อีมน์อาลามูร์ (ฝรั่งเศส: Hymne à l'amour; "เพลงสดุดีความรัก") เป็นเพลงภาษาฝรั่งเศสซึ่งเอดิต ปียัฟ แต่งคำร้องและขับร้อง และมาเกอริต มงโน แต่งทำนอง เพลงนี้แต่งขึ้นใน ค.ศ. 1949 และบันทึกเสียงในปีถัดมาให้แก่บริษัทโคลัมเบีย

"อีมน์อาลามูร์"
ซิงเกิลโดยเอดิต ปียัฟ
วางจำหน่าย1950
แนวเพลงช็องซง
ความยาว3:27
ค่ายเพลงปาเต-มาร์กอนี
ผู้ประพันธ์ดนตรีมาเกอริต มงโน
ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเอดิต ปียัฟ

เพลงนี้ได้รับการแปลต่อเป็นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ต้นฉบับ

แก้

บทเพลงต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสนั้น เอดิต ปียัฟ แต่งคำร้องและขับร้อง และมาเกอริต มงโน แต่งทำนอง เอดิตแต่งเพลงนี้ให้แก่มาร์แซล แซร์ด็อง นักมวยซึ่งเป็นคนรักของเธอ[1] อย่างไรก็ดี ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ขณะเดินทางจากปารีสมานิวยอร์กเพื่อมาพบเธอ มาร์แซลเสียชีวิตลงในเหตุการณ์เครื่องบินสายการบินแอร์ฟร็องส์ เที่ยวบิน 009 ชนภูเขาจนผู้โดยสารทั้งหมดถึงแก่ความตาย ต่อมาเอดิตจึงบันทึกเสียงเพลงนี้ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1950[1] เพลงนี้บรรจุอยู่ในอัลบัมเพลงของเอดิตหลายอัลบัม คือ เอดิตปียัฟ (ค.ศ. 1953), เลอตูร์เดอช็องต์เดดิตปียัฟอาลอแล็งปียา นูว์เมโรเดอ (ค.ศ. 1956) และ เลอตูร์เดอช็องต์เดดิตปียัพอาลอแล็งปียา นูว์เมโรทรัว (ค.ศ. 1958)

ฉบับภาษาอังกฤษ

แก้

เอดดี คอนสแตนติน ศิษย์ของเอดิต แปลเพลง "อีมน์อาลามูร์" เป็นภาษาอังกฤษ ให้ชื่อว่า "ฮิมน์ทูเลิฟ" และเอดิตบันทึกเสียงเพลงนี้เองเพื่อบรรจุไว้ในอัลบัม ลาวีอ็องโรส/เอดิตปียัฟซิงส์อินอิงลิช (ค.ศ. 1956)[2] ต่อมาซินดี ลอเปอร์ บันทึกเสียงเพลงนี้บรรจุไว้ในอัลบัม แอตแลสต์ (ค.ศ. 2003)[3]

เพลง "อีมน์อาลามูร์" ยังได้รับการดัดแปลงเป็นภาษาอังกฤษอีกฉบับหนึ่ง ชื่อว่า "อิฟยูเลิฟมี (รีลลีเลิฟมี)" มีจอฟฟรีย์ พาร์ซันส์ เป็นผู้แต่งคำร้อง และเคย์ สตาร์ เป็นผู้บันทึกเสียงใน ค.ศ. 1954 ฉบับของเคย์นี้ติดอันดับ 4 ในผังของ บิลบอร์ด ว่าด้วยอันดับเพลงที่มียอดขายดีในร้านและได้รับการเปิดจากดีเจมากที่สุด[4] ทั้งติดอันดับ 20 ในผังของ บิลบอร์ด ว่าด้วยเพลงยอดนิยมตามยอดขายปลีกประจำปี ค.ศ. 1954 และติดอันดับ 20 ในผังของ บิลบอร์ด ว่าด้วยเพลงยอดนิยมตามการเปิดของดีเจประจำปี ค.ศ. 1954[5]

เพลง "อิฟยูเลิฟมี (รีลลีเลิฟมี)" ยังได้รับการบันทึกเสียงจากแมรี ฮอปกิน ใน ค.ศ. 1976 ฉบับนี้ติดอันดับ 32 ในผังซิงเกิลสหราชอาณาจักร[6]

โอลิมปิก 2024

แก้

เซลีน ดิออน ขับร้องเพลง "อีมน์อาลามูร์" จากระเบียงหอไอเฟลเพื่อปิดพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ที่ปารีสในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2024[7] การขับร้องของเซลีนได้รับเสียงชื่นชมจากสาธารณชน[8][9][10] และได้รับการระบุว่าเป็นการแสดงครั้งประวัติศาสตร์[11]

ฉบับภาษาญี่ปุ่น

แก้

เพลง "อีมน์อาลามูร์" ได้รับการดัดแปลงเป็นฉบับภาษาญี่ปุ่น ชื่อว่า "อาอิโนะซังกะ" มีโทกิโกะ อิวาตานิ เป็นผู้แต่งคำร้อง และฟูบูกิ โคชิจิ เป็นผู้บันทึกเสียงใน ค.ศ. 1951 เมื่อออกเป็นซิงเกิลรวมกับเพลงอื่นแล้ว มียอดขายราวสองล้านชุด และได้รับความนิยมจนกลายเป็นเพลงประจำตัวของฟูบูกิ[12] เพลงฉบับนี้ยังได้รับการนำไปขับร้องใหม่จากเคโกะ มาซูดะ เพื่อบรรจุลงอัลบัม อาอิโชกะ ใน ค.ศ. 2014[13][14]

