่มส่วนสีน้ำเงินที่บริเวณข้างลำตัวเพิ่มเข้ามา และมีรูปร่างที่บึกบึนขึ้น สุพรีมเวอร์ชัน คือร่างที่ทรงพลังที่สุดของไกอา โดยจะดึงพลังของไกอาออกมาใช้เต็มพิกัด จึงเน้นใช้เป็นไพ่ตายเมื่อต้องการเผด็จศึกทุกครั้ง

ท่าไม้ตายและความสามารถของไกอา SV แก้

โฟตอนสตรีม (フォトンストリーム)
ท่าไม้ตายหลักของไกอาสุพรีมเวอร์ชัน เป็นท่าลำแสงที่อานุภาพรุนแรงที่สุด ในการยิง ไกอาจะรวมพลังงานทั้งหมด ก่อนประกบมือทั้ง 2 เข้ากัน แล้วเลื่อนมือซ้ายลง
ไชนิ่งเบลด (シャイニングブレード)
ท่ายิงใบมีดแสงขนาดใหญ่รูปตัว V โดยรวมพลังงานจากแสงอาทิตย์ มีความคมสูงมาก
โฟตอนเอดจ์ (フォトンエッジ)
ควอนตัมสตรีม (クァンタムストリーム)
เบริสต์สตรีม (バーストストリーム)
ท่าไม้ตายประสานของ ไกอา และ อากูล โดยที่ไกอาจะใช้ท่าโฟตอนสตรีม พร้อมกับ อากูลที่ใช้ท่าอากูลสตรีม ลำแสงของทั้งคู่จะไปผสานกันระหว่างทางก่อนจะยิงไประเบิดศัตรู

ร่างต่อสู้อื่นที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องหลัก (ไกอา) แก้

อุลตร้าแมนไกอา SSV (ซูเปอร์สุพรีมเวอร์ชัน) (ウルトラマンガイアSSV(スーパー・スプリーム・ヴァージョン))
ร่างเพิ่มพลังเวอร์ชั่นอัพอีกขั้นหนึ่งของไกอา ที่พัฒนาต่อจากสุพรีมเวอร์ชั่น เกิดไกอาที่ได้รับพลังเพิ่มจากอากูลอีกครั้ง ลวดลายตามร่างกายจะเปลี่ยนไป โดยมีสีแดงเป็นพื้นฐาน แซมด้วยน้ำเงิน และ ดำ ไกอาเบรสเตอร์จะมีสีทองขลิบเงิน ลักษณะของศีรษะจะเปลี่ยนจากเดิมเล็กน้อย โดยเพิ่มรายละเอียดแบบอากูลเข้าไป

อุลตร้าแมนอากูล แก้

นักรบร่างยักษ์สีน้ำเงิน ผู้ถือกำเนิดจากแสงแห่งท้องทะเลที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ ฟูจิมิยะ ฮิโรยะ โดยตัวตนและบุคลิกของอากูล ก็คือ ฟูจิมิยะ เช่นกัน อากูลนั้นกำเนิดขึ้นมาก่อนไกอา มีลักษณะเด่นคือ ร่างกายสีน้ำเงินสลับดำและสีเงิน ในการแปลงร่างฟูจิมิยะจะใช้อุปกรณ์ อากูเลเตอร์ ซึ่งบางครั้งเขาจะแปลงร่างขนาดเท่ามนุษย์ มีท่วงท่าต่อสู้ที่คล่องแคล่ว และ เฉียบคมกว่าไกอา ซึ่งเป็นผลมาจาก การที่ฟูจิมิยะหมั่นฝึกฝนร่างกายอยู่เสมอ ท่าไม้ตายลำแสงของเขาก็ล้วนแล้วแต่แฝงไปด้วยพลังอัดกระแทก ในตอนที่ 16 อากูลมีพลังแข็งแกร่งขึ้น หลังจากต่อสู้กับอัลกุรอส แต่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด หลังจากนั้นเขาก็หายตัวไปตั้งแต่ตอนที่ 26 และกลับมาในตอนที่ 41 พร้อมกับพลังใหม่ใน version 2

อากูเลเตอร์ แก้

อากูเลเตอร์ (アグレイター)
อุปกรณ์แปลงร่างของฟุจิมิยะ ที่ใช้แปลงร่างเป็นอุลตร้าแมนอากูล มีรูปทรงเหมือนกับไลฟ์เกจของอากูล เป็นอุปกรณ์ลักษณะกำไลข้อมือ ในการแปลงร่าง ฟุจิมิยะจะกางแขนขวาที่ติดตั้ง อากูเลเตอร์ ออกมา ส่วนปีกซ้ายขวาของอากูเลเตอร์จะกางออก โดยตอนแรกจะมีแสงกระพริบ ก่อนที่หน้าปัดจะหมุนขึ้นมา จากนั้นจะมีแสงสีน้ำเงินสว่างวาบขึ้น แล้วแปลงร่างเป็นอุลตร้าแมนอากูล ท่าที่ปรากฏในการแปลงร่างของอากูล จะชูแขนทั้งสองข้าง ซึ่งต่างจากไกอาที่ชูแขนข้างเดียว

