อีแลนด์ธรรมดา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Bovinae
สกุล: Taurotragus
สปีชีส์: T.  oryx
ชื่อทวินาม
Taurotragus oryx
(Pallas, 1766)
ชนิดย่อย
  • T. o. livingstonii
  • T. o. oryx
  • T. o. pattersonianus
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
[2]
  • Tragelaphus oryx (Pallas, 1766)
  • Taurotragus alces (Oken, 1816)
  • Taurotragus canna (C. H. Smith, 1827)
  • Taurotragus barbatus (Kerr, 1792)
  • Taurotragus oreas (Pallas, 1777)
  • Taurotragus typicus Selous, 1899
  • Taurotragus livingstonei (P. L. Sclater, 1864)
  • Taurotragus billingae Kershaw, 1923
  • Taurotragus kaufmanni (Matschie, 1912)
  • Taurotragus niediecki (Matschie, 1913)
  • Taurotragus selousi Lydekker, 1910
  • Taurotragus triangularis (Günther, 1889)
  • Taurotragus pattersonianus Lydekker, 1906

อีแลนด์ธรรมดา หรือ อีแลนด์ใต้ หรือ อีแลนด์แอนทีโลป (อังกฤษ: Common eland, Eland, Southern eland, Eland antelope; ชื่อวิทยาศาสตร์: Taurotragus oryx) สัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นแอนทีโลปจำพวกวัวและควาย

จัดเป็นอีแลนด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นแอนทีโลปขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปแอฟริกา แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์แห่งชาติในเคนยา, แทนซาเนีย, รวันดา, อูกันดา, นามิเบีย และแอฟริกาใต้

มีรูปร่างใหญ่บึกบึน ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 500-900 กิโลกรัม หรือมากกว่า 1 ตัน ตัวเมีย 330-500 กิโลกรัม มีความสูงเฉลี่ย 1.4-1.8 เมตร ความยาวลำตัวประมาณ 2.4-3.4 เมตร อายุขัยเฉลี่ยตั้งแต่ 5-20 ปี

อีแลนด์ธรรมดา มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวผู้จะมีเขาใหญ่กว่า ขณะที่ตัวเมียเขาจะยาวกว่าเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าที่โล่งกว้างและป่าละเมาะที่ไม่หนาทึบมากนัก มักเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยไปเรื่อย ๆ เพื่อหาหญ้า, ใบไม้, กิ่งไม้ และผลไม้ กินเป็นอาหาร ความชื้นจากอาหารเหล่านี้ช่วยหล่อเลี้ยงให้อีแลนด์ธรรมดาอดน้ำได้เป็นเวลานาน แม้จะมีรูปร่างที่ใหญ่ แต่ลูกอีแลนด์ธรรมดาหรืออีแลนด์ธรรมดาตัวเมียก็ยังตกเป็นอาหารของสิงโต และไฮยีน่า ที่ล่าเป็นฝูง[3]

การจำแนก แก้

แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย[1][4]

 
ขณะหากินตามธรรมชาติ
  • T. o. livingstonii (Sclater, 1864; ลิฟวิ่งสโตนอีแลนด์): หรือที่เรียกว่า kaufmanni, niediecki, selousi และ triangularis มีผิวหนังสีน้ำตาลและมีลายขีดกลางลำตัว 12 ขีด
  • T. o. oryx (Pallas, 1766; เคปอีแลนด์): หรือที่เรียกว่า alces, barbatus, canna และ oreas พบในตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟริกา มีขนสีน้ำตาลเมื่อโตขึ้นลายขีดบนตัวจะหายไป
  • T. o. pattersonianus (Lydekker, 1906); หรือที่เรียกว่า billingae พบในแอฟริกาตะวันออก มีลายขีดได้ถึง 12 ขีด

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 IUCN SSC Antelope Specialist Group (2008). "Tragelaphus oryx". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.1. สืบค้นเมื่อ 21 November 2011.
  2. c Grubb, P. (2005). "Order Artiodactyla". In Wilson, D. E.; Reeder, D. M. Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 696–7. ISBN 978-0-8018-8221-0.
  3. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. หน้า 54-55. ISBN 978-616-90508-0-3
  4. Skinner, JD (2005). "Ruminantia". The Mammals of the Southern African Subregion (3rd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 637–9. ISBN 0-521-84418-5. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Taurotragus oryx ที่วิกิสปีชีส์