เพลง "อีมน์อาลามูร์" ยังได้รับการขับร้องใหม่จากฮิการุ อูตาดะ ใน ค.ศ. 2010 ให้ชื่อว่า "อีมน์อาลามูร์ (อาอิโนะแอนเทม)"[15] ชื่อ "อาอิโนะแอนเทม" นี้ปรากฏแต่เฉพาะฉบับของฮิการุ ส่วนฉบับอื่น ๆ ในภาษาญี่ปุ่นใช้ชื่อ "อาอิโนะซังกะ" เหมือนฉบับของฟูบูกิข้างต้น[12] ฉบับของฮิการุนี้ติดอันดับ 5 ในในผังเพลงอะดัลต์คอมเทมโพรารีของ บิลบอร์ด[16] อันดับ 7 ในผังเจแปนฮอต 100 ของ บิลบอร์ด และอันดับ 19 ใน 100 อันดับแรกของผังอาร์ไอเอเจดิจิทัลแทร็ก

อัตสึโกะ มาเอดะ ขับร้องเพลง "อาอิโนะซังกะ" ในภาพยนตร์เรื่อง ทูดิเอนด์ออฟดิเอิร์ท (ค.ศ. 2019) ซึ่งตั้งชื่อเรื่องตามเนื้อเพลง[17]

เพลง "อาอิโนะซังกะ" ยังได้รับการขับร้องในพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่โตเกียวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2021 ผู้ขับร้องคือมิเลต[18]

ฉบับภาษาไทย

แก้

เพลง "อิฟยูเลิฟมี (รีลลีเลิฟมี)" ซึ่งเป็นฉบับภาษาอังกฤษของเพลง "อีมน์อาลามูร์" ได้รับการดัดแปลงเป็นฉบับภาษาไทย ชื่อว่า "ถ้ารักฉันจริง" มีสุรพล โทณะวณิก เป็นผู้แต่งคำร้อง และสวลี ผกาพันธุ์ เป็นผู้บันทึกเสียง[11]

ในวรรณกรรม

แก้

เพลงนี้เป็นแกนกลางนวนิยายแนวอัตชีวประวัติของแอนน์ เวียเซมสกี เรื่อง อีมซาลามูร์ (ค.ศ. 1996) ซึ่งได้รับรางวัลมอริส เฌินวัว ประจำปีดังกล่าว[19]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Cramer, Alfred W. (2009). Musicians and Composers of the 20th Century. Vol. 4. Salem Press. p. 1107. ISBN 9781587655166.
  2. Édith Piaf – La Vie En Rose / Édith Piaf Sings In English ที่ดิสคอกส์
  3. Cydndi Lauper – At Last ที่ดิสคอกส์
  4. "The Billboard Music Popularity Charts: Popular Records", Billboard. June 5, 1954. p. 32. Retrieved August 14, 2019.
  5. "1954's Top Popular Records", Billboard. December 25, 1954. p. 17. Retrieved August 14, 2019.
  6. Mary Hopkin – Full Official Chart History, Official Charts Company. Retrieved August 14, 2019.
  7. Dickerson, Claire Gilbody (27 July 2024). "Celine Dion makes spectacular comeback with Eiffel Tower performance at Paris Olympics opening ceremony". Sky News. สืบค้นเมื่อ 27 July 2024.
  8. "Céline Dion's dazzling Olympics performance renders Kelly Clarkson speechless". usatoday.com. 2024-07-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Richardson, Andrew Cesare (2024-07-27). "Paris Olympics: Celine Dion wows at opening ceremony 18 years on from Atlanta performance". scmp.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Phillips, Zoe G (2024-07-26). "Celine Dion Gives First Public Performance Amid Stiff-Person Syndrome Diagnosis at Olympics Opening Ceremony". hollywoodreporter.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 อนันเต่า, ภัทรณกัญ (2024-07-27). "เบื้องหลังการแสดงครั้งประวัติศาสตร์ของ Celine Dion ณ พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024". thestandard.co.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 夢を語るシーンでの衣装は越路吹雪さんご本人の私服! (ภาษาญี่ปุ่น). Fuji TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2012. สืบค้นเมื่อ November 10, 2010.
  13. "★6年ぶりのオリジナル・アルバム『愛唱歌』本日12/10発売! オリジナルの大内義昭とデュエットしたミリオン・セラー・ソングのカバー「愛が生まれた日」のビデオ公開!". Warner Music Japan. 2014-12-10. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  14. "「愛唱歌」発売記念イベント・レポート". Kei-Office. 2014-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  15. "先行デジタルシングルHymne à l'amour ~愛のアンセム~" (ภาษาญี่ปุ่น). EMI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2010. สืบค้นเมื่อ October 15, 2010.
  16. "レコード協会調べ 2010年10月06日~2010年10月12日<略称:レコ協チャート(「着うたフル(R)」)>" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. October 15, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 11, 2012. สืบค้นเมื่อ October 15, 2010.
  17. Peter Bradshaw (12 November 2020). "To the Ends of the Earth review – dreamlike vision of clashing cultures". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 July 2021.
  18. "J-pop singer Milet is excited for her first overseas performance at Hong Kong Clockenflap". Young Post. 23 February 2023. สืบค้นเมื่อ 27 July 2024.
  19. "Site de la ville de Garches – Les lauréats (1985–2007)" (ภาษาฝรั่งเศส). Sortir à Garches & Equipements culturels. สืบค้นเมื่อ November 10, 2010.