ข้อมูลจำเพาะ แก้

ชื่อร่าง ส่วนสูง น้ำหนัก ความเร็วการบินสูงสุด วิ่งสูงสุด ความเร็วจากใต้น้ำ ความเร็วในการดำใต้ดิน พลังกระโดดสูงสุด แรงยึดเกาะ
อุลตร้าแมนอากูล 52 เมตร[4]
(แปลงร่างรูปแบบไมโครได้)
46,000 ตัน[4] 19 แรงมัค[2] 5.5 แรงมัค[2] 1.2 แรงมัค 1.5 แรงมัค 1100 เมตร[2] 60000 ตัน
(ในขนาดเท่ามนุษย์เป็น 60 กก.)
อุลตร้าแมนอากูล V2 23 แรงมัค[2] 7.4 แรงมัค[2] 1.5 แรงมัค 1.8 แรงมัค 1300m[2] 90000 ตัน
(ในขนาดเท่ามนุษย์เป็น 90 กก.)

ลักษณะทางกายภาพ แก้

ไบรท์สปอต (ブライトスポット)
อัญมณีที่อยู่บริเวณศีรษะของอากูล เป็นจุดศูนย์รวมพลังงานของอากูลในการใช้ท่าไม้ตาย และยังเป็นจุดที่ใช้ยิง โฟตอนครัชเชอร์ ด้วยเช่นกัน
อากูลอาย (アグルアイ )
ดวงตาของอากูล นอกจากมองเห็นในที่มืดได้แล้ว ยังสามารถมองเห็นศัตรูที่พรางตัวได้ รวมถึงมองทะลุวัตถุแบบเอ็กซ์เรย์ได้เช่นกัน
ไลฟ์เกจ (ライフゲージ)
ดวงไฟบริเวณหน้าอกของอากูล ปกติจะมีแสงสีฟ้า แต่เมื่อสภาพร่างกายถึงขีดจำกัด ไฟจะกระพริบเป็นสีแดง
อากูลเบรสเตอร์ (アグルブレスター)
เกราะแผงอกของอากูล เดิมเป็นสีเงินสลับดำ หลังจากอัพเกรดเป็น V2 ก็ได้เปลี่ยนเป็นสีดำขลิบทอง และเปลี่ยนเป็นสีแดงขอบทองใน สุพรีมเวอร์ชัน
อากูลบอดี้ (アグルボディー)
ผิวหนังของอากูลสามารถทนต่อแรงระเบิดย่อม ๆ และป้องกันการโจมตีทางกายภาพได้ในระดับหนึ่ง ทนต่อทุกสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิต่ำ ใต้ทะเล หรือในอวกาศ นอกจากนี้ยังทนต่อกระแสไฟฟ้าด้วย

ท่าความสามารถของอากูล แก้

โฟตอนครัชเชอร์ (フォトンクラッシャー)
ท่ายิงลำแสงทำลายจากศีรษะ ลักษณะคล้ายโฟตอนเอดจ์ แต่ลำแสงเป็นสีฟ้า และวิถีจะตรงกว่า
ลิควิเดเตอร์ (リキデイター)
ท่ายิงกระสุนพลังงานจากกำปั้นทั้ง 2 ข้าง สามารถยิงต่อเนื่องได้
อากูลเบลด (アグルブレード)
ดาบลำแสงของอากูล ปล่อยจากมือขวา มีความคมในการตัดสูง
อากูลสแลช (アグルスラッシュ)
ท่าซัดกระสุนแสงจากมือ โดยยิงได้ทั้ง 2 ข้าง สามารถยิงต่อเนื่องได้
อุลตร้าแบริเออร์ (ウルトラバリヤー)
สนามพลังป้องกันของอะกูล โดยจะสร้างเกราะแสงออกมาจากมือทั้ง 2
อเวกเคนนิ่งอิมแพกต์ (アウェイクニングインパクト)
ท่าที่อากูลใช้ปลุกสัตว์ประหลาดที่หลับอยู่ใต้พื้นดินขึ้นมา โดยเขาจะรวมพลังไว้ที่กำปั้นข้างหนึ่ง แล้วทุบลงพื้นดิน
สปินครัชเชอร์ (スピニングクラッシャー)
ท่าควงสว่านของอากูล โดยอากูลจะบินขึ้นไปพร้อมประกบมือทั้ง 2 ข้าง แล้วหมุนตัวด้วยความเร็วสูงพุ่งเข้าปะทะ

อุลตร้าแมนอากูล V2 แก้

ร่างพัฒนาของอากูล ที่เกิดจากแสงแห่งท้องทะเลตอบรับจิตใจของฟูจิมิยะ และมอบพลังให้กับอากูลอีกครั้ง มีพลังและความสามารถเพิ่มขึ้นจากเดิม ลวดลายบนตัวอากูล V2 มีความใกล้เคียงกับลวดลายของไกอาสุพรีมเวอร์ชัน

