อี กุซตี งูระฮ์ ไร

พันโท อี กุซตี งูระฮ์ ไร (อินโดนีเซีย: I Gusti Ngurah Rai; 30 มกราคม 1917 – 20 พฤศจิกายน 1946) เป็นวีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซียผู้นำการทัพในบาหลีต่อต้านชาวดัตช์ในสงครามการประกาศเอกราชอินโดนีเซีย เขาเสียชีวิตในยุทธการที่มาร์การานา[1][2]

อี กุซตี งูระฮ์ ไร
เกิด30 มกราคม ค.ศ. 1917(1917-01-30)
เขตผู้สำเร็จราชการบันดุง บาหลี หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946(1946-11-20) (29 ปี)
มาร์กา บาหลี อินโดนีเซีย
รับใช้ อินโดนีเซีย
แผนก/สังกัด กองทัพอินโดนีเซีย
ประจำการ1938–1946
ชั้นยศพันโท
การยุทธ์ยุทธการที่มาร์การานา
บำเหน็จวีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซีย

ชีวิตช่วงต้น แก้

งูระฮ์ ไร เกิดในจารังซารี เขตผู้สำเร็จราชการบันดุง บาหลี เมื่อ 30 มกราคม 1917 จบการศึกษาจากโรงเรียนประถมดัตช์ชื่อ HIS เด็นปาซาร์[3] ตามด้วยโรงเรียนมัธยมต้น MULO ที่มาลังในชวาตะวันออก[3] เขาได้รับการฝึกการยุทธ์จากกองทัพดัตช์ที่โรงเรียนกะเด็ตกองทัพในกียาญาร์ในบาหลี และที่มาเกอลังในชวากลาง หลังจบการศึกษา เขาเข้าร่วมกองทัพที่เนเธอร์แลนด์สนับสนุนในบาหลี[2][4]

อาชีพการงาน แก้

หลังจากที่อินโดนีเซียประกาศเอกราช เขาตั้งกองทัพเพื่อความมั่นคงประชาชน (Tentara Keamanan Rakyat) ซึ่งต่อมาคือกองทัพอินโดนีเซีย ประจำหมู่เกาะซุนดาน้อย เขาออกเดินทางจากยกยาการ์ตาไปยังบาหลีเพื่อต่อสู้กับกองทัพชาวดัตช์กว่า 2,000 นาย ที่ลงพื้นที่ในเดือนมีนาคม 1946[4]

ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1946 กองทัพดัตช์โจมตีพื้นที่มาร์กาด้วยความช่วยเหลือจากกองพันจากเกาะลมบก งูระฮ์ ไร ออกคำสั่งให้กระทำปาปูตันหรือคือการสู้จนถึงทหารคนสุดท้าย เขาเสียชีวิตในการศึกนี้[2] กองทัพดัตช์จึงยึดครองเกาะบาหลีได้ในเวลาต่อมา[5]

สิ่งสืบเนื่อง แก้

ร่างของงูระฮ์ ไร ได้รับการฝังในมาร์กาเมื่อ 9 สิงหาคม 1975 เขาได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษแห่งชาติของอินโดนีเซีย[2] ท่าอากาศยานนานาชาติงูระฮ์ ไร ในบาหลี ตั้งชื่อตามเขา และหน้าของเขายังปรากฏบนธนบัตรมูลค่า 50,000 รูปียะฮ์

อ้างอิง แก้

  1. Pringle, Robert (2004). A short history of Bali : Indonesia's Hindu realm. Crows Nest, N.S.W.: Allen & Unwin. p. 161. ISBN 1-86508-863-3. OCLC 54517415.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Mutiara Sumber Widya (publisher) (1999) p89
  3. 3.0 3.1 Pendidikan pancasila dan kewarganegaraan kelas 8. 2014. ISBN 978-602-282-960-7.
  4. 4.0 4.1 Sudarmanto, J. B. (1992). Jejak-jejak pahlawan : dari Sultan Agung hingga Hamengku Buwono IX. Jakarta: Gramedia Widiasarana Indonesia. p. 205. ISBN 979-553-111-5. OCLC 29413875.
  5. Agung, Ide Anak Agung Gde (1996). From the formation of the state of East Indonesia towards the establishment of the United States of Indonesia. Linda Owens (1st ed.). Jakarta: Yayasan Obor Indonesia. p. 89. ISBN 979-461-216-2. OCLC 36860519.

บรรณานุกรม แก้

  • Ide Anak Agung Gde Agung (1996) [1995]. From the Formation of the State of East Indonesia Towards the Establishment of the United States of Indonesia. แปลโดย Owens, Linda. Yayasan Obor. ISBN 979-461-216-2.
  • Mutiara Sumber Widya (publisher) (1999) Album Pahlawan Bangsa (Album of National Heroes), Jakarta (Indonesian)
  • Pringle, Robert (2004). Bali: Indonesia's Hindu Realm; A short history of. Short History of Asia Series. Allen & Unwin. ISBN 1-86508-863-3.
  • Sudarmanto, Y.B. (1996) Jejak-Jejak Pahlawan dari Sultan Agung hingga Syekh Yusuf (The Footsteps of Heroes from Sultan Agung to Syekh Yusuf), Penerbit Grasindo, Jakarta ISBN 979-553-111-5 (Indonesian)