อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล

อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล (อังกฤษ: Isambard Kingdom Brunel; 9 เมษายน ค.ศ. 1806 – 15 กันยายน ค.ศ. 1859) เป็นวิศวกรเครื่องกลและวิศวกรโยธาชาวอังกฤษ[1] ผู้ออกแบบสถานีรถไฟที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของอังกฤษนามว่า เกรตเวสเทิร์นเรลเวย์ (Great Western Railway) ผู้ออกแบบอู่ท่าเรือหลายแห่งในสมัยนั้น รวมถึงเรือกลไฟบรูเนล เป็นคนแรกที่สามารถออกแบบเรือกลไฟของเขาให้สามารถข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากนี้ บรูเนลยังออกแบบอุโมงค์และสะพานที่สำคัญจำนวนมาก ความสามารถของเขานั้นไม่ธรรมดา ถึงขนาดเคยออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำอันเชี่ยวกราก และออกแบบอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยในช่วงนั้น จึงกล่าวได้ว่า เขาคือผู้บุกเบิกการปฏิวัติอุตสาหกรรมคนสำคัญของอังกฤษ

ด้านหลังของบรูเนลคือโซ่ของเรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์น ซึ่งได้ถ่ายไว้ในปี ค.ศ. 1857 โดยโรเบิร์ต ฮาวเลตต์ ภาพนี้ถือว่าเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งของเขา

ถึงแม้ว่า โครงการต่าง ๆ ที่เขาตั้งใจไว้จะไม่สำเร็จเสมอไปเพราะพวกเขามักจะมีปัญหาด้านวิศวกรรมอยู่บ่อยครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ดี เขาก็ยังได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "คนแรก" ในหลาย ๆ ด้านทางวิศวกรรม โดยเฉพาะหลักการของเขาที่สามารถช่วยสร้างอุโมงค์ข้ามแม่น้ำ ซึ่งยากต่อการสร้างได้ และเขายังเป็นผู้พัฒนาออกแบบเรือเอสเอสเกรตบริเตน (SS Great Britain) ซึ่งเป็นเรือที่ทำด้วยเหล็กกล้าและใช้ใบจักรแบบสกรูครั้งแรกของโลก และได้ถูกนำไปใช้ในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นลำแรกของโลก และนอกจากนี้ยังเป็นเรือที่ใหญ่สุดในโลกเท่าที่มีการสร้างมาในขณะนั้น ในปี ค.ศ. 1843 และเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาคือ เรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์นซึ่งครองตำแหน่งเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกยาวนานถึง 34 ปี เป็นเรือที่มีขนาดก้าวกระโดดกว่าลำใด ๆ ในยุคนั้น

บรูเนลได้รับการยอมรับจากชาวอังกฤษให้เป็นชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด (100 Great Britons) อันดับ 2 รองจากวินสตัน เชอร์ชิลล์[2]

ประวัติ

แก้

[3][4]บรูเนล เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1806 ที่ย่านถนนไบรแทน เป็นลูกชายของวิศวกรชาวฝรั่งเศส-อังกฤษ เซอร์มาร์ซ คิงดอม บรูเนล และโซเฟีย คิงดอม เมื่ออายุได้ 14 ปีก็ไปศึกษาที่โรงเรียนมัธยมแห่งแรกของเขา ชื่อว่า โรงเรียนก็อง (College of Caen) ที่นอร์ม็องดี ต่อจากนั้นก็ย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนมัธยมอ็องรีที่ 4 (Lycée Henri-IV) ในปารีส พ่อของเขานั้นติดหนี้มาก โดยรวมแล้วประมาณ 5,000 ปอนด์ จึงได้ไปอยู่ในคุกของลูกหนี้ แต่ในที่สุดเขาก็ยอมที่จะลาออกจากการเป็นวิศวกรที่มีประสบการณ์คนหนึ่งของอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษก็ยอมจ่ายค่าหนี้ค้างชำระทั้งหมดของเขาให้หมดโดยมีข้อเสนอให้เขาต้องอยู่ในอังกฤษห้ามไปไหน เมื่อบรูเนลจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1822 พ่อของเขาก็ส่งเขาไปศึกษาต่อที่เอกอลปอลีแต็กนิก (École Polytechnique) จนจบ แล้วจึงกลับไปทำงานที่อังกฤษ เขาทิ้งภรรยาและลูกทั้งสาม: อิซัมบาร์ด บรูเนลจูเนียร์ (1837-1902), เฮนรี่มาร์คบรูเนล (1842-1903) และฟลอเรนซ์แมรี่บรูเนล (1847-1876) เฮนรี่มาร์คตามรอยพ่อและปู่ของเขาในการเป็นที่ประสบความสำเร็จวิศวกรโยธา

บรูเนลในพิธีเปิดโอลิมปิก

แก้

เซอร์เคนเนท แบรนา (Sir Kenneth Branagh) เป็นผู้แสดงเป็นบรูเนลในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในฉากอุตสาหกรรม โดยแต่งกายชุดสูทสีดำพร้อมกับใส่หมวกทรงสูง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์การแต่งตัวของบรูเนล

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.bbc.co.uk/schools/primaryhistory/famouspeople/isambard_kingdom_brunel/
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-11.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-12.
  4. http://history1800s.about.com/od/innovators/a/brunelbio.htm