ท่าความสามารถของอากูล V2 แก้

อากูลสตรีม (アグルストリーム)
ท่าไม้ตายหลักของอากูล V2 เป็นท่าลำแสงที่รุนแรงที่สุดของอากูล มีท่ายิงทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน
โฟตอนสครูว์ (フォトンスクリュー)
ท่าไม้ตายที่ต่อยอดมาจากท่า ลิควิเดเตอร์ แต่เปลี่ยนจากยิงวิถีตรง เป็นการหมุนพลังงานแล้วยิงออกไปในรูปเกลียวคลื่น
อากูลเซเบอร์ (アグルセイバー)
กระบี่ลำแสงที่พัฒนามาจาก อากูลเบลด โดยเปลี่ยนจาก ดาบแสง ที่ปกติจะใช้ฟัน มาเป็น กระบี่แสง ที่เน้นใช้แทง
ลิควิดเดเตอร์ (リキデイター)
บอดี้แบริเออร์ (ボディーバリヤー)
ท่าป้องกันที่อากูลจะเร่งพลังของตนเองจนเปล่งแสงทั่วร่าง ก่อนจะยกการ์ดขึ้นและใช้ตนเองเป็นโล่ป้องกัน
อุลตร้าแบริเออร์ (ウルトラバリヤー)

ท่าไม้ตายประสานของไกอาและอากูล แก้

ทัชแอนด์ช็อต (タッチアンドショット)
ดับเบิ้ลสวิง (ダブルスイング)
สตรีม คลัชเชอร์ (ストリーム・クラッシャー)
สตรีม เอ็กซ์โพลชั่น (ストリーム・エクスプロージョン)
เบิสต์สตรีม (バーストストリーム)

ร่างต่อสู้อื่นที่ไม่ปรากฏในเนื้อเรื่องหลัก (อากูล) แก้

อุลตร้าแมนอากูล SV (ウルトラマンアグルSV, อุลตร้าแมนอากูล สุพรีมเวอร์ชัน)
ร่างเพิ่มพลังขั้นสุดยอดของอากูล รูปแบบเดียวกับไกอา สุพรีมเวอร์ชัน มีลักษณะลวดลายบนร่างกายเหมือน อากูล V2 แต่เพิ่มลวดลายสีแดง, สีดำ และ สีทอง มีท่าไม้ตายคือ โฟตอนสตรีม เช่นเดียวกับไกอา สุพรีมเวอร์ชัน
ก่อนหน้านี้เป็นรูปภาพดีไซน์ดั้งเดิมที่ไม่ได้ปรากฏในผลงานจริงของมารุยามะ ฮิโรชิ ผู้รับผิดชอบในการออกแบบตัวละครสำหรับซีรีส์อุลตร้าแมนในยุคเฮเซย์ และได้ถูกนำมาใช้จริงในรอบ 23 ปี ถูกใช้ครั้งแรกจากงานอีเวนท์ไลฟ์โชว์ อุลตร้าฮีโร่ส์ EXPO 2021 ซัมเมอร์เฟสติเวิล IN อิเคบุคุโระ ซันไชน์ซิตี้

XIG แก้

มีชื่อเต็มว่า eXpanded Interceptive Guardians หรือเรียกชื่อย่อว่า ซิก เป็นกองกำลังป้องกันติดอาวุธในสังกัดของ G.U.A.R.D ประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ที่มีความถนัดในภารกิจหลากหลาย ประสานงานกับ GUARD และ อัลเคมี่สตาร์ เป็นหลัก

แอเรียลเบส แก้

ฐานทัพประจำการของ XIG เป็นฐานทัพลอยฟ้าขนาดใหญ่ที่มีความยาวรวม 600 เมตร ที่ลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ สตราโตสเฟียร์ โดยมันลอยอยู่ได้ด้วยระบบต้านแรงโน้มถ่วง รีพัลเซอร์ลิฟต์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของอัลเคมี่ สตาร์ส โดยผู้ออกแบบคือกามุ

อุปกรณ์และอาวุธ แก้

XIG คอนเวิร์ทส์ (XIGコンバーツ)
ชุดเครื่องแบบของเจ้าหน้าที่ XIG มีความทนทานสูง
XIG-NAVI
อุปกรณ์สื่อสารที่สวมไว้ที่ข้อมือ สามารถใช้เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วได้ ภายหลังในภาค อุลตร้าแมนออร์บ ออริจินซาก้า กามุได้ทำการดัดแปลงให้มันเชื่อมต่อกับ รีพัลเซอร์ลิฟต์ เพื่อทำการวาร์ปได้
XIG เม็ท (XIGメット)
หมวกนิรภัยของเจ้าหน้าที่ XIG น้ำหนักเบา แต่มีความทนทานสูง ติดตั้งกล้องดิจิตอลคุณภาพสูงขนาดเล็กไว้
เจคเตอร์กัน (ジェクターガン)
ปืนประจำกายของเจ้าหน้าที่ XIG ใช้ระบบยิงกระสุนแบบ HYPOP สามารถยิงกระสุนหลากหลายแบบได้ ด้วยการเปลี่ยนแม็กกาซีนกระสุนชนิดต่าง ๆ
XIG วัลแคน (XIGバルカン)
ปืนยาวของเจ้าหน้าที่ XIG รูปทรงคล้ายแกตลิ่ง ประกอบด้วย 6 ลำกล้อง สามารถใส่กลักกระสุนได้ 3 ช่อง
XIG บาซูก้า (XIGバズーカ)
ปืนบาซูก้าของ XIG ปกติจะใช้โดยทีม เฮอร์คิวลิส
XIG อาร์มสเซ็ต (XIG アームズセット)
กระเป๋าอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่ XIG
เรสคิวทูล (レスキューツール)
ซับแมชชีนกัน (サブマシンガン)
โมไบล์แมชชีน (モバイルマシン)
คอมพิวเตอร์อัจฉริยะพกพาของกามุ

ยานรบ แก้

พีชแครี่ (ピースキャリー)
ยานรบหลักของ XIG เปรียบเสมือนห้องบัญชาการเคลื่อนที่ บรรทุกยานไฟเตอร์ได้ 3 ลำ ปกติจะมีนักบินหลักคือ โคยามะ และมีกัปตัน สึสึมิ พร้อมกับกามุประจำอยู่ ติดตั้งปืนแสง เฮลล์ทิกเก็ต 2 กระบอกด้านหน้า ด้านท้ายยานมีจานรับสัญญาณ AWACS (Airborn Warning and Control System) ติดตั้งอยู่
XIG ไฟเตอร์ EX (XIGファイターEX, XIG ไฟเตอร์ เอ็กไซเตอร์)
ยานไฟเตอร์รุ่นล่าสุดของ XIG เดิมทีถูกวางไว้ให้เป็นเครื่องของกัปตันสึสึมิ แต่ภายหลังกามุได้นำไปพัฒนาต่อ จนได้รับมาเป็นเครื่องประจำตัว ซึ่งกามุได้นำระบบสมองกล PAL มาติดตั้งไว้ด้วย
XIG ไฟเตอร์ SS (XIGファイターSS, XIG ไฟเตอร์ สกายเซิฟเฟอร์)
ยานไฟเตอร์เครื่องประจำหัวหน้าทีม ติดตั้งมิสไซล์ และ ปืนลำแสง ตอนท้ายเรื่อง ยาน SS ทั้งหมดเสียหาย จากเหตุการณ์ แอเรียลเบส ถูกถล่มโดย โมเคียน
XIG ไฟเตอร์ SG (XIGファイターSG, XIG ไฟเตอร์ สกายไกเนอร์)
ยานไฟเตอร์เครื่องของลูกทีม ติดตั้ง ฮีทมิสไซล์ และ ปืนลำแสง ตอนท้ายเรื่องถูกทำลายไปพร้อมกับ แอเรียลเบส เช่นกัน
XIG ไฟเตอร์ ST (XIGファイターST)
ยานไฟเตอร์รุ่นพัฒนาของ SS มีนักบินหลักคือ หัวหน้าโยเนดะ ได้รับการปรับปรุงอาวุธให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
XIG ไฟเตอร์ GT (XIGファイターGT)
ยานไฟเตอร์รุ่นพัฒนาของ SG มีนักบินหลักคือ หัวหน้าอินางิ ได้รับการอัพเกรด ฮีทมิสไซล์ เช่นกัน
MLRS ไบซัน (MLRSバイソン)
ยานเกราะรูปทรงรถบักกี้ ของทีมเฮอร์คิวลิส ติดตั้งปืนใหญ่ ไซไคลเดอร์ และกระสุนเจาะเกราะ
GBT สติงเกอร์ (GBTスティンガー)
ยานเกราะรถถังของทีมเฮอร์คิวลิส ติดตั้ง เกรเนดมิสไซล์ และระเบิดนาปาล์ม มีความทนทานสูง
ซีกัล โฟลดเดอร์ (シーガル・フローター)
ยานกู้ภัยระบบโรเตอร์ของทีมซีกัล สามารถบินขึ้นลงแนวดิ่งได้ ภายในมีอุปกรณ์ช่วยเหลือเช่น ตาข่าย เชือกนิรภัย ระเบิดดับเพลิง
ซีกัล แฟนท็อป (シーガル・ファントップ)
รถกู้ภัยของทีมซีกัล ติดตั้งแขนกลช่วยเหลือด้านบน ระเบิดดับเพลิง ปืนเลเซอร์ ภายในมีอุปกรณ์พยาบาลครบครัน
ไซเรน 7500 (セイレーン7500)
ยานดำน้ำของทีมมาร์ลิน ติดตั้งปืน มาร์ลินบลาสต์แคนน่อน สามารถใช้สมองกล PAL เป็นผู้ควบคุมอัตโนมัติได้
เบอร์แมน (ベルマン)
รถยนต์ลาดตระเวนของ XIG มีปืนลำแสง 2 กระบอกติดตั้งบนหลังคา
โดฟ ไลเนอร์ (ダヴ・ライナー)
ยานโดยสารประจำที่บินขึ้นลงระหว่างพื้นโลก และ แอเรียลเบส ใช้ในการลำเลียงกำลังพลของหน่วย XIG
XIG แอดเวนเจอร์ (XIGアドベンチャー)
ยานเดินทางข้ามมิติของ XIG ที่กามุใช้เดินทางไปยังจักรวาลมิติของทีก้า และ ไดน่า ในภาพยนตร์ อุลตร้าแมนทีก้า & ไดน่า & ไกอา

ศึกครั้งใหญ่ข้ามห้วงมิติกาลเวลา สามารถเปลี่ยนรูปแบบเป็นหุ่นยนต์สำหรับต่อสู้ได้

G.U.A.R.D แก้

มีชื่อเต็มว่า Geocentric Universal Alliance against the Radical Destruction หรือเรียกชื่อย่อว่า การ์ด เป็นกองกำลังป้องกันโลก นานาชาติ ก่อตั้งจากการร่วมมือกันของสหประชาชาติ มีหน้าที่ในการรับมือกับภัยรุกราน ทั้งบนโลกและจากนอกโลก ซึ่งมีต้นตอมาจากผู้นำความหายนะ เป็นหน่วยงานแม่ของหน่วย XIG

GEO BASE (จีโอเบส) แก้

ฐานทัพหลักของ GUARD ภายนอกจะดูเหมือนอาคารธรรมดา แต่ภายในเชื่อมต่อกับฐานทัพขนาดใหญ่ ซึ่งซ่อนอยู่ใต้ดิน ประกอบไปด้วยห้องแล็บ ศูนย์พยาบาล ห้องบัญชาการ และโรงเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ในตอนสุดท้าย XIG ได้ใช้จีโอเบสเป็นฐานหลักแทนที่ แอเรียลเบส ที่ถูกทำลายไป

ยานและพาหนะ แก้

ยานรบ G.U.A.R.D. (G.U.A.R.D.戦闘機)
เครื่องบินขนส่ง G.U.A.R.D. (G.U.A.R.D.輸送機)
รถถังขนาดกลาง G.U.A.R.D. (G.U.A.R.D.中戦車)
G.U.A.R.D.4WD

สัตว์ประหลาดและมนุษย์ต่างดาวที่ปรากฏ แก้

อสูรสงครามแห่งอวกาศ คอฟ (宇宙戦闘獣 コッヴ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 1
อสูรสงครามแห่งอวกาศ คอฟ II (宇宙戦闘獣 コッヴII)
ปรากฏตัวในตอนที่ 10
เครื่องทำลายดาวเคราะห์ เวอร์ไซต์ (惑星破壊機 ヴァーサイト)
อสูรสงครามแห่งอวกาศ ซูเปอร์คอฟ (宇宙戦闘獣 超コッヴ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 44
อสูรแม็กม่าใต้พิภพ กีล (マグマ怪地底獣 ギール)
ปรากฏตัวในตอนที่ 2
อสูรแม็กม่าใต้พิภพ กีล II (マグマ怪地底獣 ギール II)
ปรากฏตัวในตอนที่ 24
อสูรแม็กม่าใต้พิภพ กีล III (マグマ怪地底獣 ギール III)
ปรากฏตัวในตอนที่ 49
สิ่งมีชีวิตโลหะจำแลงร่าง อาพาเต้ (金属生命体 アパテー)
ปรากฏตัวในตอนที่ 3
สื่งมีชีวิตจากพลังคลื่น (波動生命体)
สัตว์ประหลาดพลังคลื่นเหนือมิติ เมซาร์ด (超空間波動怪獣 メザード)
ปรากฏตัวในตอนที่ 4
สัตว์ประหลาดพลังคลื่นเหนือมิติ ไซโคเมซาร์ด (超空間波動怪獣 サイコメザード)
ปรากฏตัวในตอนที่ 13
สัตว์ประหลาดพลังคลื่นเหนือมิติ ไซโคเมซาร์ด II (超空間波動怪獣 サイコメザードII)
ปรากฏตัวในตอนที่ 19
สัตว์ประหลาดพลังคลื่นเหนือมิติ ควีนเมซาร์ด (超空間波動怪獣 クインメザード)
ปรากฏตัวในตอนที่ 37
อุลตร้าแมนอากูลร่างมายา (幻影ウルトラマンアグル)
ปีศาจยักษ์แห่งผืนสมุทร บ็อคแร็ก (大海魔 ボクラグ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 5
อสูรพิศดาร กัง Q (奇獣 ガンQ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 6
กัง Q [โค้ด 00] (ガンQ[コードNo.00])
กัง Q [โค้ด 01] (ガンQ[コードNo.01])
กัง Q [โค้ด 02] (ガンQ[コードNo.02])
ปรากฏตัวในตอนที่ 31
เครื่องควบคุมธรรมชาติ เท็นไค (自然コントロールマシーン テンカイ(天界))
ปรากฏตัวในตอนที่ 7
สัตว์ประหลาดร่วมชีวิตในห้วงเหนือมิติ อาเนโมสึ (超空間共生怪獣 アネモス)
ปรากฏตัวในตอนที่ 8
สัตว์ประหลาดร่วมชีวิตในห้วงเหนือมิติ แครปกัน (超空間共生怪獣 クラブガン)
ปรากฏตัวในตอนที่ 8
สัตว์ประหลาดร่วมชีวิตในห้วงเหนือมิติ แครปกัน & อาเนโมสึ (超空間共生怪獣 クラブガン&アネモス)
ศิลาปีศาจเพลิงแสง เรไซโตะ (光熱魔石 レザイト)
ปรากฏตัวในตอนที่ 9
สัตว์ประหลาดจักรพรรดิแห่งผืนปฐพี มิซึ โนะ เอะ โนะ ริว (地帝大怪獣 ミズノエノリュウ(壬龍))
ปรากฏตัวในตอนที่ 11
อสูรกาย วูลฟ์แก๊ส (獣人 ウルフガス)
ปรากฏตัวในตอนที่ 12
สัตว์ประหลาดไซบอร์ก วูลฟ์ไฟเยอร์ (サイボーグ獣人 ウルフファイヤー)
ปรากฏตัวในตอนที่ 34
สัตว์ประหลาดปฏิสาร แอนตี้แมทเตอร์ (反物質怪獣 アンチマター)
ปรากฏตัวในตอนที่ 14
สิ่งมีชีวิตแปลกประหลาด ดีนท์ส (奇怪生命 ディーンツ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 15
สิ่งมีชีวิตแปลกประหลาด มาเธอร์ดีนทส์ (奇怪生命 マザーディーンツ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 15
สิ่งมีชีวิตโลหะจำแลงร่าง อัลกิวรอส (金属生命体 アルギュロス)
ปรากฏตัวในตอนที่ 16 เป็นสิ่งมีชีวิตโลหะที่สามารถจำแลงร่างได้ มีรูปร่างคล้ายกับอาพาเต้
อุลตร้าแมนอากูล ตัวปลอม (ニセ・ウルトラマンアグル)
อัลกิวรอสที่ได้รับข้อมูลของอุลตร้าแมนอากูล จากคอมพิวเตอร์พลังแสงไครซิสที่มีไวรัสแอบแฝงอยู่ ทำให้คัดลอกข้อมูลของอุลตร้าแมนอากูลได้อย่างสมบูรณ์ มีลักษณะที่แตกต่างกับอุลตร้าแมนอากูลคือดวงตาของอากูลตัวปลอมเป็นสีชมพูและลวดลายสีดำเปลี่ยนเป็นสีกันเมทัล
สิ่งมีชีวิตขนาดมหึมาจากฟากฟ้า ดิ๊กโรป (超巨大天体生物 ディグローブ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 17 และ 18
สัตว์ประหลาดหุ้มกระดองใต้ดิน ซอนเนล (甲殻怪地底獣 ゾンネル)
ปรากฏตัวในตอนที่ 17 และ 18
สัตว์ประหลาดหุ้มกระดองใต้ดิน ซอนเนล II (甲殻怪地底獣 ゾンネルII)
ปรากฏตัวในตอนที่ 24 และ 49
สิ่งมีชีวิตขั้นสุดยอด เกเชนค์ (絶対生物 ゲシェンク)
ปรากฏตัวในตอนที่ 20
สัตว์ประหลาดไร้ออกซิเจน คันเดีย (無酸素海獣 カンデア)
ปรากฏตัวในตอนที่ 21
อสูรสายฟ้าอวกาศ ปาซึซึ (宇宙雷獣 パズズ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 22
อสูรสายฟ้าอวกาศ ซูเปอร์ปาซึซึ (宇宙雷獣 超パズズ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 44
อสูรจอมพลังใต้พิภพ โกเมนอส (剛腕怪地底獣 ゴメノス)
ปรากฏตัวในตอนที่ 23
อสูรจอมพลังใต้พิภพ โกเมนอส II (剛腕怪地底獣 ゴメノスII)
ปรากฏตัวในตอนที่ 49
อสูรยักษ์ โซริม (巨獣 ゾーリム)
ปรากฏตัวในตอนที่ 26
สิ่งมีชีวิตโลหะ มีมอส (金属生命体 ミーモス)
ปรากฏตัวในตอนที่ 27
อุลตร้าแมนไกอา ตัวปลอม (ニセウルトラマンガイア)
สิ่งมีชีวิตไฟฟ้า ไครซิสโกสต์ (電子生命体 クリシスゴースト)
ปรากฏตัวในตอนที่ 27
เครื่องควบคุมธรรมชาติ เอ็นซัน (自然コントロールマシーン エンザン(炎山))
ปรากฏตัวในตอนที่ 28
อสูรผู้พิทักษ์ รูคู (守護獣 ルクー) / รูคูเรียน (ルクーリオン)
ปรากฏตัวในตอนที่ 29
สัตว์ประหลาดอวกาศ โกคิกูมอน (宇宙怪獣 ゴキグモン)
ปรากฏตัวในตอนที่ 30
สัตว์ประหลาดแห่งกาลเวลา แอโร่ไวเปอร์ (時空怪獣 エアロヴァイパー)
ปรากฏตัวในตอนที่ 32
อสูรปีศาจแห่งตำนาน ชาแซ็ค (伝説魔獣 シャザック)
ปรากฏตัวในตอนที่ 33
สัตว์ประหลาดยุคโบราณ อัลโกน่า (古代怪獣 アルゴナ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 35
อสูรนินจาอวกาศ X ซาเวอร์ก้า (宇宙忍獣 Xサバーガ, ครอสซาเวอร์ก้า)
ปรากฏตัวในตอนที่ 36
มินิเวอร์ก้า (成体兵器 ミニサバーガ )
สัตว์ประหลาดชั้นเปลือกโลกใต้พิภพ ทีกริส (地殻怪地底獣 ティグリス) / อัลบูมทีกริส (アルブームティグリス)
ปรากฏตัวในตอนที่ 38
สัตว์ประหลาดชั้นเปลือกโลกใต้พิภพ ทีกริส II (地殻怪地底獣 ティグリスII)
ปรากฏตัวในตอนที่ 45
สัตว์ประหลาดชั้นเปลือกโลกใต้พิภพ ทีกริส III (地殻怪地底獣 ティグリスIII)
ปรากฏตัวในตอนที่ 49
อมนุษย์โคลนตม สึจิเคระ (泥怪人 ツチケラ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 39
ปีศาจยักษ์แห่งอวกาศ พาสกี๊ค (大宙魔 パスギーク)
ปรากฏตัวในตอนที่ 40
อสูรจักรกลนักล่าแห่งอวกาศ ∑ ซุยกุรุ (宇宙捕獲メカ獣 Σズイグル, ซิกม่าซุยกุรุ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 41
อสูรตัวแปรร่างยักษ์ ซาตานบิซอร์ (巨大異形獣 サタンビゾー)
ปรากฏตัวในตอนที่ 42
อสูรปรสิตดูดจิตวิญญาณ บิซอม (精神寄生獣 ビゾーム)
ปรากฏตัวในตอนที่ 42
สัตว์ประหลาดอัลเทสไทเกอร์ อิซาค (アルテスタイガー怪獣 イザク) / อิซาคแพล็ตติอาร์ด (イザクプラチアード)
ปรากฏตัวในตอนที่ 43
ปีศาจแห่งหายนะ บริทซ์บล็อทซ์ (破滅魔人 ブリッツブロッツ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 45
เครื่องควบคุมธรรมชาติ ชินเรียวคุ (自然コントロールマシーン シンリョク(深緑))
ปรากฏตัวในตอนที่ 46
สิ่งมีชีวิตขั้วแม่เหล็กเดี่ยวขนาดมหึมา โมคิอัน (超巨大単極子生物 モキアン)
ปรากฏตัวในตอนที่ 47
เทพความตาย ชินิกามิ (死神)
ปรากฏตัวในตอนที่ 48
ปีศาจหายนะ เซบุบุ (破滅魔人 ゼブブ)
แมลงหายนะ โดบิชิ (破滅魔虫 ドビシ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 49
แมลงหายนะ ไคเซอร์โดบิชิ (破滅魔虫 カイザードビシ)
มนุษย์เงือก (魚人)
ปรากฏตัวในตอนที่ 49
เทวทูตต้นตอแห่งหายนะ โซก (根源破滅天使 ゾグ)
ปรากฏตัวในตอนที่ 49
ร่างขั้นที่ 1
ร่างขั้นที่ 2

รายชื่อตอน แก้

ตอนที่ ชื่อตอน   ออกอากาศ
1 "ไขว่คว้าแสงสว่าง!"
(光をつかめ!) 
2 "ผู้กล้ายืนหยัด"
(勇者立つ) 
3 "นามนั้นคือไกอา"
(その名はガイア) 
4 "กามุเหินฟ้า"
(天空の我夢) 
5 "มนุษย์ยักษ์อีกตนหนึ่ง"
(もう一人の巨人) 
6 "ดวงตาเยาะเย้ย"
(あざ笑う眼) 
7 "การชำระล้างโลก"
(地球の洗濯) 
8 "วิญญาณเมื่อ 4 พัน 6 ร้อยล้านปีก่อน"
(46億年の亡霊) 
9 "หน่วยซีกัลล์ออกทะยานบิน"
(シーガル飛びたつ) 
10 "ร็อค ไฟท์"
(ロック・ファイト) 
11 "เมืองแห่งมังกร"
(龍の都) 
12 "ปิดล้อมดักจับสัตว์อสูร"
(野獣包囲網) 
13 "ค่ำคืนของเหล่าหุ่นเชิด"
(マリオネットの夜) 
14 "การท้าทายจากอีกฝากหนึ่งของอวกาศ"
(反宇宙からの挑戦) 
15 "ยามเมื่อฝนหยุดตก"
(雨がやんだら) 
16 "กำเนิดอากูล"
(アグル誕生) 
17 "เงาแห่งนภา แสงแห่งปฐพี"
(天の影 地の光) 
18 "อากูล ปะทะ ไกอา"
(アグル対ガイア) 
19 "ลิเลียในทางเขาวงกต"
(迷宮のリリア) 
20 "ฟอสซิลแห่งหายนะ"
(滅亡の化石) 
21 "แสงประหลาดจากท้องทะเล"
(妖光の海) 
22 "ปีกแห่งศิลา"
(石の翼) 
23 "กามุถูกไล่ออก!"
(我夢追放!) 
24 "การตัดสินใจของอากูล"
(アグルの決意) 
25 "การเผชิญหน้าที่ไร้แสงอรุณแห่งวันพรุ่งนี้"
(明日なき対決) 
26 "วันแห่งชี้ชะตา"
(決着の日) 
27 "ศึกครั้งใหม่ ~เวอร์ชันอัพ ไฟท์~"
(新たなる戦い~ヴァージョンアップ・ファイト!~) 
28 "คลื่นความร้อนคุกคาม"
(熱波襲来) 
29 "เมืองที่อยู่แสนไกล อุคุบาล"
(遠い町・ウクバール) 
30 "รังไหมปีศาจ"
(悪魔のマユ) 
31 "ดวงตาต้องคำสาป"
(呪いの眼) 
32 "อนาคตที่ต้องเผชิญเข้าสักวัน"
(いつか見た未来) 
33 "ท้าดวลกับตำนาน"
(伝説との闘い) 
34 "การห้ำหั่นระหว่างจิตวิญญาณ!"
(魂の激突!) 
35 "เงินค่าไถ่สัตว์ประหลาด"
(怪獣の身代金) 
36 "ท้องฟ้าที่มาบรรจบกัน"
(再会の空) 
37 "ฝันร้ายบทที่ 4"
(悪夢の第四楽章) 
38 "คมเขี้ยวผ่าธรณี"
(大地裂く牙) 
39 "หนองน้ำแห่งความเศร้าโศก"
(悲しみの沼) 
40 "อยากพบไกอา!"
(ガイアに会いたい!) 
41 "อากูลคืนชีพ"
(アグル復活) 
42 "กามุ VS กามุ"
(我夢VS我夢) 
43 "อิซัคนัยน์ตาสีเงิน"
(銀色の眼のイザク) 
44 "การจู่โจมครั้งใหญ่ของสัตว์ประหลาดอวกาศ"
(宇宙怪獣大進撃) 
45 "ดาวที่มีชีวิตอยู่อาศัย"
(命すむ星) 
46 "ป่าพิฆาต"
(襲撃の森) 
47 "XIG พินาศ!?"
(XIG壊滅!?) 
48 "เทพมรณะโต้กลับ"
(死神の逆襲) 
49 "เทวทูตจุติ"
(天使降臨) 
50 "เสียงกู่ร้องของโลก"
(地球の叫び) 
51 "โลกคือดาวของอุลตร้าแมน"
(地球はウルトラマンの星) 

ในสื่ออื่น แก้

ภาพยนตร์ แก้

อุลตร้าแมนทีก้า, อุลตร้าแมนไดน่า & อุลตร้าแมนไกอา ศึกใหญ่ทะลุมิติ (ウルトラマンティガ・ウルトラマンダイナ&ウルトラマンガイア 超時空の大決戦)
ศตวรรษใหม่ อุลตร้าแมนลีเจนด์ (新世紀ウルトラマン伝説)
ศตวรรษใหม่ อุลตร้าแมนลีเจนด์ 2003 THE KING'S JUBILEE (新世紀2003ウルトラマン伝説 THE KING'S JUBILEE)
ศึกรวมพลัง 8 พี่น้องอุลตร้า (大決戦!超ウルトラ8兄弟)
อุลตร้าแมนกิงกะ S เดอะมูฟวี่ ศึกชี้ชะตา 10 นักรบอุลตร้า (劇場版 ウルトラマンギンガS 決戦!ウルトラ10勇士!!)

ออริจินอลวิดีโอ แก้

อุลตร้าแมนไกอา การกลับมาของไกอา (ウルトラマンガイア ガイアよ再び)

การออกอากาศ แก้

อุลตร้าแมนไกอา ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18:00 - 18:30 ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1998 จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1999 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ทีบีเอส ในประเทศญี่ปุ่น

ในส่วนประเทศไทย ลิขสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายเผยแพร่รูปแบบสื่อเป็นของบริษัท โพรลิงก์ จำกัด โดยได้ถูกวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี โดยบริษัท APS เมื่อปี พ.ศ. 2544 แต่ใช้ชื่อเรื่องว่า อุลตร้าแมนไกญ่า และยังไม่มีการออกอากาศทางโทรทัศน์ แต่อย่างไรก็ตาม DEX ได้ถือลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนอย่างถูกต้อง และได้นำอุลตร้าแมนไกอามาพากย์เสียงไทยใหม่และมีการจัดจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี และออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทุกวันอาทิตย์เวลา 7:30 - 8:00 น.

อ้างอิง แก้

แหล่งที่มา แก้

  1. 1.0 1.1 公式サイト, キャラクター概要
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 FCティガ/ダイナ/ガイア 2001, pp. 22–23, 「ウルトラマンガイア」
  3. 3.0 3.1 3.2 完全ガイド 2012, p. 92, 「ウルトラマンガイア グリッターバージョン」
  4. 4.0 4.1 公式サイト, ウルトラマンアグル キャラクター概要

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "切通" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "増補改訂" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "切通古怒田" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "増補改訂古怒田" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "画報下130" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "円谷全怪獣" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "21st13" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "デザイン画集241" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "特撮全史" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "マガジン202042" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "マガジンVOL.237" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "F27718" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "HMC40" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "HMC42" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "HMC55" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "HMC122" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.142" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.144" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.146" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.147" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.148" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.149" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1410" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1411" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1412" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1413" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1414" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1415" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1416" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1418" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1419" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1422" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.1432" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "UPM vol.2830" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "U173" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "F28611" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "公式agulV2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "スーパーガイド76" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า